DSpace Repository

การจัดการสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานในโรงงานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์

Show simple item record

dc.contributor.advisor โชคชัย สุทธาเวศ
dc.contributor.advisor Chokchai Suttawet
dc.contributor.author เบญจวรรณ เทียนทอง
dc.contributor.author Benjawan Theinthong
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2025-02-07T13:34:01Z
dc.date.available 2025-02-07T13:34:01Z
dc.date.issued 2004
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3627
dc.description สารนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2547 en
dc.description.abstract การศึกษาเรื่อง การจัดการสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานในโรงงาน กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาระบบการจัดการด้านสุขภาพและความปลอดภัยของโรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ 2) ศึกษาการดำเนินการในเรื่องแผนและการปฏิบัติตามมาตรฐานกฎหมายเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัยของโรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านสหภาพแรงงานกับมาตรฐานการจัดการด้านสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างในสถานประกอบการผลการศึกษา สถานประกอบการส่วนใหญ่ไม่เคยขอรับบริการหรือความช่วยเหลือด้านการจัดการสุขภาพและความปลอดภัย สำหรับสถานประกอบการที่เคยขอรับบริการหรือความช่วยเหลือด้านการจัดการสุขภาพและความปลอดภัย ส่วนใหญ่จะขอรับบริการจากสถาบันความปลอดภัย และส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับรางวัลมาตรฐาน ISO 14000 นโยบายและการสนับสนุนของนายจ้างในการดำเนินงานเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน ส่วนใหญ่ไม่มีแผนงานและงบประมาณในการทำงาน แต่มีการดูแลซ่อมบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการทำงาน และมีกฎระเบียบด้านความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับวิธีการเก็บรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ในการทำงาน และใช้วิธีการตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัยเสมอ สถานประกอบการส่วนใหญ่มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับพื้นฐาน และไม่มีหน่วยงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับการจัดเก็บข้อมูล สถิติ และการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขส่วนใหญ่ไม่มีการดำเนินการในเรื่องนี้มาตรฐานการจัดการด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน ส่วนใหญ่มีมาตรฐานการจัดการด้านสุขภาพต่ำกว่าระดับกฎหมายกำหนด และมีมาตรฐานการจัดการด้านความปลอดภัยอยู่ในระดับที่กฎหมายกำหนดบทบาทสหภาพแรงงาน สถานประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีสหภาพแรงงาน สำหรับสถานประกอบการที่มีสหภาพแรงงาน พบว่าสหภาพแรงงานมีบทบาทในการดำเนินการเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างปานกลางข้อเสนอแนะของผู้วิจัยสำหรับการศึกษาครั้งนี้ คือ ภาครัฐควรให้ความสำคัญและดำเนินการในเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างอย่างเข้มงวดและจริงจัง นอกจากนี้ควรมีการปรับปรุงกระบวนการและวิธีการทำงานในเรื่องการตรวจความปลอดภัย ให้มีการดำเนินการอย่างครอบคลุมทั่วถึงในทุกพื้นที่ วิธีการดำเนินการอาจใช้ระบบเครือข่ายโดยส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามาเชื่อมโยงและมีส่วนร่วมในการตรวจความปลอดภัยและควรส่งเสริมให้มีการนำระบบมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานมาใช้กับสถานประกอบการทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นสถานประกอบการขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ รวมทั้งส่งเสริมการจัดตั้งสหภาพแรงงานให้มากขึ้น เนื่องจากหากมีการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจังย่อมส่งผลที่ดีต่อสภาพแวดล้อมในการทำงานและสุขภาพของลูกจ้างทุกคน en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject อุตสาหกรรมยานยนต์ en
dc.subject Motor vehicle industry en
dc.subject ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม en
dc.subject Industrial safety en
dc.subject สหภาพแรงงาน en
dc.subject Labor unions en
dc.subject อาชีวอนามัย en
dc.subject Industrial hygiene en
dc.subject อุบัติเหตุในงานอุตสาหกรรม en
dc.subject Industrial accidents en
dc.title การจัดการสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานในโรงงานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ en
dc.title.alternative Workers' Occupational Health and Safety Management in Automobile Industry en
dc.type Independent Studies en
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account