การศึกษาเรื่องการเปิดรับข้อมูลข่าวสารสุขภาพจากสื่อประชาสัมพันธ์ของโรงพยาบาลเอกชนและการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะประชากรของผู้รับบริการ พฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารสุขภาพจากสื่อประชาสัมพันธ์ของโรงพยาบาลกับการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจต่อรูปแบบและเนื้อหาข้อมูลข่าวสารสุขภาพจากสื่อประชาสัมพันธ์โรงพยาบาลเอกชนกับการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนที่มาใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร สุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น ด้วยวิธีการจับสลากเลือกเขตพื้นที่ และเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) ได้จำนวนตัวอย่าง 400 คน จากประชาชน 8 เขต เครื่องมือที่ใช้ศึกษาคือแบบสอบถามผ่านการทดสอบความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเคยได้รับข้อมูลข่าวสารสุขภาพจากสื่อป้ายประกาศและโปสเตอร์มากที่สุด และรับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อบุคคลโดยกลุ่มบุคลากรของโรงพยาบาลมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา จำนวนครั้งของการได้รับข้อมูลข่าวสาร ระยะเวลาที่เคยได้รับข่าวสารที่แตกต่างกัน ตัดสินใจใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนแตกต่างกัน และกลุ่มตัวอย่างที่เคยได้รับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อแผ่นพับ สื่อใบปลิวและผ่านญาติ พี่น้อง ตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกสารแตกต่างจากกลุ่มที่ไม่เคยได้รับข่าวสารจากสื่อดังกล่าว สำหรับความพึงพอใจต่อรูปแบบและเนื้อหาของสื่อประชาสัมพันธ์ในภาพรวมพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน
The study of patients' exposure to private hospitals' public realtion tools in Bangkok Metropolitan Area and their decision to choose the services of these hospital aimed to study these patients' demographics, their behaviours towards exposures to the hospitals' public realtions information and their decisions to choose the services of particular hospital and the study of the relationship between the patients' satisfaction with the forms and formats of the hospitals' health information and their decisions to choose the services of particular hospitals. The sampled groups were the patients using the services of private hospital in Bangkok Metropolitan Area. Probability sampling methods were used for random sampling of study areas and 400 samples were drawn by accidental sampling from eight studied areas. Collected data by questionnaires that passed reliability test at 0.85. Statistical analyzed were t-test, one way ANOVA and Pearson correlation coefficient by setting significant level at .05. The study found that sampled groups mostly recived health information from hospitals' billborad and posters and theirs personal. The sampled groups vary in sexes, ages, educational levels and the numbers and periods thry received information and their decision to use the services of particular hospitals. Furthermore, Sampled groups who received information from hospitals' brochures and leaflets and from their own relatives decided too choose the services of private hospitals differently from those who never received such information. The patients' satisfaction with forms and formats of private hospital' public raltions moderately ralated positively to their decision to use the services of particular private hospital.