DSpace Repository

ผลของการฝึกสมาธิที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน : กรณีศึกษา ผู้เข้าอบรมหลักสูตรครูสมาธิ ณ สถาบันพลังจิตตานุภาพ สาขาที่ 6 วัดบางโฉลงใน ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิรัตน์ ทองรอด
dc.contributor.advisor Wirat Tongrod
dc.contributor.author รังสรรค์ ลีเบี้ยว
dc.contributor.author Rangsan Leebeaw
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
dc.date.accessioned 2025-07-20T05:15:18Z
dc.date.available 2025-07-20T05:15:18Z
dc.date.issued 2008
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/4324
dc.description การศึกษาอิสระ (บธ. ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2551. en
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาประโยชน์ของการฝึกสมาธิต่อการทำงานหรือกิจกรรมของแต่ละ บุคคลในแต่ละวัน โดยศึกษาจากประชาชนทั่วไปที่มาสมัครเข้าอบรมหลักสูตรครูสมาธิ ณ สถาบัน พลังจิตตานุภาพ สาขาที่ 6 วัดบางโฉลงใน ต.บางโฉลง อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ จำนวน 46 คน โดยเริ่มอบรมตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม 2550 ถึงวันอาทิตย์ที่ 2727 มกราคม 2551 รวมระยะเวลา 6 เดือน ผู้ตอบแบบสอบถามทุกคนอยู่ในช่วงท้ายของการอบรม เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามระหว่าง วันที่ 12 - 13 มกราคม 2551 ผู้ตอบแบบสอบถามเพศหญิงร้อยละ 65.2 เพศชายร้อยละ 34.8 อายุเฉลี่ย 40.91+10.31 ปี สถานภาพโสดร้อยละ 50.0 สมรสแล้วร้อยละ 45.7 การศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 60.9 รายได้ ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาทร้อยละ 50.0 อาชีพส่วนใหญ่เป็นลูกจ้าง /พนักงานเอกชนร้อยละ 50.0 รองมาประกอบอาชีพอิสระหรือธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 32.6 อายุการทำงานเฉลี่ย 12.18+9.199 ปี ส่วนใหญ่มีตำแหน่งระดับพนักงาน ด้านพฤติกรรมการฝึกสมาธิ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความสนใจ ในการฝึกสมาธิก่อนมาอบรมร้อยละ 89.1 เคยฝึกสมาธิมาก่อนตามแนวทางของศาสนาพุทธ ด้วยวิธี นั่งสมาธิและฝึกด้วยตนเอง ความรู้เกี่ยวกับการฝึกสมาธิก่อนมาอบรมระดับน้อยร้อยละ 46.7 ระดับ ปานกลางร้อยละ 33.3 ความถี่ในการเข้าอบรมอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 34.8 ความตั้งใจในการ เข้าอบรมอยู่ในระดับมากร้อยละ 43.5 และระดับมากที่สุดร้อยละ 32.6 ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึก สมาธิต่อครั้งเฉลี่ย 39.38+22.94 นาที ส่วนใหญ่ฝึกสมาธิก่อนเข้านอนและใช้ห้องนอนเป็นสถานที่ ฝึก ด้านผลของการฝึกสมาธิที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานรวม 48 ปัจจัย แบ่งเป็น 4 ด้านคือ ด้านการควบคุมอารมณ์ในระหว่างการทำงาน ด้านผลต่อจิตใจในการทำงาน ด้านการแสดงออก พฤติกรรมในที่ทำงาน และด้านประสิทธิภาพการทำงาน ใช้สถิติทดสอบคือ Mcnemartestผลการทดสอบสมมติฐาน ด้านการควบคุมอารมณ์ในระหว่างการทำงานในภาพรวมก่อนและหลังการฝึก สมาธิแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยด้านการควบคุมอารมณ์ในระหว่างการทำงานก่อนการฝึกผล ในระดับสูงมีค่าเท่ากับร้อย 10.9 และหลังการฝึกผลในระดับสูงเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 87.0 ผลด้าน จิตใจต่อการทำงานในภาพรวมก่อนและหลังการฝึกสมาธิแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยผลด้าน จิตใจต่อการทำงานในภาพรวมก่อนฝึกผลในระดับสูงเท่ากับร้อยละ 41.3 และหลังการฝึกเพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 