การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ 1) เพื่อสํารวจความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านค่านิยมและความเชื่อส่วนบุคคลของนักศึกษา 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านเพศกับผลกระทบด้านค่านิยมและความเชื่อส่วนบุคคลกับการพัฒนาชุมชน 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านเพศกับผลกระทบด้านการสื่อสารกับบุคคลอื่นและการพัฒนาชุมชน4) เพื่อสรุปนําเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านค่านิยมและความเชื่อส่วนบุคคลที่ส่งผลกระทบต่อการสื่อสารกับบุคคลอื่นรวมทั้งจะส่งผลไปถึงการพัฒนาชุมชนในด้านต่างๆ วิธีดําเนินการวิจัยใช้วิธีการเก็บข้อมูลแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจากการตอบแบบสอบถามและการสนทนากลุ่มย่อยสรุปผลการวิจัยจากข้อมูลเชิงปริมาณพบว่ากลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีความคิดเห็นด้านค่านิยมส่วนบุคคลเกี่ยวกับปัจจัยการคิดนอกกรอบเพื่อสร้างความแตกต่างในระดับมากที่สุดจํานวน 18 คนคิดเป็นร้อยละ 17.47 ความคิดเห็นด้านความเชื่อว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตไม่ใช่เหตุบังเอิญและเชื่อว่าคนเราพัฒนาได้ถ้าตั้งใจจริงต้องทําได้อยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากัน คือด้านละ 14 คนคิดเป็นร้อยละ 13.59 ผลการทดสอบโดยมีนัยสําคัญทางสถิติระดับ .05 พบว่าความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านเพศกับผลกระทบด้านค่านิยมส่วนบุคคลกับการพัฒนาชุมชนมีค่าไคสแคว์ = .007 คือยอมรับสมมติฐานผลการทดสอบความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านเพศกับผลกระทบด้านความเชื่อส่วนบุคคลกับการพัฒนาชุมชนมีค่าไคสแคว์ = .091 คือปฏิเสธสมมติฐานและผลการทดสอบความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านเพศกับผลกระทบด้านการสื่อสารกับบุคคลอื่นและการพัฒนาชุมชนมีค่าไคสแคว์ = .001 คือยอมรับสมมติฐานข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่มย่อยสรุปได้ว่ากลุ่มผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าปัจจัยด้านค่านิยมและความเชื่อส่วนบุคคลจะส่งผลต่อการสื่อสารเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและส่งผลกระทบต่อการพัฒนาชุมชนให้เป็นไปในทางที่ดีมากขึ้นในอีกด้านหนึ่งถึงแม้ว่าผู้คนในชุมชนมีปัจจัยทั้งสองด้านแตกต่างกันแต่ถ้าสามารถปรับค่านิยมและความเชื่อเข้าหากันได้และทําการสื่อสารกันได้อย่างเป็นมิตรจะทําให้เกิดความร่วมมือเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาในชุมชนของตนเองให้ประสบความสําเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ
The objectives of this research were 1) to survey the opinions of a group of sample undergraduate students on personal values and beliefs; 2) to analyze the relationship of the variable of gender with the impact of personal values and beliefs on community development; 3) to analyze the relationship of the variable of gender with the impact of interpersonal communication on community development; and 4) to form recommendations on how to solve problems related to personal values and beliefs that impact interpersonal communication and community development. The research method employed both qualitative and quantitative data collection methods, including a questionnaire and focus group discussions. The quantitative data showed that 18 of the samples (17.47%) placed the greatest importance on the value of thinking outside the box and creating differentiation. For personal beliefs, 14 of the samples (13.59%) gave the highest score to the belief that everything in life is not accidental and people have the agency to develop if they put in sincere effort. The following relationships were found to be statistically significant at .05 confidence level: the relationship of the variable of gender to the impact of personal values on community development had a chi square value .007 so the hypothesis was supported. The relationship of the variable of gender to the impact of personal beliefs on community development had a chi square value .091 so the hypothesis was rejected. The relationship of the variable of gender to the impact of interpersonal communication on community development had a chi square value = .001 and the hypothesis was upheld. Qualitative data from the group discussions indicated that the majority of samples strongly agreed that personal values and beliefs affect communication to develop relationships with other people and can have a positive impact on community development. They perceived that even if people began with differing values and beliefs, they could reach an agreement to better align their values and engage in friendly communication. This can create cooperation to prevent and solve problems in the community and to achieve effective community development.