Abstract:
การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความพึงพอใจของพนักงานในการทำงานกรณึศึกษาบริษัท สยามแก๊ส แอนด์ปิโตรเคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน)มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงานและเปรียบเทียบความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานบริษัทฯที่มีสถานภาพที่แตกต่างกันของตำแหน่งหน้าที่ และประสบการณ์การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีกรอบแนวความคิดในการวิจัยปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจของพนักงานในการทำงาน10 ด้าน ได้แก่ ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านการยอมรับนับถือด้านลักษณะของงาน ด้านความรับผิดชอบ ด้านความก้าวหน้าด้านนโยบายและการบริหารงาน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ด้านสภาพการทำงานด้านเงินเดือนและประโยชน์เกื้อกูล ตามทฤษฎีของ 2 ปัจจัยของเฮร์ซเบอร์กโดยมีตัวแปรอิสระประกอบด้วย เพศ วุฒิการศึกษา สถานภาพ ตำแหน่งและประสบการณ์ในการทำงาน จากพนักงาน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจำนวน 286 คนของพนักงานประจำทั้งหมด 1,000 คน กลุ่มตัวอย่างที่ได้ใช้วิธีการกำหนดตัวอย่างจากตาราง Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95และมีความคลาดเคลื่อนของการสุ่ม 0.05 และวิเคราะห์ค่าสถิติด้วยโปรแกรมSPSS ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าจำนวน ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ ค่าt-testผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นชาย คิดเป็นร้อยละ 53.8มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 80.4 มีสถานภาพ โสด ร้อละ 63.6ตำแหน่งงานระดับปฏิบัติการ ร้อยละ 81.4 ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำงานต่ำกว่า 3 ปี ร้อยละ 46.1ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานบริษัทสยามแก็วแอนด์ปิโตรเคมิคัลส์ จำกัด(มหาชน) มีค่า x̄ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งสองปัจจัยซึ่งปัจจัยด้านความสัมพันธํกับผู้บังคับบัญชามีมากที่สุด คือ มีค่า (x̄ =3.70) รองลงมาปัจจัยด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน มีค่า ( x̄ = 3.60)พนักงานที่มีประสบการณ์แตกต่างกันมีความพึงพอใจในการทำงานโดยรวมแตกต่างกันเมื่อพิจารณาพบว่า ผู้ที่มีประสบกาณ์ 5-10 ปีมีระดับความพอใจในปัจจัยค้ำจุน และปัจจัยกระตุ้นมากมีค่า x̄ ปัจจัยค้ำจุนคือ 3.879 และปัจจัยกระตุ่น คือ 3.829ซึ่งมีค่ามากกว่าผู้ที่มีประสบการณ์การทำงาน 3-5 ปี ทั้งสองปัจจัย