การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้นหาทุนมนุษย์เรื่องผักพื้นบ้านของชุมชนชานเมืองด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร และนำเสนอโมเดลการค้นหาทุนมนุษย์เรื่องผักพื้นบ้านของชุมชนชานเมือง ผ่านการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผักพื้นบ้าน และการค้นหาโอกาส ด้วยเครื่องมือทั้งแบบสอบถาม การทำแผนที่ความรู้เพื่อนำเสนอความรู้ และการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม โดยมีพื้นที่วิจัยเพื่อการศึกษา คือ ชุมขนแผ่นดินทองวัดลำพะอง เขตหนองจอก จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยทำการสำรวจผักพื้นบ้านที่มีการปลูกทั่งทั้งชุมชน และสำรวจพฤติกรรมการบริโภคผักพื้นบ้านกับกลุ่มตัวอย่าง 121 ครัวเรือน และสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับตัวแทนกลุ่มบ้าน 7 ราย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความแปรปรวนด้วย One-way ANOVA ที่ระดับความเชื่อมั่น α = 0.01 และการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมด้วยโปรแกรม Social Network Visualization ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการทำแผนที่ด้วย Google Mymaps และการวิเคราะห์หมวดหมู่ ผลการศึกษา พบว่า ชุมชนฯ มีผักพื้นบ้านที่หลากหลายถึง 60 กว่าชนิด โดยเป็นพืชผักพื้นบ้านสำหรับทำอาหารหลัก 40 ชนิด และพืชปรุงแต่รสและกลิ่น 21 ชนิด รวม 845 ต้น หรือจุด ชาวชุมชนฯ มีการบริโภคผักพื้นบ้านเฉลี่ย 24.97 ชนิด จาก 30 ชนิดที่ทำการสำรวจ โดยครัวเรือนที่มีภูมิลำเนามาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริโภคผักพื้นบ้านเฉลี่ยสูงที่สุด ที่ 28.45 ชนิด รองลงมา คือ จากภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคกลาง ที่เฉลี่ย 27.67, 25.94, 24.5 และ 24.17 ชนิด ตามลำดับ และผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนด้วย One-way ANOVA ที่ระดับความเชื่อมั่น α = 0.01 พบว่า การบริโภคผักพื้นบ้านของครัวเรือนที่มาจากภูมิลำเนาต่างกัน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านความถี่ในการบริโภค ชุมชนฯ มีความถี่ในการบริโภคผักพื้นบ้านเฉลี่ย 4.10 จาก 6 ระดับ หรือเดือนละ 2 ครั้ง ครัวเรือนที่มีภูมิลำเนาจากตะวันออกเฉียงเหนือ มีความถี่ในการบริโภคผักพื้นบ้านสูงที่สุดที่ 4.88 รองลงมาคือ ครัวเรือนที่มาจากภาคตะวันออกที่ 4.72 โดยเป็นเดือนละ 4 ครั้งเท่ากัน โดยครัวเรือนที่มีภูมิลำเนามาจากภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคกลางมีความถี่การบริโภคผักพื้นบ้านที่ 4.26, 4.19, และ 3.92 ตามลำดับ โดยทั้งสามภาคบริโภคผักพื้นบ้านเฉลี่ยที่เดือนละ 2 ครั้ง จากผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนค่าเฉลี่ยความถี่ในการบริโภคผักพื้นบ้านตามภูมิภาคด้วย One-way ANOVA ที่ระดับความเชื่อมั่น α = 0.01 พบว่าค่าเฉลี่ยความถี่ในการบริโภคของครัวเรือนจากทั้ง 3 ภูมิลำเนามีความถี่ในการบริโภคผักพื้นบ้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านแหล่งที่มาของผักพื้นบ้านที่บริโภคส่วนมากได้มาจากการซื้อที่ร้อยละ 58 รองลงมาได้มาจากการปลูกเอง ขอเพื่อนบ้าน/ยาติ เก็บจากที่สาธารณะ และนำมาจากต่างจังหวัดที่ร้อยละ 23.7, 2.7, 1.3 และ 0.4 ตามลำดับ โดยสรุปเป็นความรู้ เรื่อง ผักพื้นบ้านทั้ง 4 ด้าน คือ ชนิดของผักพื้นบ้าน การเพาะปลูกผักพื้นบ้าน การบริโภคผักพื้นบ้าน และ การตลาดผักพื้นบ้าน โดยความรู้เรื่องการตลาดผักพื้นบ้านในชุมชนยังมีการตลาดผักพื้นบ้านในชุมชนน้อย เนื่องมีครัวเรือนเพียงไม่กี่รายที่ปลูก/เก็บผักพื้นบ้านเพื่อจำหน่ายจากผลการศึกษาได้นำเสนอโมเดลการค้นหาโอกาสและทุนมนุษย์ เรื่อง ผักพื้นบ้านของชุมชน โดยโอกาสจากผักพื้นบ้านชองชุมชน โดยโอกาสจากผักพื้นบ้านของชุมชนมีทั้ง 3 ด้าน คือ โอกาสทางโภชนาการและสุขภาพ โอกาสทางเศรษฐกิจ และโอกาสทางนิเวศวิทยา
This study has three main objectives to discover human capital of a community in vicinity of Bangkok and propose a model of human capital discovery of the community through indigenous vegetable (IV) consumption behavior. The study used several tools including questionnaire, knowledge mapping and social network analysis. The research site was Baan Pandinthong Wat Lumpraong in Nonhchong district, Bangkok. Indigenous vegetable survey was taken place around the community, the indigenous vegetable consumption behavior survey was conducted with 121 samples, and semi-structure interview was conducted with 7 representative of the community. Quantitative data were analysed with descriptive statistic. One-way ANOVA and Social Network Visualization. Qualitative data were analysed with Google Mymaps and classification technique.