การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความเชื่อด้านสุขภาพต่อ การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงร่วมกับโรคเบาหวานที่อาศัยในชุมชนบ้านมะเกลือ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพ ประกอบด้วยการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่า CVI ของแบบสอบถาม 0.70 - 0.87 และนำไปทดสอบได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบัคเท่ากับ .78 .86 .84 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t-test
ผลการวิจัยพบว่า หลังการใช้โปรแกรมส่งเสริมความเชื่อด้านสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง และพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (t=4.54, p=.00 ; t=2.72, p=.011 ; t=2.66, p=.013 และ t=3.98, p=.00)
The research aimed to examine the effects of health belief promotion programs on health perception and stroke prevention behavior in the elderly hypertension with diabetes mellitus. Thirty samples were the elderly with hypertension and diabetes mellitus who lived in Banmakae Subdistrict, Maung District, Nakhon Sawan Province. The tools used in this research were a series of health belief promotion programs, It consists of a questionnaire on the perceived susceptibility of stroke, perceived severity of stroke, perceived benefits of stroke prevention behaviors, and stroke prevention behaviors. The content validity was evaluated by 3 experts. The questionnaires' CVI values were between .70 – .87 and Cronbach’s alpha coefficient was .78 .86 .84 .82 respectively. The data were analyzed by means, Standard deviation, and paired t-test. The results showed that after using the health belief promotion programs. The sample had a perceived risk of stroke, perceived severity of stroke, and perceived benefits of stroke preventive behaviors and the behaviors were significantly higher there before the experiment. (t=4.54, p=.00; t=2.72, p=.011; t=2.66, p=.013 and t=3.98, p=.00)