dc.contributor.advisor |
พวงชมพู โจนส์ |
|
dc.contributor.advisor |
Puangchompoo Jones |
|
dc.contributor.author |
Pharnet Phorn |
|
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
|
dc.date.accessioned |
2025-03-16T06:43:37Z |
|
dc.date.available |
2025-03-16T06:43:37Z |
|
dc.date.issued |
2006 |
|
dc.identifier.uri |
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3713 |
|
dc.description |
ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2549 |
en |
dc.description.abstract |
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในหลักการบริหารว่า ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จและการเจริญเติบโตขององค์การ คือ ความสามารถของบุคลากรในองค์การนั้นๆ การที่องค์การจะสามารถกระตุ้นให้บุคลากรแสดงความสามารถและศักยภาพอันสูงสุดในการทำงานออกมาได้ย่อมขึ้นอยู่กับการสร้างแรงจูงใจขององค์การต่อบุคลากรให้มีขวัญและกำลังใจในการทำงานได้มากเท่าใด อีกทั้งทรัพยากรบุคคลนั้นจัดได้ว่าเป็นทรัพยากรเพียงอย่างเดียวที่ไม่มีค่าการเสื่อมราคายิ่งผ่านประสบการณ์การทำงานมากเท่าใด ยิ่งเป็นทรัพยากรที่มีมูลค่าเพิ่มต่อองค์การมากขึ้นเท่านั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้มี 4 ประการหลักๆ คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์ของบุคลารกในองค์การซึ่งปฏิบัติงานให้กับผู้รับเหมาช่วงให้กับบริษัทเดลค้าฯ 2) เพื่อศึกษาทัศนคติและความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานที่มีต่อการจัดการในด้านต่างๆขององค์การ 3) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและไม่พอใจในการปฏิบัติงานและ 4) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่สร้างความไม่พึงพอใจในการปฏิบัติงานในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานกลุ่มตัวอย่างที่ปฏิบัติงานในบริษัทผู้รับเหมาช่วงให้กับบริษัทเดลต้าฯ จำนวน 5 บริษัท มีจำนวนพนักงาน 316 คน จากพนักงานทั้งหมด 1,493 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยคาถาม 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 เป็นข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับทัศนคติและความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานผู้รับเหมาช่วงให้กับ บจม. เดลต้าฯ ในด้านสุขลักษณะและสิ่งแวดล้อมขององค์กร ด้านบริหารการจัดการ และด้านปฏิบัติการ และส่วนที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาองค์กรการวิเคราะห์ได้ใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ใช้ค่าร้อยละ ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในกาพรรณนาข้อมูล ส่วนการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้น และตัวแปรตาม ผู้วิจัยได้มีการใช้ตัวสถิติไคสแดวร์ (Chi-Square) ที่ระดับนัยสำคัญหรือค่าอัลฟา 0.05 สำหรับวิธีการประมวลผเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลนั้น ผู้วิจัยได้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นหลัก โดยใช้โปรแกรม SPSS 13.0 for Windows ควบคู่กับโปรแกรม Minitab Statistical Analysis และทำการสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ข้อมูลทั่วไปของพนักงาน ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงานปัจจุบัน อัตราเงินเดือน และระยะเวลาปฏิบัติงานในองค์กร ไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติและความพึงพอใจในการทำงาน ส่วน อายุ และบริษัทที่พนักงานกำลังทำงานอยู่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติและความพึงพอใจในการทำงานในองค์กรเกี่ยวกับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานรวมทั้ง 3 ด้านหลักๆ ได้แก่ ด้านสุขลักษณะและสิ่งแวดล้อมขององค์กร ด้านบริหารการจัดการ และด้านปฏิบัติการ พบว่า พนักงานมีทัศนคติและความพึงพอใจในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาทัศนคติและความพึงพอใจในการทำงานแต่ละด้านพบว่า ทัศนคติและความพึงพอใจต่อด้านปฏิบัติการมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด ส่วนทัศนคติและความพึงพอใจต่อด้านสุขลักษณะและสิ่งแวดล้อมขององค์กรได้รับคะแนนเฉลี่ยต่ำสุดลำดับของความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานในทุกด้าน (เป็นรายช้อ) โดยเรียงจากคะแนนเฉลี่ยสูงสุดไปถึงต่ำสุดได้ดังนี้ 1) ระบบการปฏิบัติการทั่วไป 2) ด้านการวางแผนกำลังคน 3) ด้านสวัสดิการ 3) ทัศนคติเกี่ยวกับความพึงพอใจในสภาพแวดล้อมในการทำงาน 5) น้ำดื่มที่บริษัทจัดบริการให้กับพนักงาน 6) ความมีอิสระในการปฏิบัติงาน 7) ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่และความมั่นคงในการทำงาน 8) ห้องน้ำที่บริษัทจัดบริการให้กับพนักงาน 9) ด้านการรับคนเข้าทำงาน 10) ด้านการฝึกอบรมและพัฒนา 11) โรงอาหารที่บริษัทจัดบริการให้กับพนักงาน 12) ด้านค่าจ้าง และ 13) ห้องพยาบาลที่บริษัทจัดบริการให้กับพนักงานปัญหาที่ต้องการการปรับปรุงแก้ไขที่พนักงานต้องการการปรับปรุงแก้ไขเร่งด่วนมากที่สุด ด้านสุขลักษณะและสิ่งแวดล้อมขององค์กร คือ การปรับปรุงโรงอาหาร ด้านการบริหารจัดการขององค์กร คือ ค่าจ้างและสวัสดิการ และด้านการปฏิบัติการขององค์กร คือ การแก้ไขปัญหาในภายในองค์กรผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ทำให้เข้าใจในเรื่อง่ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานผู้รับเหมาช่วงให้กับ บมจ. เดลค้าฯ และทราบถึงสาเหตุของความพึงพอใจในการทำงาน อันมีผลต่อการตั้งใจในการทำงานและมีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้บริหารในองค์กรผู้รับเหมาช่วงให้กับ บมจ. เดลต้าฯ เอง นำผลการวิจัยในครั้งนี้ไปทำการปรับปรุง แก้ไขต่อไป |
en |
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
en |
dc.rights |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
en |
dc.subject |
ความพอใจในการทำงาน |
en |
dc.subject |
Job satisfaction |
en |
dc.subject |
การจูงใจในการทำงาน |
en |
dc.subject |
Employee motivation |
en |
dc.subject |
สภาพแวดล้อมการทำงาน |
en |
dc.subject |
Work environment |
en |
dc.subject |
การจูงใจ (จิตวิทยา) |
en |
dc.subject |
Motivation (Psychology) |
en |
dc.subject |
ลูกจ้าง -- ทัศนคติ |
en |
dc.subject |
Employees -- Attitudes |
en |
dc.title |
ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานผู้รับเหมาช่วงให้กับ บมจ. เดลต้าฯ |
en |
dc.title.alternative |
Employee's Satisfactions toward Working in Delta's Sub-Contractors |
en |
dc.type |
Independent Studies |
en |
dc.degree.name |
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต |
en |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en |
dc.degree.discipline |
บริหารธุรกิจ |
en |