การวิจัยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) ศึกษาข้อมูลสภาพแวดล้อมในการทำงานของพนักงาน (2) ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสิ่งคุกคามจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน จำนวน 5 ด้าน ได้แก่ กายภาพ เคมี ชีวภาพ การยศาสตร์ และจิตสังคม (3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพใน การปฏิบัติงานของพนักงาน ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยสิ่งคุกคามต่อสุขภาพจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน (4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ พนักงาน และ (5) ) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสิ่งคุกคามต่อสุขภาพจากการทำงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน ในบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรีผลการวิจัยพบว่าการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง ระดับเสียงดัง ความร้อน ปริมาณฝุ่นรวม และละอองน้ำมัน มีจำนวนจุดที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 93.4, 83.3, 100, 100 และ 100 ตามลำดับ ผลการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสิ่งคุกคามจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในภาพรวมพบว่าสิ่งคุกคามด้านการยศาสตร์ กายภาพ/จิตสังคม และเคมี จัดอยู่ในระดับความเสี่ยง ปานกลาง ยอมรับได้ และเล็กน้อย ตามลำดับ โดยไม่พบความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสิ่งคุกคามด้านชีวภาพ สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ และ ปัจจัยสิ่งคุกคามต่อสุขภาพจากสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านกายภาพและด้านการยศาสตร์มีผล ต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน ส่วนด้านอื่น ๆ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน ตำแหน่งงาน ฝ่ายที่ปฏิบัติงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน สถานะทางการเงิน การสัมผัส สิ่งคุกคามด้านกายภาพ เคมี และการยศาสตร์ ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญ (p-value > .05) โดยปัจจัยด้านเพศ การสัมผัสสิ่งคุกคามด้านชีวภาพและจิตสังคม มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญ (p-value < .05)
The objectives of this research were: (1) to study the working environment data of workers, (2) to evaluate the health risks from environmental hazards in the workplace (physical, chemical, biological, ergonomics, and psycho-social), (3) to study the factors affecting on the worker efficiency in the areas of personal factors and health hazard perception factors, (4) to study the relationships among personal factors and worker efficiency, and (5) to study the relationships among health hazard perception factors and worker efficiency, in the auto parts manufacturer of Chon Buri.The results revealed that a number of measurement points complying with the standard criterion were 93.4%, 83.3%, 100%, 100%, and 100% respectively, for light intensity, sound level, heat stress index, total dust and oil mist. Health risks assessment from environmental hazards in the workplace as a whole indicates that ergonomic, physical, psycho-social and chemical aspects were in the risk at intermediate, acceptable, and slight levels, respectively. However, there were any biological health hazards. It was also found that sexual, physical and ergonomic factors were obviously affected on worker efficiencies, while other factors were not affected on worker efficiency with statistical significance (p-value >.05). Moreover, sexual factors, biological and psycho-social health hazards showed the relationships with worker efficiency with statistical significance (p-value < .05)