DSpace Repository

ความต้องการบุคลากรด้านโลจิสติกส์ ภายหลังการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558

Show simple item record

dc.contributor.advisor พวงชมพู โจนส์
dc.contributor.advisor Puangchompoo Jones
dc.contributor.author รอง พิริยะพิทยา
dc.contributor.author Rong Piriyapitaya
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
dc.date.accessioned 2025-07-04T09:04:26Z
dc.date.available 2025-07-04T09:04:26Z
dc.date.issued 2013
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/4257
dc.description การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (บริหารธุกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2556 en
dc.description.abstract การศึกษาความต้องการบุคลากรด้านโลจิสติกส์ ภายหลังการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปี พ.ศ. 2555-2558 เป็นการศึกษาเชิงพยากรณ์ถึงความต้องการแรงงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ที่มีความสัมพันธ์กับค่าจ้าง สต็อกทุนของอุตสาหกรรม มูลค่าการค้าระหว่างประเทศรวมราคาน้ำมันและผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์เป็นข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) รายปี ระหว่างปี พ.ศ. 2544-2554 รวมระยะเวลา 11 ปี โดยเก็บข้อมูลจากอินเทอร์เนตและหน่วยงานราชการ ได้แก่ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรวมถึงเอกสารการวิจัยวิทยานิพนธ์ รายงานวารสาร และบทความต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่มีผล่อความต้องการบุคลากรด้านโลจิสติกส์และเพื่อให้ทราบถึงจำนวนความต้องการบุคลากรที่ทำงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ปี พ.ศ. 25555-2558 รวมถึงคุณสมบัติที่จำเป็นของบุคลากรด้านโลจิสติกส์ด้วย วิธีดำเนินการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยครั้งนี้ จะเป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความต้องการแรงงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์กับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ ข้อมูลจำนวนผู้มีงานทำ ค่าจ้าง สต็อกทุน มูลค่าการค้าระหว่างประเทศรวม ราคาน้ำมันและผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ โดยการใช้แบบจำลองการถดถอยพหุเชิงซ้อน (MULTIPLE REGRESSION METHOD) ประมาณค่าด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบกำลังสองน้อยที่สุด (ORDINARY LEAST SOUARES-OLS) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม สามารถทำได้โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติ ในการสร้างสมการถดถอยเพื่อหาค่าความสัมพันธ์ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์พหุ (R) และค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R SQARE) จนให้สมการโมเดลที่เหมาะสมที่สุด จากนั้นจึงนำสมการโมเดลมาพยากรณ์เป็นความต้องการแรงงานในปี พ.ศ. 2555-2558 ผลการศึกษาพบว่า สด็อกทุน มูลค่าการค้าระหว่างประเทศรวม ราคาน้ำมันดีเซลมีความสัมพันธ์กับความต้องการแรงงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในทิศทางตรงข้าม กล่าวคือ เมื่อสด็อกทุน มูลค่าการค้าระหว่างประเทศรวม ราคาน้ำมันดีเซล มีค่าเพิ่มขึ้นขึ้นร้อยละ 1 จะส่งผลให้ปริมาณความต้องการแรงงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ลดลงร้อยละ 0.635, 0.015 และ 4.933 ตามลำดับ ในขณะที่ ค่าจ้างมีความสัมพันธ์กับความต้องการแรงงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในทิศทางเดียวกัน นั่นคือเมื่อค่าจ้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะส่งผลให้ปริมาณความต้องการแรงงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.177 ส่วนของการพยากรณ์ความต้องการแรงงานในปี พ.ศ. 25555-258 นั้น พบว่า ค่าพยากรณ์ความต้องการแรงงานของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ คือ 1.034 ล้านคน 1.031 ล้านคน 1.029 ล้านคน และ 1.026 ล้านคน ตามลำดับ เมื่อพิจารณาจากจำนวนแรงงานในสาขาโลจิสติกส์ที่สำรวจได้ในปี 2554 เท่ากับ 0.94 ล้านคน เท่ากับประเทศไทยยังต้องพัฒนาจำนวนแรงงานในสาขาโลจิสติกส์ ก่อนถึงปี พ.ศ. 2558 อีกราว 90,000 คน หรือเท่ากับ 22,500 คนต่อปี โดยเฉลี่ยรวมถึงปรับปรุงใน ส่วนปัจจัยด้านคุณภาพของแรงงานที่ยังขาดความรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญด้านมนุษย์และสังคม เช่น ภาษาอังกฤษ จิตวิทยา การสื่อสารและการบริการ ด้านการบริหารธุรกิจ เช่น บัญชี การตลาด กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น e-Commerce, GIS/GPS Tracking, RFID, EDI ด้านเทคโนโลยีวิศวกรรม เช่น การขับขี่ยานพาหนะ เทคโนโลยีการขนถ่ายสินค้า เทคโนโลขีการบรรจุหีบห่อ และรวมถึงลักษณะส่วนบุคคลที่ส่งผลถึงงานด้านการบริการ เช่น ความเอาใจใส่ ความนอบน้อม และใจรักในงานบริการ en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. en
dc.subject ASEAN Economic Community en
dc.subject การบริหารงานโลจิสติกส์ en
dc.subject Business logistics en
dc.subject ความต้องการแรงงาน en
dc.subject อุปทานแรงงาน en
dc.subject Labor supply en
dc.subject อุปสงค์แรงงาน en
dc.subject Labor demand en
dc.title ความต้องการบุคลากรด้านโลจิสติกส์ ภายหลังการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 en
dc.title.alternative Need of Labor in Logistics Area after ASEAN Economic Community in 2015 en
dc.type Independent Studies en
dc.degree.name บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline บริหารธุรกิจ en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account