การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการเกิดแผลที่เท้าของเกษตรกรที่เป็นโรคเบาหวานในศูนย์สุขภาพชุมชน โดยประยุกต์รูปแบบการพัฒนาแนวปฏิบัติจากหลักฐานเชิงประจักษ์ของศูนย์การปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงของประเทศสหรัฐอเมริกา (Soukup. 2000) เริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์สาเหตุจากการทบทวนปัญหาในการปฏิบัติงานและปัญหาจากความรู้ใหม่ๆ
การดำเนินงานสร้างแนวปฏิบัติ โดยการค้นหาหลักฐานเชิงประจักษ์ ด้วยการกำหนดคำสำคัญเพื่อสืบค้นข้อมูล ได้งานวิจัยที่เกี่ยวข้องจำนวน 17 เรื่อง จากนั้นนำงานวิจัยที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ทีละเรื่อง แล้วสร้างข้อสรุปในภาพรวมของความรู้ที่ได้จากงานวิจัยร่วมกับการบูรณาการองค์ความรู้จากตำรา และเอกสารที่เกี่ยวข้อง จนได้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการเกิดแผลที่เท้าของเกษตรกรที่เป็นโรคเบาหวานในศูนย์สุขภาพชุมชน ซึ่งประกอบด้วยแนวปฏิบัติการพยาบาล 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการเกิดแผลที่เท้าของเกษตรกรที่เป็นโรคเบาหวานสำหรับพยาบาลในศูนย์สุขภาพชุมชน ซึ่งประกอบด้วยแผนการให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลเท้า 5 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการดูแลรักษาความสะอาดของผิวหนัง 2.
ด้านการตรวจเท้าเพื่อค้นหาความผิดปกติ 3. ด้านการป้องกันการเกิดแผลที่เท้า 4. ด้านการส่งเสริมการไหลเวียนเลือด และ 5. ด้านการดูแลรักษาบาดแผล ระยะที่ 2 แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการเกิดแผลที่เท้าของเกษตรกรที่เป็นโรคเบาหวาน สำหรับพยาบาลที่เยี่ยมบ้าน ประกอบด้วย
การติดตามเยี่ยมเพื่อให้ความรู้อย่างมีแบบแผนแก่ผู้ป่วยทุกรายเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลเท้าทั้ง
5 ด้าน และการติดตามเยี่ยม เพื่อให้ความรู้ตามระดับความเสี่ยงในการเกิดแผล แนวปฏิบัติการพยาบาลได้รับการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน จากนั้นผู้ศึกษาได้นำไปให้พยาบาลในศูนย์สุขภาพชุมชนทดลองใช้กับเกษตรกรที่เป็นโรคเบาหวาน จำนวน 4 ราย ผลการศึกษา พบว่า
เกษตรกรที่เป็นโรคเบาหวานและครอบครัวมีความพึงพอใจในการให้บริการของพยาบาลวิชาชีพและสถานบริการในเรื่องการดูแลเท้า เพื่อป้องกันการเกิดแผล การติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยและครอบครัว
ยังให้ข้อคิดเห็นว่าการได้รับคำแนะนำจากพยาบาลและการติดตามเยี่ยม เพื่อให้คำแนะนำต่อที่บ้านทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีความเข้าใจ และสามารถดูแลเท้าได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้ ควรจัดให้มีการอบรมแก่พยาบาลในศูนย์สุขภาพชุมชน ในเรื่องการตรวจเท้าผู้ป่วยโรคเบาหวาน และควรจัดหาอุปกรณ์ เพื่อใช้ตราวจประเมินระดับความเสี่ยงในการเกิดแผลที่เท้า แนวปฏิบัติในส่วนของการประเมินผู้ป่วยควรปรับให้กระชับ และใช้เวลาน้อยลง คู่มือการดูแลสุขภาพเท้า ควรมีภาพประกอบให้ชัดเจน และควรนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพของศูนย์สุขภาพชุมชนในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
The purpose of this study was to develop a clinical nursing practiceguideline for preventing foot ulcer among diabetic in primary careunit. Evidence based practice model by the center for advance nursingpractice evidence-based practice model was applied as framework forthis clinical nursing practice guideline (Souku,, 2000).The study began with analyzing problems arising from actual nursingpractice experience and the latest knoledge. The clinical nursingpractice guideline was proceeded by dcorching relevant evidences. Withdefining keyword, there were seventeen related literatures. Afterthat, Each evidence was analyzed ans synthesized in order to determinethe CNPG for preventing of foot ulcer among diabetic farmers atPrimary Care Unit. The CNPG consisted of two phased. The first phasewas the clinical nursing practice guideline for preventing foot ulceramong diabetic farmersm which developed for nurse at the primary careunit. It consisted of education plan related to foot care behaviorssuch as care for cleanliness of the skin, foot examination fordetecting abnormal symptoms, preventing for developing foot ulcer,promotion for blood circulation, and foot ulcer care. The second phasewas the clinical nursing practice guideline for preventing foot ulceramong diabetic farmers, which developed for home health nurses. Itconsisted of follow-up home visits to provide systematically knowledgerelated to foot care behaviors and follow-up home visits to provideknowledge due to the degree of risk to have ulcer. The CNPG wasvalidated by three experts. Then it had been applied for disbeticfarmers at Primary Health Care Center.This study found that the diabetic farmers families were satisfiedwith the care provider by professional nurses primary health carecenter due to foot care for preventing foot uler. They also had betterunderstanding in having better care for their fact from knowledgegiven on home visits.Training nurse at the primary care unit regard to foot examination fordiabetic patients was suggested in this study. Also providing properequipment to assess the degree of risk to have foot ulcer had beenrecommended. However, the part of patient assessment in this CNPGshould be concise and spend in a short period of time. The manual forfoot care should have picture demonstration clearly. Finally part ofthis CNPG should furthermore integrate the CNPG as a part of acontinuing quality care development for the diabetic at primary careunit.