DSpace Repository

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไล่มดจากพืชสมุนไพร

Show simple item record

dc.contributor.author อิสสริยา เอี่ยมสุวรรณ
dc.contributor.author ณัฐริณี หอระตะ
dc.contributor.author ศราวุธ สุทธิรัตน์
dc.contributor.author ทวีพร พันธุ์พาณิชย์
dc.contributor.author Isariya Ieamsuwan
dc.contributor.author Natharinee Horata
dc.contributor.author Sarawut Suttirat
dc.contributor.author Taweebhorn Phunpanich
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Medical Technology en
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Medical Technology en
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Medical Technology en
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Medical Technology en
dc.date.accessioned 2025-01-11T12:30:55Z
dc.date.available 2025-01-11T12:30:55Z
dc.date.issued 2021
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3496
dc.description.abstract มด (วงศ์ Formicidae อันดับ Hymenoptera) เป็นแมลงที่มีความสำคัญที่พบได้บ่อยในพื้นที่เขตร้อน อาศัยอยู่ตามบ้านและพื้นที่การเกษตร สามารถทำอันตรายกับมนุษย์ได้โดยการกัดต่อย ทำให้รู้สึกเจ็บปวด บวม คัน แสบ หรืออาจก่อให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง โดยทั่วไปมักกำจัดมดด้วยสารเคมี ซึ่งจะทำให้เกิดสารตกค้างที่เป็นอันตราย ดังนั้นการใช้สมุนไพรไล่มดจึงเป็นทางเลือกเพื่อลดการใช้สารเคมีและเป็นมิตรต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้จึงศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรไล่มดโดยใช้ สารสกัดหยาบของสมุนไพร 7 ชนิด ได้แก่ ผลพริกไทยดำ เหง้าข่า ใบโหระพา กาบใบตะไคร้ เปลือกมะนาว เปลือกมะกรูด และรากหนอนตายหยาก นำมาทำการทดสอบประสิทธิภาพในการไล่มดโดยนับจำนวนการตอมเหยื่อล่อที่วางบนกระดาษกรองทั้งแบบเปียกและแบบแห้งเปรียบเทียบที่ความเข้มข้น 0.625 1.25 2.5 และ 5% w/v ตามลำดับ จับเวลาทุก 5 นาที จนครบ 30 นาที คำนวณเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละของอัตราการไล่มดและวิเคราะห์ผลทางสถิติโดยใช้ One-way ANOVA พบว่า สารสกัดกาบใบตะไคร้และข่ามีประสิทธิภาพในการไล่มดได้ดีที่สุดในความเข้มข้น 5% w/v ที่เวลา 30 นาที เมื่อนำสารสกัดกาบใบตะไคร้และข่ามาผสมกันแบบ 1:1 ทั้งแบบเปียกแลแห้งมาเปรียบเทียบกัน พบว่า สารสกัดกาบใบตะไคร้และข่าผสมแบบ 1:1 ทั้งแบบเปียกและแบบแห้งมีประสิทธิภาพในการไล่มดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้น จึงนำสารสกัดหยาบจากกาบใบตะไคร้และข่ามาพัฒนาต่อเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ไล่มด จากผลวิจัยพบว่า 5% w/v สเปรย์จากเหง้าข่ามีประสิทธิภาพในการไล่มดได้ดีในทุกนาทีที่ทำการทดลอง คือ ตั้งแต่เริ่มทำการทดลองในนาทีที่ 0 ถึงนาทีที่ 30 มีอัตราการไล่มดเท่ากับ 100 โดยหลังจากเก็บผลิตภัณฑ์ไว้ 7 วัน พบว่าอัตราการไล่มดลดลง จาก 100 เป็น 83.93 แสดงว่าระยะเวลาในการเก็บผลิตภัณฑ์มีผลต่อประสิทธิภาพในการไล่มด จากนั้นทำผลิตภัณฑ์ไปทดลองใช้บริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัย จากผลการทำแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้ผลิตภัณฑ์ไล่มดจากสกัดเหง้าข่าแบบสเปรย์พบว่า ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์ที่ดี (x̄ = 4.2) en
dc.description.abstract Ants (Formicidae; Hymenoptera) are an important insect, commonly found in tropical areas. Ants are live in homes and farmland, which can be harmful to humans by biting, causing pain, swelling, itching, burning, or may cause severe allergic reaction called anaphylactic shock. Generally, a traditional method for repelling ants is the use of insecticides which caused environmental contamination. Therefore, using herbs for ant repellent is a good option to reduce the use of chemical residues and environmental friendly. This research studied on the development of ant repellent herb production that was safe to the producers and consumers, using seven herb extracts; Piper nigrum Linn., Alpinia galanga (l>) Willd, Ocimum basilicum L., Cymbopogon citratus Stapf, Citrus aurantiifalia (Christm.) Swingle, Citrus hystrix DC, and Stemona collinsae. Were tested the effects by counting the number of bait placed on both wet and dry filter paper. Comparison at the concentration of 0.625, 1.25, 2.5, and 5% w/v, recorded at 0 to 30 minute were calculated as percentage of repellency rate and One-way ANOVA. The result showed that the C. citratus and A. galanga (L.) Willd extracts are most effective at 5% w/v concentration at 30 minutes for ant repellent. Additionally, this research was also study the mix extracts (1:1) betweeb C.citratus and A. galanga (L.) Willd in wet and dry conditions were effective in repelling ant (p<0.05). Furthermore, C. citratus and A. galanga (L.) Willd extracts can be herbs of choice for developing the ant repellent product. The 5% w/v A. galanga (L.) Willd extracts spray showed a considerable outcome during the experiment period at 0-30 minutes with 100% repellency. However, the repellency percentage was reduces from 100 to 83.93 after seven days of storage. It shows that the storage period has a significant effect on the organic insecticide’s performance. After employing the organic insecticide around the college, the result from questionnaires reveals a better yield in satisfaction uses (x̄ = 4.2). en
dc.description.sponsorship การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติปีการศึกษา 2561 en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject มด en
dc.subject Ants en
dc.subject สารสกัดจากพืช en
dc.subject Plant extracts en
dc.subject สารฆ่าแมลงจากพืช en
dc.subject Botanical insecticides en
dc.subject การไล่มด en
dc.subject Ant repellent en
dc.subject สมุนไพร en
dc.subject Herbs en
dc.title การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไล่มดจากพืชสมุนไพร en
dc.title.alternative Development of Ant Repellent Products from Herbs en
dc.type Technical Report en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account