Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและศึกษารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานคร การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาโดยใช้วิธีการสำรวจด้วยการออกแบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยงที่วัดพระแก้วจำนวนทั้งสิ้น 385 คน เมื่อได้รับแบบสอบถามกลับมาจึงรวบรวมและนำไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนา อันได้แก่การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 บุคคลของกลุ่มตัวอย่างมีกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายะ 19-25 ปี 26-35 ปี ต่ำกว่า 18 ปี 36-45 ปี 46 ปี ขึ้นไปตามลำดับ ประกอบอาชีพนักเรียน/นักศึกษามากที่สุด รองลงมา คือ อาชีพรับราชการหรือรัฐวิสาหกิจ อาชีพลูกจ้างหรือพนักงานเอกชน อาชีพธุรกิจส่วนตัวหรือค้าขาย และพนักงาน/ลูกจ้างในหน่วยงานราชการตามลำดับ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วงต่ำกว่า 5,000 บาท มากที่สุด รองลงมาคือรายได้ 5,001-10,000 บาท รายได้ 10,001-15,000 บาท รายได้ 15,001-20,000 บาท รายได้ 20,001-25,000 บาท ตามลำดับ และกลุ่มตัวอย่างมีสถานภาพ โสดมากที่สุด รองลงมามีสถานภาพสมรสแล้ว และสถานภาพหม้ายหรือหย่าร้างหรือแยกกันอยู่
ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการท่องเที่ยวที่กลุ่มตัวอย่างมีการเลือกมากที่สุด คือ เพื่อการศึกษา รองลงมา คือ เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรม เพื่อเที่ยวชมมรดกทางวัฒนธรรมและเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ รูปแบบการท่องเที่ยวที่กลุ่มตัวอย่างเลือกวิธีมากที่สุด คือ การกำหนดด้วยตนเอง และซื้อแพกแกจทัวร์จากบริษัททัวร์ตามลำดับ แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนเลือกมากที่สุด คือ ครอบครัวและอินเทอร์เน็ตเท่ากัน รองลงมา คือ บริษัทนำเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อน/เพื่อนร่วมงานและโทรทัศน์เท่ากัน และไม่มีการหาข้อมูล ลักษณะการเดินทางที่กลุ่มตัวอย่างเลือกมาที่สุด คือ กลุ่มเพื่อน รองลงมา คือ ครอบครัวและไปคนเดียว ค่าใช้จ่ายในการเดินทางเลือกมากที่สุด 2,001-3,000 บาท รองลงมา คือมากกว่า 3,001 บาท น้อยกว่า 1,000 บาท และ 1,001-2,000 บาทตามลำดับ รายการท่องเที่ยวที่กลุ่มตัวอย่างเลือกมากที่สุด คือ การเที่ยวชมพระบรมมหาราชวังและวัดพระแก้ว รองลงมา คือ การเที่ยวชมวัดไตรมิตร วัดโพธิ์ และวัดเบญจมบพิตร การเที่ยวชมเมือง (รวมทั้งซื้อของที่ระลึก) การเที่ยวชมวิถีชีวิตริมน้ำหรือตลาดน้ำ การเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ/สปาแบบไทย
ผลการศึกษา พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมนั้น กลุ่มตัวอย่างให้ระดับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์และบริการในระดับมาก ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านราคาในระดับมาก ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านช่องทางการจัดจำหน่ายในระดับมาก ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านส่งเสริมการตลาดในระดับมากปัจจัย ส่วนประสมทางการตลาดด้านบุคลากรในระดับมาก ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านกระบวนการให้บริการในระดับมาก ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภาพและคุณภาพในระดับมาก และกลุ่มตัวอย่างให้ระดับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านลักษณะทางกายภาพของกรุงเทพฯ และวัดพระแก้วในระดับมาก