ผลการวิจัยด้านปัญหาการจัดการเรียนการสอนวรรณคดีไทย พบว่า ผู้เรียนไม่ได้เกลียดหรือไม่ชอบเนื้อหาในวรรณคดีไทย แต่เบื่อหน่ายการเรียนการสอนวรรณคดีไทย เนื่องจากครูสอนอ่านเอาเรื่อง ให้ท่องจำคำศัพท์ สอนโดยไม่เชื่อมโยงเนื้อหากับชีวิตประจำวันของผู้เรียน การแก้ปัญหาการเรียนการสอนวรรณคดี ควรให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะความคิด การกระตุ้นให้ผู้เรียนฝึกตั้งคำถาม การเล่นเกม การแสดงบทบาทสมมุติ การฝึกคิดแก้ปัญหาแทนตัวละคร การเชื่อมโยงเนื้อหาในอดีตมาสู่ชีวิตจริงในปัจจุบัน การวิเคราะห์วิจารณ์ภาษา เนื้อหา คุณค่าในวรรณคดีผลการวิจัยด้านการวิเคราะห์หาแนวทางการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทยผ่านรูปแบบสื่อประสม พบว่า ผลการคัดเลือวรรณคดีไทยที่จะนำไปทำสื่อประสม จำนวน 6 เรื่อง ได้แก่ นิราศภูเขาทอง พระอภัยมณี ลิลิตตะเลงพ่าย มัทนะพาธา ขุนช้างขุนแผน สังข์ทอง โดยมีข้อเสนอแนะเพื่อนำไปจัดทำสื่อประสมและเทคนิคการนำเสนอ ด้วยการวาดภาพตัวละคร การถ่ายทำวีดิทัศน์ การเล่นเกม จัดทำการ์ตูนเอนิเมชั่นภาพเคลื่อนไหว ภาพกราฟิก การนำสื่อภาพยนตร์ ละครเวที ละครโทรทัศน์ บางตอนมาประกอบในสื่อประสม การอัดเสียงบรรยาย สนทนา การอ่านบทกลอนเป็นร้อยแก้ว ปัจจัยที่ส่งผลให้การจัดทำสื่อประสมวรรณคดีไทยประสบความสำเร็จคือ การให้ความสำคัญกับการจัดทำ storyboard และเนื้อหาวรรณคดีไทยทั้ง 6 เรื่อง เป็นอย่างมาก ตรวจแก้ไข และให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไขอย่างละเอียดมากเพื่อให้สื่อประสมที่จัดทำสามารถสื่อเรื่องราววรรณคดีไทยที่สามารถพัฒนาผู้เรียนด้านการเรียนรู้คุณค่าด้านสุนทรียศาสตร์ คุณค่าด้านสังคม และคุณค่าด้านคติธรรม ได้อย่างลึกซึ้งตามแนวคิดสำคัญของวรรณคดีไทยทั้ง 6 เรื่องผลการวิจัยด้านการจัดทำสื่อประสมสำหรับการเรียนรู้คุณค่าวรรณคดีไทย พบว่า ขั้นตอนการจัดทำสื่อประสม คือ 1) เขียน storyboard 2) ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจ story board 3) แก้ไข story board 4) ประชุมฝ่ายเนื้อหากับฝ่ายจัดทำสื่อประสม 5) รวบรวม resource เพื่อใช้จัดทำสื่อประสม เช่น การวาดภาพตัวละคร การถ่ายทำวีดิทัศน์ การเล่นเกม จัดทำการ์ตูนเอนิเมชั่นภาพเคลื่อนไหว ภาพกราฟิก การนำสื่อภาพยนตร์ ละครเวที ละครโทรทัศน์ บางตอนมาประกอบในสื่อประสม การอัดเสียงบรรยาย สนทนาม การอ่านบทกลอนเป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง 6) จัดทำสื่อประสมวรรณคดีไทย 6 เรื่อง 7) ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสื่อประสมวรรณคดีไทย 6 เรื่อง พระอภัยมณี 8) แก้ไขสื่อประสมวรรณคดีไทย 6 เรื่อง จนเสร็จสมบูรณ์ ผลการประเมินคุณภาพสื่อประสมทั้ง 6 เรื่อง อยู่ในระดับดีมากสามารถนำไปใช้จัดการเรียนการสอนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยได้ต่อไปผลการวิจัยด้านการนำสื่อประสมการเรียนรู้คุณค่าวรรณคดีไทยไปพัฒนาผู้เรียน พบว่า การนำสื่อประสมวรรณคดีไทยทั้ง 6 เรื่อง ไปจัดการเรียนการสอนกับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตอนปลาย นักศึกษาไทยและชาวต่างชาติที่เรียนสาขาวิชาเอกภาษาไทยในมหาวิทยาลัย พบว่า บทเรียนสื่อประสมการเรียนรู้คุณค่าวรรณคดีไทยมีประสิทธิภาพ 87.67/89.20 ซึ่งสอดคล้องเป็นไปตามสมมุติฐาน ข้อ 1 และผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนรู้คุณค่าวรรณคดีไทยผ่านสื่อประสม หลังการเรียนรู้มีประสิทธิภาพสูงกว่าก่อนการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องเป็นไปตามสมมุติฐาน ข้อ 2จากผลการวิจัยดังกล่าวข้างต้นนี้ จึงสรุปได้ว่า การนำบทเรียนสื่อประสมการเรียนรู้คุณค่าวรรณคดีไทยไปใช้จัดการเรียนการสอน มีประสิทธิภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐานและมีความแตกต่างทางนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ระหว่างก่อนและหลังการใช้บทเรียนสื่อประสม ทั้งนี้เนื่องจากกระบวนการสร้างสื่อประสมการเรียนรู้คุณค่าวรรณคดีไทยในงานวิจัยชิ้นนี้ มีกระบวนการที่ให้ความสำคัญกับการสำรวจปัญหาและความต้องการของผู้เรียนก่อน จากนั้นมีการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญด้านการสอนวรรณคดีไทย จนได้เนื้อหา และกลวิธีสำคัญอันจะนำไปสู่การจัดการเรียนการสอนวรรณคดีได้ตรงตามที่หลักสูตรต้องการ และได้มีการประชุมคณะทำงานด้านการสร้างสื่อประสมที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีการศึกษาและด้านวรรณคดีไทยมาช่วยกันบูรณาการศาสตร์ทั้งสองเข้าด้วยกันจนได้สื่อประสมการเรียนรู้คุณค่าวรรณคดีไทยที่มีประสิทธิภาพ และแตกต่างจากสื่อเทคโนโลยีด้านวรรณคดีประเภทอื่น ๆ คือ เน้นที่การเรียนรู้คุณค่าวรรณคดีไทย 3 คุณค่า ได้แก่ คุณค่าด้านสุนทรียศาสตร์ คุณค่าด้านสังคม และคุณค่าด้านคติธรรม จึงทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วรรณคดีไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Research on the development of learning values of Thai literature through mixed media have purposes are 1) To analyze problems in teaching and learning Thai literature 2) To analyze and find a way to manage Thai literature through multimedia 3) T0 create a multimedia for learning the value of Thai literature 