การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์และพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการดูแลภาวะแทรกซ้อนที่เท้าของพระภิกษุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 โดยใช้กรอบแนวคิดการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของชูคัพบ (Soukup, 2000 : 301-309) สืบค้นด้วยหลักการ PICO และตรวจสอบความน่าเชื่อถือตามเกณฑ์ของมิวนิก และไฟล์เอาว์โอเวอร์ฮอล์ท (Melnyk and Fineout, 2005 : 11-16) ได้หลักฐานเชิงประจักษ์ที่นำไปใช้ได้ทั้งหมด 12 เรื่อง เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ ระดับ 1 จำนวน 5 เรื่อง ระดับ 2 จำนวน 2 เรื่อง ระดับ 3 จำนวน 1 เรื่อง และระดับ 5 จำนวน 4 เรื่อง ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล 1 ปี (มิถุนายน 2558 ถึงพฤษภาคม 2559) ผู้วิจัยนำข้อมูลจากการสังเคราะห์มาพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการดูแลภาวะแทรกซ้อนที่เท้าของพระภิกษุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ประกอบด้วย แนวทางในการค้นหาภาวะแทรกซ้อนที่เท้าและการจำแนกระดับความรุนแรง แบ่งเป็นความรุนแรงต่ำ ความรุนแรงปานกลาง ความรุนแรงสูง และความรุนแรงสูงมาก กลุ่มที่มีความรุนแรงปานกลาง เพิ่มการพยาบาลเรื่องการดูแลเท้า ผิวหนังและเล็บทุกวัน กลุ่มที่มีความรุนแรงสูงเพิ่มความเข้มงวดในการพยาบาลเรื่องการดูแลเท้าและการบริหารเท้า การเลือกรองเท้าที่มีความกว้างและความลึกพิเศษ ใช้แผ่นรองในรองเท้าที่หล่อเฉพาะเท้าหรือกายอุปกรณ์เสริมอื่นๆ กลุ่มที่มีความรุนแรงสูงมาก ต้องเข้มงวดเรื่องการดูแลเท้า และการสวมรองเท้าที่เหมาะสมตลอดเวลา รวมทั้งการประเมินชนิดและความรุนแรงของแผลการสอนและสาธิตการทำแผน เพื่อให้พระภิกษุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถดูแผลเบื้องต้นด้วยตนเอง ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการดูแลภาวะแทรกซ้อนที่เท้าของพระภิกษุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ในคลินิกเท้าเบาหวาน โรงพยาบาลสงฆ์ จำนวน 22 รูป พบว่า กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการดูแลเท้าที่มีภาวะแทรกซ้อนด้วยตนเอง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการเปรียบเทียบการตรวจสภาพเท้าเพื่อจัดลำดับความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนที่เท้าของพระภิกษุกลุ่มทดลองหลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการดูแลภาวะแทรกซ้อนที่เท้าพระภิกษุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า สภาพเท้าโดยรวมดีขึ้น กล่าวคือ สภาพผิวหนังชุ่มชื้นไม่แห้งแตก บาดแผลที่เท้าไม่ลุกลามมากขึ้น พระภิกษุบางรูปมีขนาดแผลเล็กลง เล็บไม่มีปัญหา การศึกษานี้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลพระภิกษุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เท้าและอาจมีการพัฒนาแนวปฏิบัติให้ทันสมัยด้วยองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับบริบทและการดำเนินชีวิตตามพระธรรมวินัยของพระภิกษุ
The purpose of this study were to developed try out nursing practice guideline in foot care for type II diabetes mellitus monk with foot complication. This study used the evidence-based practice model of Soukup (2000 : 301-309) as a conceptual framework, search for by using the PICO framework and investigated its reliability by Melnyk and Fineout-Overholt (2005 : 11-16). The totally of twevle evidence-based, can be divided five evidence-based in the first level, two evidence-based in the second level, one evidence-based in the thrid level and four evidence-based in the fifth level. The evidence were used to synthesize the practice guideline. Period used in collect data were a year, Jume 2015-May 2016. Result of the developing found that: The nursing practice guideline was developed from synthesis. This was composed of the way of searching, priority classification setting of severe problem, foot complication and nursing care. Using of research result, accessed and examined in consideration for priority setting of intensities. This intensities of foot complication can be divided in 4 levels the first level was low intensity, the second level was moderate intensity, the third level was high intensity and the last level was very high. The result of a try out nursing practice guideline for complication foot care, a sample of 22 type II diabetes mellitus monks with foot complication in foot clinic of Priest hospital shown that there were statically significance differences at 0.05 in behavior for complication foot care of monk with type II diabetes mellitus. This result of the study can be used a nursing practice guideline in foot care in typr II diabetes mellitus monk with foot complication