dc.contributor.advisor |
ณัฎฐ์ษา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา |
|
dc.contributor.advisor |
Nuttsa Sanitvong Na Ayuttaya |
|
dc.contributor.author |
พระสุพจน์ นุ่มแทน |
|
dc.contributor.author |
Supot Numtan |
|
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
|
dc.date.accessioned |
2025-04-13T09:40:17Z |
|
dc.date.available |
2025-04-13T09:40:17Z |
|
dc.date.issued |
2003 |
|
dc.identifier.uri |
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3799 |
|
dc.description |
สารนิพนธ์ (สส.ม) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546 |
en |
dc.description.abstract |
การวิจัยเรื่อง บทบาทของพระสงฆ์ในการอบรมจริยธรรมแก่พุทธศาสนิกชน : ศึกษาเฉพาะพระสงฆ์ภาคกลาง ในธรรมวินัยเป็นหลักธรรมที่สำคัญที่สุดสำหรับพุทธศาสนิกชนโดยเฉพาะพระสงฆ์ซึ่งเป็นข้อบัญญัติเพื่ออุดหนุนค้ำจุนวิจยของพระสงฆ์ในความเจริญงอกงามของข้อวัตรปฏิบัติในการดำรงพระศาสนา อีกทั้งให้ความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมนั่นก็คือ ศีล สมาธิ และปัญญา เป็นแก่นแท้ของการเจริญไตรสิกขาที่ถูกต้องตามหลักกระบวนการของพุทธศาสนิกชน แต่กระแสสังคมสมัยใหม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อความเจริญรุ่งเรื่องพระศาสนา โดยมีจุดเน้นในการสร้างจุดแข็งทำให้เกิดค่านิยมเป็นสิ่งงดงามที่สำคัญ คือ บุญนิยม วัตถุนิยม ทุนนิยมและจิตนิยม นำไปสู่ในความเป็นเอกลักษณะทางวัฒนธรรมอันดีงาม เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสังคมอย่างบริบูรณ์ไปโดยตลอด
ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวิธีการเชิงสำรวจ (Survey Research) ใช้แบบสอบถาม ในการเก็บข้อมูล เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการอบรมจริยธรรมแก่พุทธศาสนิกชน : ศึกษาเฉพาะพระสงฆ์ภาคกลาง จำนวน 384 รูป และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC เพื่อศึกษาสถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 20-30 ปี อยู่ในช่วงพรรษา 1-5 มีการศึกษาฝ่ายโลก ระดับมัธยมศึกษา/ปวช. การศึกษาฝ่ายปริยัติธรรม ระดับนักธรรมชั้นเองและส่วนใหญ่ไม่ได้ศึกษาฝ่ายธรรมบาลี จำพรรษาวัดประเภทปริยัติธรรมฝ่ายธรรม
ในการปฏิบัติกิจวัตรของพระสงฆ์ พบว่า การปลงอาบัติอยู่ในลำดับแรก ส่วนรองลงมาการกวาดลานวัดลานเจดีย์ การพิจารณาปัจเวกขณ์ การขวนขวายเรียนธรรมวินัย การทำวัตรและสวดมนต์ไหว้พระ การอุปฏฐากอุปัชฌาย์อาจารย์ การเอาใจใส่กิจสงฆ์ การบริหารสิ่งของและร่างกาย การดำรงตนให้น่าไหว้ การบิณฑบาต เป็นต้น
ส่วนพื้นฐานแก่นแท้ของหลักธรรม ด้านการปฏิบัติตามหลักศีล สมาธิ ปัญญา อยู่ในระดับปานกลาง
บทบาทในการอบรมจริยธรรมแก่พุทธศาสนิกชน ในแนวสังคมสมัยใหม่พบว่า ที่ให้ความเชื่อถือเห็นว่า บุญนิยมอยู่ลำดบที่แรก รองลงมา วัตถุนิยม ทุนนิยมและจิตนิยมอันดับท้ายสุด
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านพื้นฐานทางพระพุทธศาสนากิจวัตรของพระสงฆ์ และบทบาทในการอบรมจริยธรรมแก่พุทธศาสนิกชนพบว่า
1. การปฏิบัติตามศีล สมาธิ ปัญญา มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามกิจวัตรของพระสงฆ์ทุกข้อ และการมีบทบาทในการอบรมจริยธรรมทุกบทบาท
