dc.contributor.advisor |
เสนาะ ติเยาว์ |
|
dc.contributor.advisor |
Sanoh Tiyao |
|
dc.contributor.author |
ประนอม ลอองนวล |
|
dc.contributor.author |
Pranom Laongnual |
|
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
|
dc.date.accessioned |
2025-02-09T04:13:06Z |
|
dc.date.available |
2025-02-09T04:13:06Z |
|
dc.date.issued |
1999 |
|
dc.identifier.uri |
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3650 |
|
dc.description |
ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2542 |
en |
dc.description.abstract |
ปัญหาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาวะวิกฤตนี้ คือ การรับบุคลากรเข้ามาแล้วไม่มีความรักในองค์การจริง ดังนั้น เมื่อรับเข้ามาแล้ว บุคคลประเภทนี้จะไม่มีความกระตือรือร้นในการทำงาน ไม่มีความทุ่มเทให้กับงาน องค์การจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความผูกพันต่อองค์การให้เกิดขึ้นเพื่อเป็นการมัดใจให้บุคลากรอยู่กับองค์การไปนานๆ ตลอดจนมีความทุ่มเทให้กับการทำงาน มีความจงรักภักดีและมีความกระตือรือรินในการทำงานการศึกษาเรื่อง “ปัจจัยจูงใจที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การและผลการปฏิบัติงาน : ศึกษากรณีเฉพาะมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การและผลการปฏิบัติงานว่าแต่ละปัจจัยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับใด 2. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การและผลการปฏิบัติงานทั้ง 12 ปัจจัยว่าปัจจัยใดเป็นปัจจัยหลักและปัจจัยใดเป็นปัจจัยรอง 3. ศึกษาลักษณะส่วนบุคคลของบุคลากรว่ามีระดับความพึงพอใจแตกต่างกันหรือไม่ 4. ศึกษาถึงระดับความผูกพันต่อองค์การว่าอยู่ในระดับใด 5. เสนอเป็นแนวทางในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานกลุ่มตัวอย่งในการวิจัยครั้งนี้ เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 351 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามแบ่งเป็นคำถาม 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นคำถามข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของผู้ตอบ ส่วนที่ 2 เป็นคำถามวัดความพึงพอใจในปัจจัยจูงใน 12 ปัจจัย คือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรกับผู้บังคับบัญชา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรกับเพื่อนร่วมงาน การติดต่อสื่อสารในหน่วยงาน ระบบในการประเมินผลการปฏิบัติ สภาพแวดล้อมในการทำงาน การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน ความมั่นคงในหน้าที่การงาน ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เงินเดือน/ผลตอบแทน/สวัสดิการ การได้รับการยอมรับนับถือ และลักษณะงาน ส่วนที่ 3 เป็นแบบสอบถามวัดระดับความผูกพันต่อองค์การและความทุ่มเทให้กับงานผลการวิจัยพบว่า 1. บุคลากรมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสามารถจัดลำดับความพึงพอใจในปัจจัยต่างๆ จากความพึงพอใจมากที่สุดไปจนถึงน้อยที่สุดได้ดังนี้ 1. การได้รับการยอมรับนับถือ 2. สภาพแวดล้อมในการทำงาน 3. ความก้าวหน้าในการทำงาน 4. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรกับเพื่อนร่วมงาน 5. ระบบในการประเมินผลการปฏิบัติงาน 6. การติดต่อสื่อสารในหน่วยงาน 7. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรกับผู้บังคับบัญชา 8. การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน 9. นโยบายในการบริหาร 10. ลักษณะงาน 11. เงินเดือน/ผลตอบแทน/สวัสดิการ 12. ความมั่นคงในหน้าที่การงาน และบุคลากรมีระดับความทุ่มเทให้กับงาน จะสูงกว่าระดับความผูกพันต่อองคืการ 2. ตัวแปรด้านลักษระบุคคลของบุคลากร ได้แก่ จำนวนปีที่ทำงานที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจในการทำงานจากผลการวิจัยในครั้งนี้ ทำให้เข้าใจถึงปัจจัยจูงใจต่างๆ ที่มีผลต่อความพึงพอใจ ความผูกพันต่อองค์การและความทุ่มเทให้กับการทำงานดังนั้น สรุปได้ว่า ลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยจูงใจต่างมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจ ความผูกพันต่อองค์การ อันจะส่งผลต่อความทุ่มเทให้กับการทำงาน ความกระตือรือร้นในการทำงาน ซึ่งผู้บริหารหรือหัวหน้าฝ่ายบุคลากรของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ควรจะนำผลการวิจัยในครั้งนี้ไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงและพัฒนาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในองค์การต่อไป |
en |
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
en |
dc.rights |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
en |
dc.subject |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ -- พนักงาน |
en |
dc.subject |
Huachiew Chalermprakiet University -- Employees |
en |
dc.subject |
ความพอใจในการทำงาน |
en |
dc.subject |
Job satisfaction |
en |
dc.subject |
ความผูกพันต่อองค์การ |
en |
dc.subject |
Organizational commitment |
en |
dc.subject |
สภาพแวดล้อมการทำงาน |
en |
dc.subject |
Work environment |
en |
dc.title |
ปัจจัยจูงใจที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การและผลการปฏิบัติงาน :ศึกษากรณีเฉพาะมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
en |
dc.title.alternative |
The Motivation Factors Influencing Corporate Loyalty and Job Performance : A Case Study of Huachiew Chalermprakiet University |
en |
dc.type |
Independent Studies |
en |
dc.degree.name |
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต |
en |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en |
dc.degree.discipline |
บริหารธุรกิจ |
en |