dc.contributor.advisor |
มณฑล สรไกรกิติกูล |
|
dc.contributor.advisor |
Monthon Sorakraikitikul |
|
dc.contributor.author |
ปรารถนา คงทอง |
|
dc.contributor.author |
Pratthana Kongthpng |
|
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
|
dc.date.accessioned |
2025-03-16T08:57:21Z |
|
dc.date.available |
2025-03-16T08:57:21Z |
|
dc.date.issued |
2008 |
|
dc.identifier.uri |
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3721 |
|
dc.description |
การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2551 |
en |
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนงานของพนักงานบริษัท คาม่าร่วมทุน จำกัด 2) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนงานจำแนกตามข้อมูลพื้นฐานของพนักงานบริษัท คาม่าร่วมทุนจำกัด และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงาน ความพึงพอใจในการทำงานกับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงงานของพนักงานบริษัท คาม่าร่วมทุน จำกัด
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม โดยสอบถามกลุ่มพนักงานบริษัท คาม่า ร่วมทุน จำกัด จำนวนทั้งสิ้น 235 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/FW โดยใช้ค่าสถิติได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency Distribution) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าสถิติ t-test (Independent Sample t-test) ค่าสถิติ f-test (One-way ANOVA) และค่าสถิติ Pearson Product Moment Correlation Coefficient ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษา พบว่า พนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อยู่ในสถานภาพโสด ลักษณะที่พบมากที่สุด คือ อายุ 26-30 ปี จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ทำงานในตำแหน่งงานฝ่ายสำนักงาน มีอายุการทำงาน 1 ปีหรือน้อยกว่า และมีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 8,000 บาท พนักงานมีการปฏิบัติงานในด้านค่าตอบแทน สภาพการทำงาน ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน โดยภาพรวมในระดับปานกลาง (x̄ = 3.61) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพนักงานในการเปลี่ยนงานด้านความสำเร็จในการทำงาน การได้รับการยอมรับ ลักษณะงานที่ทำ ความก้าวหน้าในอาชีพ และความรับผิดชอบโดยภาพรวมในระดับปานกลาง (x̄ = 3.23) และมีความพึงพอใจในการทำงานในระดับปานกลาง (x̄ =3.26) นอกจากนี้พนักงานยังให้ข้อเสนอแนะมากที่สุด คือ สวัสดิการต่างๆ เช่น ชุดฟอร์ม อาหาร รถรับส่ง การเบิกค่ารักษาพยาบาล ค่าที่พัก เงินเกษียณอายุ ควรมีให้มากกว่านี้
ผลการทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่า 1) ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และรายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงงานแตกต่างกัน 2) การปฏิบัติงานในด้านค่าตอบแทน สภาพการทำงาน ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนงาน และ 3) ความพึงพอใจในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนงาน |
en |
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
en |
dc.rights |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
en |
dc.subject |
ความพอใจในการทำงาน |
en |
dc.subject |
Job satisfaction |
en |
dc.subject |
การจูงใจในการทำงาน |
en |
dc.subject |
Employee motivation |
en |
dc.subject |
การเคลื่อนย้ายแรงงาน |
en |
dc.subject |
Labor mobility |
en |
dc.subject |
ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง |
en |
dc.subject |
Construction industry |
en |
dc.subject |
อุตสาหกรรมการก่อสร้าง – ลูกจ้าง |
en |
dc.subject |
Construction industry – Employees |
en |
dc.title |
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนงานของพนักงานในธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง : กรณีศึกษา บริษัท คาม่าร่วมทุน จำกัด |
en |
dc.title.alternative |
Factors Effecting to the Changing of Job of Employees in Construction Sector : A Case Study of Kama Joint Venture Co., Ltd. |
en |
dc.type |
Independent Studies |
en |
dc.degree.name |
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต |
en |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en |
dc.degree.discipline |
บริหารธุรกิจ |
en |