91.3ด้านการแสดงออกพฤติกรรมในที่ทำงานในภาพรวมก่อนและหลังการฝึกสมาธิ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยการแสดงออกพฤติกรรมในที่ทำงานในภาพรวมก่อนฝึกผลใน ระดับสูงเท่ากับร้อยละ 41.3 และหลังการฝึกผลในระดับสูงเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 93.5 ด้าน ประสิทธิภาพการทำงานในภาพรวมก่อนและหลังการฝึกสมาธิแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดย ประสิทธิภาพการทำงานในภาพรวมก่อนการฝึกผลในระดับสูงเท่ากับร้อยละ 41.3 และหลังการฝึก ผลในระดับสูงเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 84.8 ซึ่งทั้งหมดมีค่า p-value< 0.05 อธิบายได้ว่า ภาพรวมในทุกๆด้าน ประสิทธิภาพในการทำงานก่อนฝึกสมาธิแตกต่างจากประสิทธิภาพในการทำงานหลังฝึก สมาธิอย่างมีนัยสำคัญ โดยภาพรวมหลังการฝึกสมาธิ ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 55.45 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการควบคุมอารมณ์ในระหว่างการทำงานในภาพรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 76.1 ผลด้านจิตใจต่อการทำงานในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.0 ด้านการแสดงออก พฤติกรรมในที่ทำงานในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.2 ด้านประสิทธิภาพการทำงานในภาพรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.5 โดยผลระดับสูง หมายถึง ผลของแต่ละด้านที่อยู่ในระดับดีและดีมาก สรุปได้ว่า การฝึกสมาธิมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการทำงานและการทำกิจกรรมต่างๆ ในแต่ ละวัน ส่งผลที่ดีต่อใจจิตและพฤติกรรมในที่ทำงาน ช่วยให้การทำงานของแต่และบุคคลมี ประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้สามารถทำงานจนบรรลุเป้าหมาย มีความรอบคอบ การตัดสินใจ ความ อดทน และทำงานเป็นขั้นเป็นตอนมากขึ้น มีจิตใจเข้มแข็งกล้าเผชิญกับอุปสรรค์ในการทำงาน ซึ่ง ส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร และอาจช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านทรัพยากรมนุษย์ เป็น เครื่องมือที่ผู้บริหารสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารและการจัดการในด้านทรัพยากรมนุษย์ ในองค์กรให้พนักงานของตนมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น และช่วยเป็นการส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรมและดูแลสุขภาพจิตให้กับคนในองค์กรของตน อันจะส่งผลให้ประสิทธิภาพทั่วทั้งองค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject การฝึกสมาธิ en
dc.subject การเข้าฌาน – พุทธศาสนา en
dc.subject Meditation – Buddhism en
dc.subject การทำงาน en
dc.subject Work en
dc.subject พฤติกรรมองค์การ en
dc.subject Organizational behavior en
dc.subject สมรรถนะ en
dc.subject Performance en
dc.subject อานาปานสติ en
dc.subject Ānāpānasmr̥ti en
dc.subject Anapanasmrti en
dc.title ผลของการฝึกสมาธิที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน : กรณีศึกษา ผู้เข้าอบรมหลักสูตรครูสมาธิ ณ สถาบันพลังจิตตานุภาพ สาขาที่ 6 วัดบางโฉลงใน ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ en
dc.title.alternative The Effectiveness of Meditation to Working Performance : A Case Study of Willpower Institute, Bangchalongnai Temple, Bangplee, Samutpraharn, Thailand en
dc.type Independent Studies en
dc.degree.name บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline บริหารธุรกิจ en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account