dc.contributor.advisor |
จีรเดช อู่สวัสดิ์ |
|
dc.contributor.advisor |
Chiradet Ousawat |
|
dc.contributor.author |
รณฤทธิ์ พรหมสุวรรณ |
|
dc.contributor.author |
Ronnarit Promsuwan |
|
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
|
dc.date.accessioned |
2025-07-19T14:27:27Z |
|
dc.date.available |
2025-07-19T14:27:27Z |
|
dc.date.issued |
2001 |
|
dc.identifier.uri |
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/4320 |
|
dc.description |
ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2544 |
en |
dc.description.abstract |
ธนาคารพาณิชย์เป็นสถาบันการเงินที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างระบบทางการเงินของประเทศ รวมทั้งมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จากวิกฤตการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้น ในประเทศไทย ได้ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างอุตสาหกรรมของธนาคารพาณิชย์ไทยเป็นอย่างมาก ทำให้ธนาคารพาณิชย์ประสบกับปัญหารายได้ที่ลดลง และสภาวะขาดทุน สำหรับผลการศึกษาถึงผลการดำเนินงานของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) พบว่า ในช่วงตั้งแต่ปี 2540 รายได้ของธนาคารลดลงอย่างมาก และที่สำคัญรายได้ด้านดอกเบี้ย ที่ถือว่า เป็นรายได้หลักของธนาคารลดลงจากปี 2541 คิดเป็นร้อยละ 43.2 แต่ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการ ดำเนิน กลับลดลงเพียงร้อยละ 1.38 ดังนั้นธนาคาร ควรเพิ่มรายได้จากการให้สินเชื่อ ซึ่งถือเป็นราย ได้หลักของธนาคาร และพบว่าธนาคารไทยพาณิชย์เอง มีส่วนแบ่งตลาดสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วน บุคคล คิดเป็นร้อยละ 22.21% ซึ่งมีส่วนแบ่งมากที่สุดในอุตสาหกรรมของธนาคารพาณิชย์ไทย ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษามุ่งไปที่การขยายสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ประเภทสินเชื่อหมุนเวียน เนื่องจากธนาคารสามารถขยายฐานลูกค้าได้อีกจำนวนมาก เพราะเป็น วงเงินสินเชื่อสำหรับผู้ที่รับเงินเดือนผ่านธนาคาร มีทั้งข้าราชการ พนักงานรัฐวิสหกิจ และพนักงาน บริษัทเอกชน เพราะมีการขยายตัวของกลุ่มลูกค้าเพิ่มทุกปี และด้วยสินเชื่อประเภทนี้ ทำให้เกิด ความสูญเสียแก่ธนาคารน้อยมาก เพราะในการรับชำระหนี้ธนาคารสามารถหักจากบัญชีเงินเดือน โดยให้หน่วยงานของผู้กู้เป็นผู้หักชำระ รวมทั้งมีการค้ำประกันโดยใช้กองทุนสำรอง ใช้หลักทรัพย์ค้ำ ประกัน หรือบุคคลค้ำประกันได้ สำหรับการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้กำหนดกลยุทธ์ส่วนผสมทางการ ตลาด มาใช้ในการดำเนินงานของธนาคาร
1. ด้านผลิตภัณฑ์ โดยธนาคารมีการขยายการให้บริการสินเชื่อหมุนเวียน ด้วยกลยุทธ์สร้างความ แตกต่างในผลิตภัณฑ์ จากเดิมวงเงินสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท แต่ในปัจจุบันนี้ได้ขายวงเงินกู้ ถึง 500,000 บาท และรูปแบบการให้บริการมีความยืดหยุ่นทราบผลอนุมัติใน 1 ชั่วโมง 2. ด้านราคา มุ่งสร้างความพึงพอใจกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร โดยมีการปรับลดลงจากอัตรา ดอกเบี้ยเดิม 3. ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ธนาคารมุ่งเน้นไปที่สาขาของธนาคารทั้ง 478 สาขาสามารถ กระจายถึงกลุ่มเป้าหมายได้ 4. ด้านการส่งเสริมการขายและการโฆษณา เป็นการติดต่อสื่อสารเกี่ยวกับข้อมูลของสินเชื่อหมุน เวียน ระหว่างธนาคารกับกลุ่มลูกค้า ซึ่งธนาคารได้มีการประสานงานกับหน่วยงานต้นสังกัด ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย รวมถึงมีการเตือนความทรงจำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของธนาคาร จากแนวทางแก้ไขและดำเนินงานของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ซึ่งผู้ศึกษาคาด ว่าธนาคารจะมีวงเงินสินเชื่อหมุนเวียน เพิ่มขึ้นร้อยละ100 ซึ่งจากวงเงินกู้ในปี 2543 เท่ากับจำนวน 13.85 ล้านบาท หากขยายการให้บริการสินเชื่อหมุนเวียนการดังกล่าวอย่างเต็มความสามารถแล้ว จะมีรายได้เพิ่มขึ้นเท่ากับ 27.70 ล้านบาท เพราะยังมีกลุ่มลูกค้าเริ่มให้ความสนใจกับสินเชื่อหมุน เวียนดังกล่าวแล้วคาดว่าจะมาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น |
en |
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
en |
dc.rights |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
en |
dc.subject |
ธนาคารพาณิชย์ |
en |
dc.subject |
ธนาคารและการธนาคาร – ไทย |
en |
dc.subject |
Banks and banking – Thailand |
en |
dc.subject |
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) – การตลาด |
en |
dc.subject |
Siam-Commercial-Bank PCL. – Marketing |
en |
dc.subject |
สินเชื่อ |
en |
dc.subject |
Credit |
en |
dc.subject |
พฤติกรรมผู้บริโภค |
en |
dc.subject |
Consumer |
en |
dc.title |
การเพิ่มรายได้ของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) |
en |
dc.title.alternative |
Increasing the Revenues of Siam Commercial Bank, PCL. |
en |
dc.type |
Independent Studies |
en |
dc.degree.name |
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต |
en |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en |
dc.degree.discipline |
บริหารธุรกิจ |
en |