Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อวิทยุโทรทัศน์ด้านการสื่อสารเพื่อการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก และเพื่อนำสื่อวิทยุโทรทัศน์ด้านการสื่อสารเพื่อการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ไปเผยแพร่แก่เยาวชน ผลการวิจัยพบว่า
ตอนที่ 1 การพัฒนาสื่อวิทยุโทรทัศน์ด้านการสื่อสารเพื่อการใช้ประโยชน์จากการวิจัยด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก การนำงานวิจัยของ สกว. 2 เรื่อง ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก มาเป็นเนื้อหาสำคัญในการสร้างสื่อวิทยุโทรทัศน์ โดยกำหนดสื่อวิทยุโทรทัศน์ออกเป็น 4 ตอน ดังนี้
ตอน 1 อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
ตอน 2 วิถีชีวิตที่ยั่งยืนตามรอยปราชญ์แห่งแผ่นดิน (วิถีชีวิตเกษตรพอเพียงหมู่บ้านร่องกล้า)
ตอน 3 วัฒนธรรมม้ง หมู่บ้านร่องกล้า
ตอน 4 วิถีชีวิตบ้านห้วยน้ำไซ (การอยู่ร่วมกันของชาวม้ง หมู่ 15, 16 และชาวไทย หมู่ 17)
ค่าเฉลี่ยผลการประเมินคุณภาพสื่อวิทยุโทรทัศน์ของทั้ง 4 ตอน อยู่ในระดับมาก (4.14)
ตอนที่ 2 การนำสื่อวิทยุโทรทัศน์ด้านการสื่อสารเพื่อการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ไปเผยแพร่แก่เยาวชน
กลุ่มที่ 1 เยาวชนในพื้นที่อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนพื้นที่ ตำบลเนินเพิ่ม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโก จำนวน 3 โรงเรียน สรุปผลประเมินการรับรู้อยู่ในระดับมากที่สุด (4.53)
กลุ่มที่ 2 เยาวชนนอกพื้นที่อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 3 โรงเรียน สรุปผลประเมินการรับรู้อยู่ในระดับมากที่สุด (4.51)
กลุ่มที่ 3 เยาวชนชาวต่างชาติที่เข้ามาศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย ได้แก่ นักศึกษาชาวจีนที่เข้ามาศึกษาหลักสูตรภาษาไทยในประเทศไทย จำนวน 3 แห่ง สรุปผลประเมินการรับรู้อยู่ในระดับมากที่สุด (4.53)
ตอนที่ 3 การเผยแพร่การใช้ประโยชน์จากงานวิจัยสู่สาธารณชนในวงกว้าง ได้แก่ กลุ่มหน่วยงานในพื้นที่และท้องถิ่น เช่น อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า บ้านใหม่ร่องกล้า กลุ่มสื่อสารมวลชน เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จังหวัดพิษณุโลก สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 11 จังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ กลุ่มเครือข่ายวิชาการ เช่น สถานอารยธรรมศึกษาโขงมหาวิทยาลัย สาลวินนเรศวร และสื่อสังคมออนไลน์