2. พระสงฆ์ที่มีบทบาทในการอบรมจริยธรรมตามหลักบุญนิยมจะมีการปฏิบัติกิจวัตรสูงในด้าน ขวนขวายเรียนธรรมวินัย การทำวัตรและสวดมนต์ไหว้พระ การพิจารณาปัจเวกขณ์ การดำรงตนให้น่าไหว้ การอุปฏฐากอุปัชฌาย์อาจารย์ การบริหารสิ่งของและร่างกาย การกวาดลานวัด ลานเจดีย์ เอาใจใส่กิจของสงฆ์
3. พระสงฆ์ที่มีบทบาทในการอบรมจริยธรรมตามหลักวัตถุนิยมจะมีการปฏิบัติกิจวัตรสูงในด้านการทำวัตรและสวดมนต์ไหว้พระ การบริหารสิ่งของและร่างกาย เอาใจใส่กิจของสงฆ์ การอุปฏฐากอุปัชฌาย์อาจารย์ การกวาดลานวัด ลานเจดีย์ การดำรงตนให้น่าไหว้ การพิจารณาปัจเวกขณ์ การบิณฑบาต
4. พระสงฆ์ที่มีบทบาทในการอบรมจริยธรรมตามหลักทุนนิยมจะมีการปฏิบัติกิจวัตรสูงในด้าน การดำรงตนให้น่าไหว้ การบริหารสิ่งของและร่างกาย ขวนขวายเรียนธรรมวินัย การทำวัตรและสวดมนต์ไหว้พระ การพิจารณาปัจเวกขณ์ การกวาดลานวัด ลานเจดีย์ การอุปฏฐากอุปัชฌาย์อาจารย์ เอาใจใส่กิจของสงฆ์
5. พระสงฆ์ที่มีบทบาทในการอบรมจริยธรรมตามหลักจิตนิยมจะมีการปฏิบัติกิจวัตรสูงในด้าน การบริหารสิ่งของและร่างกาย การดำรงตนให้น่าไหว้ การพิจารณาปัจเวกขณ์ การทำวัตรและสวดมนต์ไหว้พระ ขวนขวายเรียนธรรมวินัย การอุปฏฐากอุปัชฌาย์อาจารย์ การบิณฑบาต
จากผลการวิจัย ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะได้ว่า สถาบันที่เกี่ยวข้องทางพระพุทธศาสนา กรมการศาสนา ที่ได้รับผิดชอบตรวจดูความสงบเรียบร้อยและควรมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในด้านพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับสมณสารรูปของพระสงฆ์ ซึ่งได้แก่องค์กรศาสนา วัดพุทธสถาน สำนักสงฆ์ ฯลฯ
โดยเฉพาะระดับผู้นำภายในวัด (เจ้าอาวาส) ควรให้ความสำคัญต่อกิจวัตรที่พระสงฆ์ต้องปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด โดยต้องมีมาตรการกำกับอย่างเข้มงวดเพื่อแก้ไขพฤติกรรมของพระสงฆ์ ขณะนี้สังคมได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วควรมีการพัฒนาแนวทางที่ดีต่อพุทธศาสนิกชน ให้มีความเข้าใจเพื่อเป็นที่พึ่งที่นับถือและศรัทธาต่อพระสงฆ์ ควรละดระดับการพัฒนาวัตถุและหันมาพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เกิดสันติสุขตลอดไป |
en |
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
en |
dc.rights |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
en |
dc.subject |
สงฆ์ -- ไทย (ภาคกลาง) |
en |
dc.subject |
Buddhist monks – Thailand, Central |
en |
dc.subject |
จริยธรรม – การศึกษาและการสอน |
en |
dc.subject |
Ethics – Study and teaching |
en |
dc.subject |
พุทธศาสนิกชน – ไทย |
en |
dc.subject |
Buddhists – Thailand |
en |
dc.subject |
สงฆ์กับการพัฒนาสังคม |
en |
dc.subject |
Buddhist monks and social development |
en |
dc.title |
บทบาทของพระสงฆ์ในการอบรมจริยธรรมแก่พุทธศาสนิกชน : ศึกษาเฉพาะพระสงฆ์ในภาคกลาง |
en |
dc.title.alternative |
Monks' Roles in Moral Teaching : A Study of Monksin Central Part of Thailand |
en |
dc.type |
Independent Studies |
en |
dc.degree.name |
สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต |
en |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en |
dc.degree.discipline |
การบริหารสังคม |
en |