DSpace Repository

วิธีการปฏิบัติเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้กับบริษัทในกลุ่มฟอกหนัง ในจังหวัดสมุทปราการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor อภิชัย สายสดุดี
dc.contributor.advisor Apichai Saisadudee
dc.contributor.author พิเชฐ ชีวนันทชัย
dc.contributor.author Phichej Cheevanantachai
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
dc.date.accessioned 2025-05-19T09:13:08Z
dc.date.available 2025-05-19T09:13:08Z
dc.date.issued 2006
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3865
dc.description ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2549 en
dc.description.abstract อุตสาหกรรมเครื่องหนังและฟอกหนังเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย และเคยเป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมส่งออกสูงสุดของประเทศ มูลค่าส่งออกสูงถึงกว่า 70,000 ล้าน บาทต่อปี ก่อให้เกิดการจ้างงานประมาณ 500,000 คน กระจายอยู่ตามโรงงานและสถานประกอบการรวม 4,900 แห่ง เพื่อทำการผลิตและจำหน่ายหนังดิบ หนังฟอก หนังอัด กระเป๋า เข็มขัด รองเท้าหนังแท้ เฟอร์นิเจอร์แม้ว่าอุตสาหกรรมเครื่องหนังและฟอกหนังของไทยยังมีศักยภาพอยู่มาก แต่สินค้าของไทยเริ่มสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในตลาดทุกระดับ กล่าวคือ ในตลาดระดับบนไทยจะเสียเปรียบอิตาลีในเรื่องการออกแบบที่หลากหลายตามแฟชั่น การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ส่วนในตลาดระดับกลางลงมา ไทยเสียเปรียบจีนทางด้านต้นทุนการผลิต โดยรวม การขาดแคลนหนังดิบทั้งปริมาณและคุณภาพในประเทศ ทำให้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศส่งผลให้ต้นทุนของสินค้าสูงกว่าของประเทศคู่แข่ง เพราะหนังเป็นวัตถุดิบหลักมากกว่าร้อยละ 60 ของต้นทุนการผลิตรวมในการจัดทำแผนการศึกษาจะมุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมฟอกหนัง ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมกลางน้ำ เพื่อศึกษาหาวิธีการปฏิบัติจริงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับบริษัทในกลุ่มฟอกหนัง ในจังหวัดสมุทรปราการ ประกอบด้วยการศึกษาโครงสร้างและการเชื่อมโยงของอุตสาหกรรม สถานภาพของหน่วยผลิต การตลาดและการค้า ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาของอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องหนังไทยที่ยังมีศักยภาพ ให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น เพื่อให้แข่งขันได้ในตลาดโลก ส่วนอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังซึ่งเป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำนั้น เมื่ออุตสาหกรรมต้นน้ำมีการปรับปรุงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันแล้วอุตสาหกรรมปลายน้ำก็จะต้องมีเข้ามาช่วยต่อยอดทางธุรกิจในลักษณะของการจัดทำระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายวิสาหกิจอุตสาหกรรมเครื่องหนัง (จากข้อมูลการศึกษาโครงการจัดทำระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายวิสาหกิจอุตสาหกรรมเครื่องหนัง ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม และอัญมณีและเครื่องประดับ ของสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน และจากที่กล่าวมาทั้งหมดก็เป็นส่วนหนึ่งในการที่จะทำให้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมได้ที่กำหนดวิสัยทัศน์ไว้สำหรับอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังไทย คือ การเป็นผู้นำของเอเซียในอีก 10 ปีข้างหน้า หรือ “Asian Footwear & Leather Goods Center” หรือ “Thailand’s Leather Good: Italy of the East” ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ต่อเนื่องจากแนวนโยบายการพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางแฟชั่นของภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ได้ในอีก 3 ปีข้างหน้า (จากข้อมูลปี 2545) ซึ่งกำหนดขึ้นในรัฐบาลชุดนี้ สำเร็จบรรลุลุล่วงได้ en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject อุตสาหกรรมฟอกหนัง -- ไทย -- สมุทรปราการ en
dc.subject Tanning industry -- Thailand -- Samut Prakan en
dc.subject การแข่งขันทางการค้า en
dc.subject Competition en
dc.subject การพัฒนาอุตสาหกรรม en
dc.subject Industrialization en
dc.subject การฟอกหนัง en
dc.subject Tanning en
dc.subject โรงงานฟอกหนัง en
dc.title วิธีการปฏิบัติเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้กับบริษัทในกลุ่มฟอกหนัง ในจังหวัดสมุทปราการ en
dc.title.alternative Pragmatic Approaches for Competitive Improvement for Tanning Industry in Samutprakan Province en
dc.type Independent Studies en
dc.degree.name บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline บริหารธุรกิจ en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account