ในปัจจุบันความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น สำหรับจังหวัดสมุทรปราการ มีอัตราป่วยสูงทุกกลุ่มอายุ จากผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของจังหวัดสมุทรปราการ พบว่า ยังไม่มีการประเมินประสิทธิผลของการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล ในจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล จำนวน 92 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลที่รับผิดชอบงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและหัวหน้าสถานีอนามัย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบไคสแควร์ผลการวิจัย พบว่า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 55.3 มีอายุเฉลี่ย 36.9 ปี วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 74.1 ระยะเวลาที่รับผิดชอบงานเฉลี่ย 6.2 ปี แต่ละสถานีอนามัยมีจำนวนหมู่บ้านรับผิดชอบเฉลี่ย 6.8 หมู่บ้าน จำนวนประชากรอายุ 0-4 ปี เฉลี่ย 657.6 คน จำนวนประชากรอายุ 5-9 ปี เฉลี่ย 789.4 คน จำนวนประชากรอายุ 10-14 ปี เฉลี่ย 754.0 คน และมีจำนวนประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป เฉลี่ย 6,780.6 คน ระยะททางจากสถานีอนามัยถึงสำนักงาน/สาธารณสุขอำเภอ เฉลี่ย 8.9 กิโลเมตร และระยะทางจากสถานีอนามัยถึงโรงพยาบาลคู่สัญญาจัดบริการปฐมภูมิ (Contracting Unit For Primary Care : CUP) เฉลี่ย 10.6 กิโลเมตร การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ผลสมบูรณ์และมีประสิทธิผลดี ร้อยละ 59.8 ร้อยละ 60.0 ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้ให้ความเห็นว่า ทรัพยากรการบริหารด้านการเงินได้รับไม่เพียงพอ ร้อยละ 55.8 ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ที่ได้รับจัดสรรว่าเพียงพอและทันเวลา มีการปฏิบัติตามกระบวนการบริหารจัดการที่ดี ร้อยละ 100.0 เมื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ พบว่า สถานีอนามัยที่มีระยะทางใกล้กับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และ CUP การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกมีประสิทธิผลดี ในด้านทรัพยากรการบริหาร พบว่า แบบฟอร์มรายงานที่มีคุณภาพดดีคือ ง่าย และมีความครอบคลุม สามารถเก็บข้อมูล และรายงานผลได้ถูกต้อง ครบถ้วน ทำให้ประสิทธิผลของการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลดีตามไปด้วย และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลที่มีกระบวนการบริหารจัดการด้านการบริหารงานบุคคล และการควบคุมที่ดี ทำให้การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกมีประสิทธิผลดีเช่นกันข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ควรมีการอบรมความรู้เกี่ยวกับงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก หางบประมาณสนับสนุนจากแหล่งอื่น ให้การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์อย่างเพียงพอและทันเวลา ส่วนด้านกระบวนการบริหารจัดการ ควรมีการอบรมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลที่รับผิดชอบงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านต่างๆ เพื่อให้การปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกมีประสิทธิผลดียิ่งขึ้น
Dengue Hemorrhagic Fever has been spreading and increasing in severity in many countries. Samutprakarn province has high morbidity rate for all ages from this disease. An assessment of effectiveness on the dengue hemorrhagic fever prevention and control by sub-district health personnel in Samutprakarn province has not been undertaken. The objective of this study was to assess the effectiveness of dengue hemorrhagic fever prevention and control by 92 sub-district health personnel in Samutprakarn province. Questionnaires were used as a data collection tool. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation and Chi-square.Results of this study showed that most of the sub-district health personnel were male (55.3%) with and average age of 36.9 years and a bachelor degree in education (74.1%). They had an average of 6.2 years of work experience. On average, each sub-district health center was responsible for 6.8 villages, 657.6 population aged 0-4 years, 789,4 population ages 5-9 years, 754.0 population aged 10-14 years and 6,780.6 the population ages over 14 years. The average distance from sup-district health centers to district health center were 8.9 kilometers and from sup-district health centers to contracting unit for primary care (CUP) were 10.6 kilometers. The effectiveness of the program for dengue hemorrhagic fever prevention and control was 59.8%. About 60.0% of sub-district health personnel responded that the budget was insufficient and only 55.8% said the materials provided were sufficient. The management process was found to be 100.0% in efficiency. The overall distance from sub-district health to the district health centers and CUP and the quality of report for were associated with the effectiveness of the prevention and control program. Administrative process in staffing and controlling were also positively related to the effectiveness of dengue hemorrhagic fever prevention and control.From the study, it was recommended that there should be a training course to improve sub-district health personnel’s knowledge regarding dengue hemorrhagic fever prevention and control. Budgets and materials for sub-district health personnel use should be increased. There should also be some training to improve the management of skill of sub-district health personnels responsible for dengue hemorrhagic fever prevention and control so as to increase the effectiveness of sub-district health personnel in Samutprakarn Province.