การศึกษาข้อบกพร่องในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาจีน หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อบกพร่องในการเขียนภาษาไทยด้านการใช้คํา และการสร้างประโยค ของนักศึกษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2560 เพื่อศึกษาสาเหตุของข้อบกพร่องในการเขียนภาษาไทยด้านการใช้คําและการสร้างประโยคของนักศึกษาชาวจีนของนักศึกษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติระดับปริญญาตรีปีการศึกษา 2560 และเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาจีนให้ดีขึ้น ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาจีนมีข้อบกพร่องในด้านการเขียนเรื่องการใช้คํา 4 ด้านได้แก่ การใช้คําผิด การสะกดการันต์ผิด การเว้นวรรคตอนผิด และการใช้เครื่องหมายวรรคตอนผิดซึ่งการใช้คําผิดพบ 3 ลักษณะคือการใช้คําผิดไวยากรณ์การใช้คําผิดความหมาย การใช้ภาษาพูดในภาษาเขียน การสะกดการันต์ผิดพบว่า มีข้อบกพร่องด้านการสะกดการันต์ผิดทั้งในเรื่องการใช้สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ เขียนส่วนของคําสลับกัน และเขียนตัวการันต์ผิด การเว้นวรรคตอนผิดพบ 2 ลักษณะ คือเว้นวรรคตอนโดยแยกพยางค์ออกจากกัน และเว้นวรรคตอนโดยแยกคําออกจากกัน การใช้เครื่องหมายวรรคตอนผิดพบว่า ใช้ผิดมี 3 เครื่องหมาย คือ เครื่องหมายยัติภังค์เครื่องหมาย มหัพภาค และเครื่องหมายไม้ยมก ข้อบกพร่องด้านการสร้างประโยคพบข้อบกพร่อง 3 ลักษณะ ได้แก่ ประโยคตามหลักไวยากรณ์พบ 2 ลักษณะ ได้แก่ การเรียงลําดับคําหรือกลุ่มคําในประโยคไม่ถูกต้องและการเขียนประโยคไม่สมบูรณ์ ประโยคสื่อความหมายพบ 3 ลักษณะ คือ การเขียนประโยคไม่จบกระแสความ การใช้คําเกิน และการเว้นวรรคผิด ประโยคสละสลวยเกิดจาก 2 สาเหตุคือ การใช้คําไม่คงที่และการใช้คําต่างระดับ ในด้านการวิเคราะห์ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาจีนและอาจารย์ผู้สอนพบว่า นักศึกษาจีนส่วนใหญ่มีปัญหาด้านการเขียนภาษาไทยเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักภาษาไทย สับสนเรื่องการออกเสียงคําและการจดจําคําศัพท์ การเทียบเคียงกับภาษาแม่ คือภาษาจีนซึ่งมีโครงสร้างต่างกับภาษาไทย การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ค้นหาความรู้มากเกินไป ซึ่งมี แนวทางแก้ไขปัญหาที่สําคัญคือด้านผู้เรียนต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักภาษาไทย หมั่นค้นคว้าหาความรู้เรื่องคําศัพท์ต่าง ๆ ผู้สอนปรับปรุงวิธีการสอนให้น่าสนใจโดยใช้สื่อประกอบ ตรวจงานและแก้ไขข้อบกพร่องของภาษาทุกครั้ง ด้านหลักสูตรควรบังคับให้นักศึกษาทุกกลุ่มเรียนหลักภาษาไทยทั้งนี้ ควรมีปัจจัยที่มีส่วนสนับสนุนให้นักศึกษาจีนมีทักษะการเขียนให้ถูกต้องด้วย
This research aimed to find out mistakes in Thai writing, word usage and sentence structure levels, of undergraduate Chinese students of Huachiew Chalermprakiet University in 2017 academic year in order to trace to their causes. The findings were as the following. Four aspects of mistakes in the word usage level were: 1) using wrong words; 2) incorrect orthography; 3) wrong spacing; and 4) wrong punctuations. Mistakes in using wrong words included using incorrect parts of speech; using wrong meaning words; and using informal words in writing. For incorrect orthography, mistakes were found in all three elements of a word, consonants; vowels; and intonation marks. Incorrect word orders and misspelling of voiceless alphabets were also found. Two wrong spacing were noted, which were spacing between a syllable and between a word. Three wrong punctuations included wrong using of the hyphen, the period and the repeating word marks. For the sentence structure level, three types of sentences were studied, including 1) basic structural sentences; 2) communicative sentences; and 3) composing sentences. Mistakes in using incorrect word orders and incomplete sentences were found in basic structural sentences writing. For communicative sentences, unclear sentences; redundant words; and wrong spacing were mistakes found. Two main mistakes in composing sentences included inconsistent word usage and mixing levels oflanguage. From group discussion between students and lecturers, problems in Thai writing of Chinese students were traced to four main causes, including1) insufficient knowledge in structures of Thai language; 2) incorrect pronunciation; 3) influencefrom students’ first language, Chinese, in memorizing definition of words; and 4) inefficient electronic sources of knowledge that students mostly relied on. Suggested solutions noted from the research were: knowledge of structures of Thai language and vocabulary were necessary for students; efficient teaching materials and writing exercises and feedbacks from lecturers were required; and core-courses of structures of Thai language and Thai writing could form sufficient basis for the students.