Abstract:
การศึกษาในครั้งนี้ ได้ศึกษารูปแบบส่งเสริมการท่องเที่ยวเส้นทางแห่งศรัทธาปัญจปูชนียสถานของจังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้รูปแบบการสื่อสารทางการตลาด ที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว ทำการสอบถามเกี่ยวกับเหตุผลในการเลือกรูปแบบการท่องเที่ยวแบบต่อเนื่อง ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นหญิง คิดเป็นร้อยละ 58.1 มีอายุในช่วง 21-30 ปี ร้อยละ 43.9 และมีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 60.8 โดยส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 49 และประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน คิดเป็น ร้อยละ 63.6 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000-20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 59.7 ด้านการรับรู้สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรปราการ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวรู้จักพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ รองลงมา คือ เมืองโบราณ บางปู และวัดอโศการาม ตามลำดับ ด้านรูปแบบการสื่อสารการตลาดที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับสถานที่ มากที่สุด ได้แก่ การให้ข่าวและประชาสัมพันธ์ โดยการบอกต่อจากคนรู้จัก รองลงมา คือ จากการโฆษณาตามป้ายโฆษณารถโมบาย และจากเอกสารประกอบการท่องเที่ยว เช่น โบรชัวร์ ในด้านความสนใจเกี่ยวกับโปรแกรมการท่องเที่ยวแบบต่อเนื่อง พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่สนใจเส้นทางที่ 1 รองลงมา คือ เส้นทางที่ 3 และเส้นทางที่ 2 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาจากเหตุผลในการเลือกรูปแบบการท่องเที่ยวแบบต่อเนื่อง กลุ่มตัวอย่างสนใจความงดลามทางสถาปัตยกรรมและพุทธศิลปะ รองลงมา คือ เป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาของจังหวัดสมุทรปราการ และระยะเวลาการท่องเที่ยวที่ทำให้สามารถเที่ยวได้หลายสถานที่ในเวลาจำกัด