จากประสบการณ์ของผู้ศึกษาซึ่งเป็นหัวหน้าทีมปฏิบัติงนในศูนย์หัวเฉียวพิทักษ์ชีพแลดูแลรับผิดชอบผู้ป่วย พบว่าบุคลากรที่ออกปฏิบัติงานในการช่วยเหลือผู้ป่วยภายนอกโรงพยาบาล ยังขาดแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองภายนอกโรงพยาบาล การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวปฏิบัติในการวินิจฉัยและจัดการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองภายนอกโรงพยาบาลตั้งแต่จุดเกิดเหตุในรถพยาบาล จนถึงจุดส่งต่อห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลต่างๆ ด้วยวิธีการสังเคราะห์วิจัยจำนวน 21 เรื่อง และเอกสารที่เกี่ยวข้อง นำมาสังเคราะห์และเขียนเป็นแนวปฏิบัติในการวินิจฉัยและจัดการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองภายนอกโรงพยาบาล ระยะเวลาในการศึกษาระหว่างเดือนมิถุนายน-เดือนตุลาคม พ.ศ. 2549ผลการศึกษาได้แนวปฏิบัติดังนี้ (1) แนวปฏิบัติการวินิจฉัยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองภายนอกโรงพยาบาล ประกอบด้วย การประเมินขั้นต้น โดยการซักประวัติ การตรวจร่างกายขั้นต้น การช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้น การประเมินผู้ป่วยด้วย Cincinnati Prehospital Stroke Scale และรักษาเบื้องต้นภายนอกโรงพยาบาล (2) แนวปฏิบัติการจัดการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองภายนอกโรงพยาบาลโดยมีแนวปฏิบัติตั้งแต่ (2.1) แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองบนรถพยาบาล (2.2) แนวปฏิบัติในการพิจารณาศักยภาพของโรงพยาบาลในการรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (2.3) แนวปฏิบัติในการบันทึกการดูแลผู่ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตั้งแต่ภายนอกโรงพยาบาลจนถึงจุดส่งต่อห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลข้อเสนอแนะ ควรมีการสร้างความเข้าใจและให้ความรู้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องก่อนนำแนวปฏิบัติไปใช้ และควรมีการนำแนวปฏิบัตินี้ไปทดลองใช้ ประเมินผลและแก้ไขปรับปรุงให้สามารถปฏิบัติในสถานการณ์จริงในแต่ละพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
The purpose of this study was established the clinical practice guideline for diagnosis and management including on scene, in ambulance, all through emergency room in hospital. The methodology was synthesized by 21 researches and related literature review being the clinical practice guideline for diagnosis and management during June-October 2006.The results found (1) The clinical practice guideline for diagnosis in stroke patients of pre-hospital included primary assessment with history examination, primary physical examination, basic first aid, assessment with Cincinnati prehospital stroke scale guideline and primary medical care on scene. (2) The clinical practice guideline for management in stroke patients of pre-hospital included (2.1) clinical practice guideline in ambulance (2.2) clinical practice guideline for considering ability’s hospital stroke patients (2.3) clinical practice guideline for recording in stroke patients from pre-hospital to emergency room in hospitals.Recommendation: The understanding and knowledge in clinical practice guideline could be preparing teams before application. The essential application could be trial and evaluated clinical practice guideline being appropriate in real situations with effectiveness.