การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตในการมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในกลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล เครื่องมือประกอบด้วยโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตในการมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสม และแบบวัดทักษะชีวิตเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น = 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Wilcoxon Signes Ranks Test และ The Mann-Whitnet U Test ผลการศึกษาพบว่า ก่อนการทดลอง กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยทักษะชีวิตในการมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสม โดยรวมและรายด้านอยู่ระดับต่ำ และไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หลังการทดลอง และระยะติตตามผล กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยทักษะชีวิตในการมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมโดยรวมและรายด้านอยู่ระดับดี ส่วนกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยทักษะชีวิตในการมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมโดยรวมอยู่ระดับต่ำซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<.01 ผลการวิจัยเสนอแนะให้ครูหรือพยาบาลอนามัยโรงเรียนนำโปรแกรมนี้ไปใช้เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตในการมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมในนักเรียน
This quasi-experimental study has the objective to compare the results of using the life-skill program to promote the suitable sexusl behaviors of the students in Grade-1 Secondary School in the samples of twenty students and the control group of twenty students-before, after, and in the follow-up period of the program. The tool was composed of the life-skill program to promote the suitanle sexual behaviors and the life-skill test form with the confidence level of foot was 0.85. The data of the program usage were analyzed by Wilcoxon Signed Ranks Test and the Mann-Whitnet U-test. It is found from the results that, before the study, the experimental group and the control group had the low means of life skills for the suitable sexual behaviors in the overview and individual parts with no statistical significance. After the program and the follow-up period, the sample group had the good mean of life skills for the suitable sexual behaviors in the overview and individual parts, whilc the control group had the low mean of life skills for the suitable sexual behaviors in the overview part with the statistical significance of p<.01. The research reults suggested that the participatory learning program to promote the suitable sexual behaviors be passed on to the teacher to be used as a learning activity in health education and physical education.