dc.contributor.advisor |
พิชิต สุขเจริญพงษ์ |
|
dc.contributor.advisor |
Pichit Sukchareonpong |
|
dc.contributor.author |
นิจจา นันทกิจจาไพศาล |
|
dc.contributor.author |
Nidja Nanthakitjapaisarn |
|
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
|
dc.date.accessioned |
2025-01-26T07:08:42Z |
|
dc.date.available |
2025-01-26T07:08:42Z |
|
dc.date.issued |
2001 |
|
dc.identifier.uri |
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3574 |
|
dc.description |
ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2544 |
en |
dc.description.abstract |
ในการดำเนินธุรกิจ สิ่งที่องค์กรคาดหวังว่าจะได้รับผลตอบแทนจากการดำเนินงานคือ “กำไร” การบริหารการผลิตจึงเริ่มกลับมามีบทบาทมากขึ้น โดยหันมาเน้นเรื่อง การลดต้นทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ยิ่งสภาพการแข่งขันทางธุรกิจอุตสาหกรรมดุเดือดรุนแรงมากเพียงใด เรายิ่งต้องหาวิธีการลดต้นทุนมากขึ้นเพียงนั้น เพื่อที่จะใช้กลยุทธ์ด้านราคาขายเป็นเกมการต่อสู้กับคู่แข่ง เพื่อฉกชิงสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและสามารถเปลี่ยนวัตถุดิบมาเป็นโอกาสเพื่อให้องค์กรอยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืนถึงแม้ว่าบริษัท ซีเกท จะเป็นหนึ่งในผู้นำอุตสาหกรรมหน่วยบันทึกข้อมูลสำหรับคอมพิวเตอร์ แต่การแข่งขันก็ยังสูงอยู่ โดยเฉพาะปัจจุบัน เป็นยุคที่ตลาดเป็นของผู้บริโภคราคาขายของสินค้าจะถูกควบคุมกันเองโดยคู่แข่งของที่มีคุณภาพใกล้เคียงกัน จึงตั้งราคาขายให้แตกต่างกันมากไม่ได้ เพราะราคาที่ถูกกว่าจะได้เปรียบจะได้ลูกค้ามากกว่าภาคนิพนธ์ฉบับนี้ได้นำเสนอ จุดที่เราจะลดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเห็นผลทันตาก็คือในโรงงานในสายการผลิต ในพื้นที่ปฏิบัติการพื้นที่ทำงานจริง แต่การลดต้นทุน จะต้องไม่ ลดคุณภาพของสินค้า การลดต้นทุนในความหมายที่แท้จริงก็คือ การตัดลดค่าใช้จ่ายหรือความสูญเสียต่าง ๆ ในกระบวนการผลิต (Production Process) ให้หมดไปหรือให้เหลือน้อยที่สุด โดยยังสามารถรักษาคุณภาพให้เท่าเดิมได้ ผลที่ได้จากการศึกษาพบว่า ต้นทุนด้านของเสียจากการผลิตเป็นปัจจัยผลิตที่ทำให้ต้นทุนสินค้าสูงขึ้นโดยเฉพาะความสูญเสียจากการนำวัตถุดิบที่ไม่มีคุณภาพมาผลิตผู้ศึกษาได้นำแนวคิดการเพิ่มคุณภาพของวัตถุดิบ คือ แนวคิด Suppliers' Score card โดยมีสาระสำคัญคือ การผลักดันให้ Suppliers เพิ่มมูลค่าเพิ่มในตัววัตถุดิบซึ่งมีบริษัทซีเกท ผู้ประเมินคุณภาพด้านต่าง ๆ ในทุก ๆ ไตรมาส ผลที่ได้จากการใช้โปรแกรมนี้คือ คุณภาพของวัตถุดิบดีขึ้นเรื่อย ๆ จนสามารถลดของเสีย จากกระบวนการผลิต และของเสียจากสินค้าที่ถูกส่งคืนมาจากลูกค้าก็ลดน้อยลง รวมค่าใช้จ่ายของเสียทั้งหมดที่สามารถประหยัดได้ถึงไตรมาสละเกือบ 3 ล้านดอลล่าร์ ประโยชน์อีกแง่หนึ่งในการทำภาคนิพนธ์เล่มนี้คือ การศึกษาและเสนอวิธีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบผู้ศึกษายังให้ข้อเสนอแนะต่อไปอีกว่า แนวคิดดังกล่าวจะนำไปใช้ในกิจกรรมอื่น ๆ ในบริษัทก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องประยุกต์ในงานด้านการผลิตอย่างเดียว เช่น การวางแผนการผลิต การตลาดหรืองานด้านบริการบุคลากร |
en |
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
en |
dc.rights |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
en |
dc.subject |
การบริหารงานผลิต |
en |
dc.subject |
Production management |
en |
dc.subject |
การควบคุมความสูญเปล่า |
en |
dc.subject |
Loss control |
en |
dc.subject |
ต้นทุนการผลิต |
en |
dc.subject |
Cost |
en |
dc.subject |
ฮาร์ดดิสก์ |
en |
dc.subject |
Hard disks (Computer science) |
en |
dc.subject |
บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด |
en |
dc.subject |
Seagate Technology (Thailand) Co., Ltd. |
en |
dc.title |
การลดต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมดิสก์ไดร์ฟ : กรณีศึกษา บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด |
en |
dc.title.alternative |
Reducing the Disc Drive Production Costs at Seagate Technology (Thailand) Co., Ltd. |
en |
dc.type |
Independent Studies |
en |
dc.degree.name |
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต |
en |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en |
dc.degree.discipline |
บริหารธุรกิจ |
en |