การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 95 ราย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และหาค่าความเชื่อมั่นด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาได้ระหว่าง 0.70-0.82 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณา และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยรวมในระดับดี (M=3.12, S.D.=0.38) ปัจจัยการรับรู้ประโยชน์และการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.402, p<.001 และ r=.617, p<.001 ตามลำดับ) ขณะที่ปัจจัยการรับรู้อุปสรรคต่อการมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.530, p<.001) จากผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนาโปรแกรมหรือกิจกรรมสร้างเสริมพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาวหวานร่วมกับความดันโลหิตสูง
This descriptive research aimes to study the factors related to health promoting behaviors for cardiovascular disease (CVD) prevention among diabetes with hypertension (DM with HTN) patients. There were 95 DM with HTN patients using two stage random sampling techniwue in Muang District, Chachoengsao province. The research instruments is questionnaire with the reliability betweeb 0.70-0.82. Descriptive statistics, one-way ANOVA and Pearson's Product Moment Correlation Coefficient were employed to analyze the data. The results revealed that the sample had a good level of health promoting bahavior for CVD prevention (M=3.21, S.D.=0.38). The perceive benefits and self-efficacy of CVD promoting behaviors for prevention was significant positively correlated with promoting behaviors for CVD prevention among DM with HTN patients (r=.402,p<.001 and r=.617, p<.001). The perceived barriers to health promoting behavior of CVD prevention is significant negatively correlated with promoting behaviors for CVD prevention is significant nagatively correlated with promoting behaviors for CVD prevention is significant correlated with promoting behaviors for CVD prevention among DM with HTN patients with statistically significant. (r=.530, p<.001). The results of this research can be used for developing programs on CVD health promoting for DM with HTN patients.