4) To apply the multimedia to learn about the value of Thai literature to develop learners. By using various research methods according to the research objective. Including High school students interview and higher education students Thai Language Department. Focus group experts in Thai literature to find ways to manage Thai literature through multimedia. Multimedia creation. Using multimedia to try and develop learners. The research results on problems of teaching and learning Thai literature were found that students did not dislike contents of Thai literature but felt bored of teachers’ teaching styles focusing on reading comprehension and memorizing vocabulary without relating the stories to learners’ daily life. In order to solve the problems, the focus of teaching should be on improving learners’ skills of thinking, asking questions, creating games or activities, performing role-plays, solving problems of characters, relating stores in the past to nowadays lives, and analyzing or criticizing stories and values in the studied literature. The research results in analyzing the approaches of Thai literature learning management through a multimedia were found that the results of the selection of Thai literature to be used for multimedia is six classical Thai literatures, which were Niras Phukhaootong; Pra Apaimanee; Lilit Talaengpai; Muttanapatha; Khunchang Khunphan; and Sangthong. The multimedia suggested to be created were; drawings of characters; videos making; electronic games; animated cartoons; moving pictures; graphic pictures; adding parts of films, stage dramas, or television drama in the teaching media; audio recordings; conversations; and reading proses of the poetry. Factors making the created multimedia efficient were the focus on storyboard and the content of the six literature. Also, the careful reviews and suggestions made the completed media very effective, which motivated learners to be aware of aesthetic, social, and moral values of the six literature. The results of the research on the preparation of multimedia for learning the value of Thai literature were found that Processes of developing the multimedia were: 1) writing scripts and drawing storyboards; 2) storyboards were checked by scholars; 3) reviewing storyboards; 4) discussions between content writers and media producers; 5) gathering of resources for media production drawing characters; video filming; games designing; animation cartoon making; graphic designing; collecting of related motion pictures, state performances, and television dramas for parts supporting; and sound making, including narrations, conversations, and prose and poetry chanting; 6) multimedia production of the six classical Thai literature; 7) reviewing of the multimedia by scholars; and 8) revising of the multimedia and the completion media. The results of the evaluation of the quality of all 6 multimedia media were at a very good level as teaching materials for schools and universities.For the application of multimedia for learning values of Thai literature to develop learners three secondary schools and students majoring in Thai language from three universities, participated the application. The result was found that the efficiency of the multimedia drills and exercises was 87.67/89.20, respectively, according to the first assumption. For the achievement of learning through the multimedia, the post-test score was significantly higher than the pre-test at 0.05 statistic level, according to the second assumption.From the above findings, it was possibly assumed that the application of multimedia, and its drills and exercises, for learning values of Thai literature in classes was efficient and standardized, the pre-test and post-test scores were significantly differed at 0.05 statistic level. This was consequently from the processes of the creation of the multimedia which focused on surveying of problems and requirements of learners. Then, group discussion with experts on teaching literature were held for scoping contents and methodology responding to the required syllabus. Lastly, the educational technology experts, multimedia creators, and literature teachers integrated their sciences in working groups. As a result, the efficient and unique multimedia for learning values of Thai literature, focusing on three values, aesthetic; social and moral, was created for efficient learning of Thai literature.