DSpace Repository

การศึกษาเปรียบเทียบการแก้ปัญหาวิกฤติทางการเงินของธนาคารกสิกรไทยและธนาคารทหารไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรรณราย แสงวิเชียร
dc.contributor.advisor Pannarai Saengwichian
dc.contributor.author พรศักดิ์ พิพัฒนวิไลกุล
dc.contributor.author Pornsak Pipattanavilaikul
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
dc.date.accessioned 2025-05-19T07:35:33Z
dc.date.available 2025-05-19T07:35:33Z
dc.date.issued 2002
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3863
dc.description ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2545 en
dc.description.abstract การจัดทำรายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการแก้ปัญหาวิกฤติทางการเงินของธนาคารกสิกรไทยและธนาคารทหารไทย โดยศึกษาจากผลการดำเนินงานของธนาคารกสิกรไทยและธนาคารทหารไทย ในช่วงก่อนและหลังการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจไทย โดยพิจารณาถึงอัตราส่วนทางด้านการเงินในกิจกรรมต่าง ๆ 4 ด้านด้วยกันคือ อัตราส่วนด้านสภาพคล่อง (Liquidity Ratio) อัตราส่วนด้านสัดส่วนเงินทุน (Leverage Ratio) อัตราส่วนด้านกิจกรรม (Activity Ratio) และ อัตราส่วนด้านความสามารถทำกำไร (Profitability Ratio) และความสามารถในการบริหารงานของธนาคารกสิกรไทยและธนาคารทหารไทย โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากรายงานผลการดำเนินงานของธนาคารกสิกรไทยและธนาคารทหารไทย ในช่วงระหว่างปี 2539-2543 และศึกษาผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจที่มีต่อธนาคารพาณิชน์ของไทยและการปรับตัวเพื่อรองรับวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น รวมทั้งเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาทางการเงินของธนาคารกสิกรไทยและธนาคารทหารไทยสรุปผลการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินของธนาคารกสิกรไทยและธนาคารทหารไทยในช่วงก่อนและหลังการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจไทย มี 4 ข้อ ดังนี้1) ด้านความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น จากปี 2539-2543 จะเห็นได้ว่า ธนาคารกสิกรไทยมีความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นได้ดีกว่าธนาคารทหารไทย แสดงว่า ธนาคารกสิกรไทยมีสภาพคล่องยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีในระดับหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะมีปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ก็ตาม แต่ธนาคารสามารถรักษาสภาพคล่องให้มีอย่างเพียงพอและรักษาเสถียรภาพในการดำเนินงาน จึงส่งผลให้สภาพคล่องยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่สำหรับธนาคารทหารไทยมีปัญหาสภาพคล่องทางการเงินจะต้องเร่งแก้ไขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และเพิ่มทุนของธนาคารอย่างเพียงพอ2) ด้านความสามารถในการก่อหนี้ ธนาคารกสิกรไทยและธนาคารทหารไทย มีอัตราส่วนหนี้สินสูงในระดับใกล้เคียงกัน แสดงถึงสัดส่วนทุนของธนาคารทั้งสองยังมีภาระหนี้สินสูง3) ด้านประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพยก์ จากการวิเคราะห์จะเห็นว่า ในปี 2539-2542 ธนาคารกสิกรไทยและธนาคารทหารไทย มีค่าติดลบ เนื่องจากธนาคารไม่สามารถเรียกเก็บหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ทำให้รายได้ของธนาคารลดลงไปอย่างมาก เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่ของธนาคารมาจากรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผล แต่ในปี 2543 ธนาคารกสิกรไทย มีค่าเป็นบวก อาจเป็นเพราะธนาคารได้ตั้งสำรองหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญไว้มีจำนวนเกินกว่าเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดและธนาคารยังมีกำไรจากการปริวรรตและกำไรจากการจำหน่ายเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น ส่วนธนาคารทหารไทยมีค่าติดลบ อาจเป็นเพราะธนาคารไม่สามารถเรียกเก็บหนี้ NPLs จากลูกหนี้ได้รวมทั้งต้องตั้งสำรองหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญไว้ตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดด้วย4) ด้านความสามารถในการทำกำไร ตั้งแต่ปี 2539-2542 ทั้งธนาคารกสิกรไทยและธนาคารทหารไทยมีความสามารถทำกำไรที่ลดลง เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างต่อเนื่องและปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เป็นจำนวนมาก เพราะรายได้หลักของธนาคารมาจากรายได้จากดอกเบี้ยงและเงินปันผล ทำให้ธนาคารประสบกับปัญหาในการทำกำไร แต่ในปี 2543 ธนาคารกสิกรไทยมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากธนาคารได้แก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ไปแล้ว และธนาคารมีรายได้จากการเพิ่มขึ้นของกำไรจากการจำหน่ายเงินลงทุนในหลักทรัพย์ รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ กำไรจากการปริวรรต ฯลฯ แต่สำหรับธนาคารทหารไทยมีค่าติดดลบเนื่องมาจาก ธนาคารมีปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เป็นจำนวนมาก รวมทั้งธนาคารต้องตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้ธนาคารไม่มีกำไรจากผลการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินของธนาคารกสิกรไทยและธนาคารทหารไทย จะเห็นได้ว่าธนาคารกสิกรไทย ควรแก้ไขด้านความสามารถในการก่อหนี้ ส่วนธนาคารทหารไทย ควรแก้ไขด้านความสามารถในการชำระหนี้สินระยะสั้น ด้านความสามารถในการก่อหนี้ ด้านประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ และด้านความสามารถในการทำกำไร เป็นต้น en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject ธนาคารและการธนาคาร -- ไทย en
dc.subject Banks and banking -- Thailand en
dc.subject วิกฤตการณ์การเงิน -- ไทย en
dc.subject Financial crises -- Thailand en
dc.subject วิกฤตการณ์การเงิน -- ผลกระทบจากนโยบายการเงิน en
dc.subject Financial crises -- Effect of monetary policy on en
dc.subject การจัดการธนาคาร en
dc.subject Bank management en
dc.subject การชำระหนี้ en
dc.subject Performance (Law) en
dc.subject การบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน en
dc.subject Asset-liability management en
dc.subject ธนาคารกสิกรไทย -- การเงิน en
dc.subject Thai Farmer Bank -- Finance en
dc.subject ธนาคารทหารไทย -- การเงิน en
dc.subject Thai Military Bank -- Finance en
dc.title การศึกษาเปรียบเทียบการแก้ปัญหาวิกฤติทางการเงินของธนาคารกสิกรไทยและธนาคารทหารไทย en
dc.title.alternative Comparison Study of the Financial Crisis Problem Solving between Thai Farmer Bank and Thai Military Bank en
dc.type Independent Studies en
dc.degree.name บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline บริหารธุรกิจ en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account