Abstract:
การศึกษาเรื่อง ความพึงพอใจของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาล โดยศึกษาเฉพาะกรณี เทศบาลในจังหวัดสมุทรปราการ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ ศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการการศึกษาปัจจัยด้านต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจในการทำงานของเทศบาลด้านกำจัดขยะมูลฝอย และศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการกำจัดขยะมูลฝอย กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาลของจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 400 คน รวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC เพื่อการศึกษาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสถิติไคสแควร์ (chi-spuare)ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนที่ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 21 ปี - 59 ปี สถานภาพโสด นับถือศาสนาพุทธ ระดับการศึกษา คือ ประถมศึกษา มีอาชีพหลักคือ รับจ้าง มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 4-6 คน มีลักษณะบ้านเป็นบ้านเช่าในการศึกษาความพึงพอใจของประชาชนทั้ง 5 ด้าน พบว่า อายุ เพศ สถานภาพการสมรส ศาสนา การศึกษา ระยะเวลาที่อยู่ในเขตเทศบาล ไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของประชาชนกับการทำงานของเทศบาล ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของประชาชนกับการทำงานของเทศบาล ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจมีดังนี้งานอาชีพมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน โดยกลุ่มอาชีพรับจ้างมีความพึงพอใจกับการมีส่วนร่วมของกิจกรรมชุมชนมากที่สุด และเมื่อมีความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรมกับชุมชน จึงส่งผลถึงความสัมพันธ์กับทัศนคติที่ดีของประชาชนในกลุ่มอาชีพรับจ้างด้วย สำหรับจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่ดีของประชาชนในกลุ่มอาชีพรับจ้างด้วยสำหรับจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาล พบว่า บ้านที่มีสมาชิก 4-6 คน จะมีทัศนคติและมีความพึงพอใจกับเทศบาลสูง เนื่องจากการมีสมาชิกมากส่งผลให้มีการติดต่อกับเทศบาลมาก และได้ใช้บริการของเทศบาลมากด้วยบ้านพักอาศัย เป็นอีกปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน จากการศึกษาในเรื่องนี้ พบว่า ประชาชนที่มีบ้านเป็นของตนเองจะมีความพึงพอใจ ต่อการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมชุมชนมากที่สุด และในด้านการป้องกันดูแลสิ่งแวดล้อม กลุ่มที่มีบ้านเป็นของตนเองก็จะใส่ใจกับการมีส่วนร่วมป้องกันดูแลสิ่งแวดล้อมมากกว่าบ้านเช่าหรือบ้านที่อาศัยผู้อื่นอยู่ประชาชนในกลุ่มนี้ เมื่อมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชนและมีส่วนร่วมป้องกันดูแลสิ่งแวดล้อม จึงมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานของเทศบาลด้วยจากการสอบถามปัญหาและอุปสรรค พบว่า ประชาชนต้องการให้ใช้กฎหมายที่เข้มงวดและชัดเจนในการจัดการขยะมูลฝอย ต้องการให้เทศบาลจัดการกับขยะ โดยนำเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ และมีการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ตอบข้อถามในเรื่องการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ เกือบจะทั้งหมดเห็นด้วย และต้องการให้มีการปลูกฝังให้เด็กและประชาชนรู้จักการแยกขยะ ส่วนในข้อการมีส่วนร่วมประชาชนเห็นว่างานของท้องถิ่นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมจัดการท้องถิ่นของตนหลังจากการศึกษา พบว่า มีข้อเสนอแนะหลายด้าน เช่น ควรมีการนำกฎหมายที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมาใช้อย่างจริงจัง และเข้มงวดในขณะเดียวกัน ต้องให้ความรู้ในการคัดแยกขยะ ปลูกฝังให้รักในถิ่นกำเนิด และรักษาสิ่งแวดล้อมในส่วนการกำจัดขยะ ควรให้ภาคเอกชนเข้ามาช่วย โดยภาครัฐเข้ามาถือหุ้นร่วม การที่เอกชนเข้ามาจัดการในเรื่องขยะ ต้องควบคุมโดยเข้มงวดจากภาครัฐส่วนในข้อเสนอแนะสำหรับงานวิจัยต่อไปนั้น ควรมีการศึกษาเพิ่มเติม เนื่องจากเจาะลึกลงไปถึงปัญหาของประชาชนที่ต้องการให้มีการแก้ไข เพื่อจะนำปัญหาเหล่านั้นมาแก้ปัญหาอย่างจริงจังกับประชาชน ศึกษาประเด็นเพิ่มเติมจากกลุ่มอื่น นอกเหนือจากกลุ่มประชาชนที่คัดมาควรศึกษาในเชิงเปรียบเทียบ เพื่อให้มีความหลากหลายของกลุ่มตัวอย่าง และศึกษาในเชิงคุณภาพ เพื่อให้ทราบปัญหาและอุปสรรคที่แท้จริง ที่มีผลกระทบต่อความพึงพอใจของประชาชน