การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาการเชิดหนังตะลุงและการรำโนราศิลปะการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ 2) ศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ชุด หุ่นคนตะลุงโนรา 3) การเผยแพร่ผลงานชุด หุ่นคนตะลุงโนราสู่สาธารณะชนผลการวิจัยพบว่าประวัติความเป็นมาการเชิดหนังตะลุงเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวปักษ์ใต้หนังตะลุงเป็นการแสดงที่ต้องอาศัยตัวหนังใช้ผู้บังคับหรือเชิดให้หนังเคลื่อนไหวคือ นายหนังตะลุง ทำหน้าที่ทั้งเชิดทั้งพากย์ เจรจา ตัวหนังตะลุงมีรูปยักษ์ ฤๅษี เจ้าเมือง ตัว พระ ตัวนาง และตัวตลกนิยมใช้ภาษากลางเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง กลอง ทับ โหม่ง ซอ ฉิ่ง ปี่ และปัจจุบันนำเครื่องดนตรีสากลมาผสม การรำโนราเป็นการแสดงพื้นเมืองของชาวปักษ์ใต้ ท่าสอนรำ ทั้งหมด 17 ท่า ส่วนท่ารำแม่บทมาจากสายขุนอุปถัมภ์นรากรมีทั้งหมด 12 ท่าเครื่องทรงของกษัตริย์ร้อยด้วยลูกปัดโนรามีทั้งหมด 5ชิ้น การสร้างสรรค์ชุดหุ่นคนตะลุงโนราได้สร้างสรรค์ทำนองเพลงขึ้นมาใหม่ ใช้กระบวนการตามแนวคิดของการสื่อให้เห็นคุณค่าของการเชิดหุ่น การเชิดหนังตะลุง และการรำโนรา มาผสมผสานให้เกิดการเคลื่อนไหวในลักษณะท่าทางต่าง ๆ ตามกิริยาของตัวหนังตะลุงที่มีผู้เชิดบังคับให้เกิดการเคลื่อนไหว ใช้เวลาในการแสดง 4.15นาที ท่ารำมีทั้งหมด 24 ท่า การเผยแพร่ผลงานชุดหุ่นคนตะลุงโนราสู่สาธารณชน ผู้ชมมีความพึงพอใจโดยเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.59) รายการที่มีความพึงพอใจสูงที่สุดคือ การประดิษฐ์ท่ารำการแสดงหุ่นคนชุดตะลุงโนรา (ค่าเฉลี่ย 4.86) รองลงมา การแสดงอารมณ์บ่งบอกถึงบุคลิกลักษณะตัวละคร (ตัวพระ ตัวนาง ตัวตลก ตัวยักษ์) (ค่าเฉลี่ย 4.65) และความพร้อมเพรียงของผู้เชิดและผู้รำ(ค่าเฉลี่ย 4.55) ตามลำดับ ส่วนรายการที่มีความพึงพอใจต่ำที่สุด คือ การออกแบบเครื่องแต่งกายในการแสดง (ค่าเฉลี่ย 4.45)
The purposes of this study are to 1) study the history of performing the shadow puppets and Nohra dance, a form of public entertainment in the south of Thailand, 2) study the procedures of the creation of “Man Puppet on Ta-lung Nohra”, and 3) disseminate the work or performance of “Man Puppet on Ta-lung Nohra” to the public. It was found that the history of performing the shadow puppets was a symbol of people in the south of Thailand. Ta-lung was the performance used the figures made of leather and controlled by the dancer who made the figures move. The dancer’s duties were performing the puppets, narrating, and speaking at the same time. There were six characters in Ta-lung: the giant, the hermit, the governor, the leading actor, the leading actress, and the clown. But for the leading characters and the governor, central Thai was used. The music used in the performance were the drums, tup, mong, fiddle, cymbal, and flute. In the present time, the music was combined with modern music. Nohra dance is the native or folk performance of the south.There were 17dances altogether There were 12 dances from the rum mae bot on the line of Khun Aupatumnarakorn .Nohra costumes imitated those of the king’s sewn with beads. The creation of “Man Puppet Ta-lung Nohra” has created the new tune of music using folk music of the south combined with modern music. Performing the shadow puppets combined with Nohra dances have made the movements of various types following the actions of Ta-lung figures, which were controlled by the puppet performer. The performance took 4.15 minutes with 24 dances altogether. Dissemination of the work, the “Man Puppet Ta-lung Nohra” to the public. The audience were satisfied at the high point, with an average of 4.59.