การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนสังคมไทยที่ปรากฏในเรื่องสั้นรางวัลกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ และเพื่อวิเคราะห์ปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหาสังคมไทยในเรื่องสั้นที่ได้รับรางวัลกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ โดยศึกษาวิเคราะห์เรื่องรางวัลกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ปี 2559-2564 จำนวน 7 เล่ม และนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ผลการวิจัยพบว่า เรื่องสั้นรางวัลกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ได้แสดงให้เห็นถึงภาพสะท้อนสังคมไทย 4 ด้าน ได้แก่ 1) สภาพชีวิตความเป็นอยู่ ที่อยู่อาศัยของคนไทยในชนบทและในเมืองมีความแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อม อาชีพในชนบทจะมีการพึ่งพาอาศัยสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ อาชีพในเมืองจะมีการพึ่งพาแรงงาน และความสามารถเฉพาะทางบางอย่าง เช่น งานรับจ้าง ทำธุรกิจ พนักงาน ค้าขาย อาชีพอิสระ เป็นต้น เด็กในชนบทเล่นรวมกันเป็นกลุ่ม วิถีชีวิตคนชายขอบ ได้แก่ กลุ่มคนชราที่ป่วย และกลุ่มคนต่างจังหวัดที่ต้องอยู่ห่างไกลจากครอบครัว การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนไทยในปัจจุบันต้องก้าวให้ทันการเปลี่ยนของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ลักษณะครอบครัวมีแบบเดี่ยว และแบบขยาย 2) วัฒนธรรม มีค่านิยมเกี่ยวกับการศึกษา การเลือกคู่ ชีวิตและครอบครัว มีความเชื่อเรื่องผี ของวิเศษ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ความตาย และพุทธศาสนา มีประเพณีไหว้บรรพบุรุษ ไหว้ผี และประเพณีท้องถิ่น 3) ความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคมไทย มีความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวที่ทั้งดีทั้งไม่ดีต่อกัน และความสัมพันธ์ระหว่างคู่รักที่รักกันมาก และห่างเหินกัน 4) คุณธรรมคนไทยที่มีความกตัญญู มีน้ำใจและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่นเรื่องสั้นรางวัลกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ได้แสดงให้เห็นถึงปัญหาสังคม และแนวทางแก้ไขปัญหาสังคม ได้แก่ 1) ปัญหาอาชญากรรม แก้ไขโดยแจ้งความที่สถานีตำรวจ ชดใช้ความเสียหาย ยอมรับผิด 2) ปัญหาครอบครัว แก้ไขโดยสมาชิกครอบครัวอดทน ให้อภัย เห็นอกเห็นใจ ให้ความรักความอบอุ่นต่อกัน และบางคนแก้ปัญหาโดยหนีออกจากปัญหา 3) ปัญหาสังคม แก้ไขโดยการตั้งใจเรียนเพื่อมีโอกาสทำงานที่ดี ผู้ปกครองปรึกษากับครูที่โรงเรียนดูแลเอาใจใส่ลูกมากขึ้น และใช้การให้ความรู้เรื่องอันตรายจากสารเคมีเพื่อทำให้เกษตรกร เลิกใช้สารเคมีที่ทำลายสิ่งแวดล้อม
This research aims to analyze problems in Thai society and the solutions reflected in seven books of short stories awarded Khanokpong Songsomphan Prize, during 2016 – 2021. Research findings are reported as a descriptive analysis. The research finds four areas of Thai society reflected in short stories studied, as follows. 1) The living, residences of rural and urban people are different subjected to their environments; occupations of rural people depend on natural environment, while urban people work as workers, businesspersons, employees, merchants, freelancers, etc.; children in rural areas play group games; lives of the marginalize, including sick elders and rural people working apart from their families; the changing ways of life of Thai people adjusting to the changing technologies; and families of single and extended types. 2) Culture, namely values of education, choosing of spouses, and live and family; beliefs in ghost, magic, sacred objects, death, and Buddhism; traditions relating to worshipping of ancestors, spirits, and to the local. 3) Relationships of Thai people, between family members, both positive and negative ties; and lovers, both closed and alienated. 4) Morals, Thai people praise gratitude; compassion; and generosity.For social problems and solutions, the studied short stories reflect three areas, as follows. 1) Crimes, being solved by the police; compensations; and confession. 2) Family problems, being solved by toleration; forgiveness; empathy; love and warmth of family members; and running away from the problems in some cases. 3) Social problems, being solved by giving good care and education to children by parents and teachers; and acknowledging risks and harms of chemical substances to farmers for stopping using them and destroying the environment.