กลุ่มพนักงานศูนย์กระจายสินค้าเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 โดยเฉพาะพนักงานจัดเก็บและกระจายสินค้า เนื่องมาจากผู้บริโภคมีการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น ทําให้พนักงานมีการสัมผัสกับสินค้าจํานวนมากจากหลายที่มีทั้งในประเทศและต่างประเทศ การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและลดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ของพนักงานจัดเก็บและกระจายสินค้าของศูนย์กระจายสินค้าแห่งหนึ่งจํานวน 130 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้การป้องกันการติดเชื้อโควิด แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับโรคโควิด-19 แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของโรคโควิด-19 แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันและลดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.92, 0.68, 0.75 และ 0.91 ตามลําดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาสถิติการทดสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 76.92 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 25.633.64 ปี ร้อยละ 86.15 มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 88.46 มีทัศนคติเกี่ยวกับโรคโควิด-19 อยู่ในระดับดี ร้อยละ 97.69 มีการรับรู้ความรุนแรงของโรคโควิด-19 อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 98.46 มีพฤติกรรมการป้องกันและลดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 อยู่ในระดับดี พบอายุการทํางาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และการรับรู้ความรุนแรงของโรคโควิด-19 มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติกับพฤติกรรมการป้องกันและลดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 (r=.39, p<.01; r=.55,p<.01 และr=.29, p<.01ตามลําดับ) เพื่อให้พนักงานมีพฤติกรรมการป้องกันและลดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19เป็นประจําอย่างต่อเนื่องหน่วยงานจึงควรเฝ้าระวัง ตระหนัก และให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิด-19 แก่พนักงานต่อไป
Distribution center employees were another group at risk for COVID-19 infection, especially storage and distribution employees. As consumers are increasingly ordering products online, employees are being exposed to a large number of products from both domestic and international locations. This cross-sectional study aimed to study factors associated with preventingand reducing the spread of COVID-19 behaviors among storage and distribution employees at a distribution center. 130 employees participated in the study. The accidental sampling used in this research. The research instruments were the questionnaires about the knowledge of COVID-19 prevention, the attitudes toward COVID-19, the perceived severity of COVID-19, and the prevent and reduce the spread of COVID-19 behaviors which their reliabilities were .92, 68, .75 and .91 respectively. Data were analyzed by descriptive statistics, Chi-square test and Spearman rank correlation coefficient. The results indicated that 76.92% of the participants were females; the mean age was 25.63±3.64 years old, 86.15% had a high level of knowledge, 88.46% had a good level of attitude, 97.69% had a high level of perception disease severity, and 98.46% had a good level of behaviors. Behaviors to prevent and reduce the spread ofCOVID-19 were significantly positively correlated with the age of work, the average monthly income and the perception disease severity of the COVID-19 (r=.39, p<.01; r=0.55, p<.01 and r=.29, p<.01, respectively). To promote prevention and reduce the spread of the COVID-19 behaviors among employee, agencies should regular surveillance, awareness and provide information about the COVID-19.