Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/4286
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและลดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ของพนักงานจัดเก็บและกระจายสินค้าของศูนย์กระจายสินค้าแห่งหนึ่ง
Other Titles: Factors Associated with Behaviors to Prevent and Reduce the Spread of COVID-19 among Storage and Distribution Employees at a Distribution Center
Authors: วาสนา ศิลางาม
อุมารัตน์ ศิริจรูญวงศ์
วรรณา คงคารักษ์
นภัทร วังศรี
Wasana Silangam
Umarat Sirijaroongwong
Wanna Kongkarak
Napat Wangsri
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health
Keywords: ศูนย์กระจายสินค้า – พนักงาน
Distribution center – Employees
คลังสินค้า – พนักงาน
Warehouses – Employees
โควิด-19 (โรค)
COVID-19 (Disease)
การระบาดใหญ่ของโควิด-19, ค.ศ. 2020-
COVID-19 Pandemic, 2020-
โรคติดต่อ – การป้องกัน
Communicable diseases -- Prevention
Issue Date: 2025
Citation: วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและสุขภาวะ 29,1 (มกราคม-มิถุนายน 2568) : 88-101.
Abstract: กลุ่มพนักงานศูนย์กระจายสินค้าเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 โดยเฉพาะพนักงานจัดเก็บและกระจายสินค้า เนื่องมาจากผู้บริโภคมีการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น ทําให้พนักงานมีการสัมผัสกับสินค้าจํานวนมากจากหลายที่มีทั้งในประเทศและต่างประเทศ การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและลดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ของพนักงานจัดเก็บและกระจายสินค้าของศูนย์กระจายสินค้าแห่งหนึ่งจํานวน 130 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้การป้องกันการติดเชื้อโควิด แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับโรคโควิด-19 แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของโรคโควิด-19 แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันและลดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.92, 0.68, 0.75 และ 0.91 ตามลําดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาสถิติการทดสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 76.92 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 25.633.64 ปี ร้อยละ 86.15 มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 88.46 มีทัศนคติเกี่ยวกับโรคโควิด-19 อยู่ในระดับดี ร้อยละ 97.69 มีการรับรู้ความรุนแรงของโรคโควิด-19 อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 98.46 มีพฤติกรรมการป้องกันและลดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 อยู่ในระดับดี พบอายุการทํางาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และการรับรู้ความรุนแรงของโรคโควิด-19 มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติกับพฤติกรรมการป้องกันและลดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 (r=.39, p<.01; r=.55,p<.01 และr=.29, p<.01ตามลําดับ) เพื่อให้พนักงานมีพฤติกรรมการป้องกันและลดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19เป็นประจําอย่างต่อเนื่องหน่วยงานจึงควรเฝ้าระวัง ตระหนัก และให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิด-19 แก่พนักงานต่อไป
Distribution center employees were another group at risk for COVID-19 infection, especially storage and distribution employees. As consumers are increasingly ordering products online, employees are being exposed to a large number of products from both domestic and international locations. This cross-sectional study aimed to study factors associated with preventingand reducing the spread of COVID-19 behaviors among storage and distribution employees at a distribution center. 130 employees participated in the study. The accidental sampling used in this research. The research instruments were the questionnaires about the knowledge of COVID-19 prevention, the attitudes toward COVID-19, the perceived severity of COVID-19, and the prevent and reduce the spread of COVID-19 behaviors which their reliabilities were .92, 68, .75 and .91 respectively. Data were analyzed by descriptive statistics, Chi-square test and Spearman rank correlation coefficient. The results indicated that 76.92% of the participants were females; the mean age was 25.63±3.64 years old, 86.15% had a high level of knowledge, 88.46% had a good level of attitude, 97.69% had a high level of perception disease severity, and 98.46% had a good level of behaviors. Behaviors to prevent and reduce the spread ofCOVID-19 were significantly positively correlated with the age of work, the average monthly income and the perception disease severity of the COVID-19 (r=.39, p<.01; r=0.55, p<.01 and r=.29, p<.01, respectively). To promote prevention and reduce the spread of the COVID-19 behaviors among employee, agencies should regular surveillance, awareness and provide information about the COVID-19.
Description: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็ม (Full Text) ได้ที่ : https://he01.tci-thaijo.org/index.php/HCUJOURNAL/article/view/268885/187461
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/4286
Appears in Collections:Public and Environmental Health - Articles Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Factors-Associated-with-Behaviors-to-Prevent-and-Reduce-the-Spread-of-COVID-19 .pdf102.13 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.