DSpace Repository

การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินจากการใช้สารเร่งลำใยออกดอกนอกฤดูกาล ในตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธิดารัตน์ โชคสุชาติ
dc.contributor.advisor Tidarat Choksuchart
dc.contributor.author ธนิดา กิจเศรณี
dc.contributor.author Tanida Kitseranee
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
dc.date.accessioned 2022-06-21T14:31:53Z
dc.date.available 2022-06-21T14:31:53Z
dc.date.issued 2013
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/458
dc.description วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2556. th
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินจากการใช้สารเร่งลำไยออกดอกนอกฤดูกาล 2) ศึกษาถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการผลิตลำไยนอกฤดูกาล 3) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการผลิตลำไยนอกฤดูกาล ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ ได้รวบรวมจากเกษตรกรผู้ผลิตลำไยในตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ปีการเพาะปลูก 2551/52 ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างเกษตรกร จำนวน 70 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเกษตรกรที่มีการใช้สารโปตัสเซียมคลอเรท กับกลุ่มเกษตรกรที่มีการใช้สารสมบูรณ์ 99 กลุ่มละ 30 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเลือกแบบโควตา (Quota Sampling) ซึ่งสุ่มตัวอย่างทุกช่วงอายุของต้นลำไยตั้งแต่ปีที่ 1 ถึงปีที่ 15 สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย และผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงด้านเนื้อหาแล้ว จากนั้นนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์โดยอาศัยหลักการวิเคราะห์ทางการเงน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ การวิเคราะห์ทางการเงินของการลงทุนผลิตลำไยนอกฤดูกาลโดยใช้อัตราคิดลดจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยที่เกษตรกรจ่ายคืนให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ พบว่าการผลิตลำไยนอกฤดูกาลในกรณีที่ใช้สารโปตัสเซียมคลอเรท จะให้ค่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 101,691.49 บาท อัตราส่วนมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนต่อการลงทุน (BCR) เท่ากับ 1.69 และอัตราผลตอบแทนการลงทุน (IRR) เท่ากับร้อยละ 20.48 และในกรณีที่ใช้สารสมบูรณ์ 99 จะให้ค่า NPV เท่ากับ 200,506.15 บาท BCR เท่ากับ 2.45 และ IRR เท่ากับร้อยละ 33.08 จากผลการวิเคราะห์ทางด้านการเงินของการลงทุนโดยเปรียบเทียบกับกรณีที่ใช้สารโปตัสเซียมคลอเรทกับกรณีที่ใช้สารสมบูรณ์ 99 พบว่าทั้งสองกรณีมีความเหมาะสม คุ้มค่าต่อการลงทุน เนื่องจาก NPV มีค่าเป็นบวก BCR มีค่ามากกว่า 1 และ IRR มีค่ามากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยที่เกษตรจ่ายคืนให้แก่สถาบันการเงิน และจากการศึกษาความอ่อนไหวของการลงทุนผลิตลำไยนอกฤดูกาลแล้ว พบว่าการลงทุนผลิตลำไยนอกฤดูกาลยังได้รับผลตอบแทนคุ้มค่าในการลงทุน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความเสี่ยงในการลงทุนปลูกลำไยนอกฤดูกาลอยู่ในระดับต่ำมาก th
dc.description.abstract The purposes of this research were 1) to study the costs and the financial benefits from the use of a chemical driving Longan trees to blossom off the season 2) to study the problems of the production of off-season longans 3) to suggest some solutions of the obstacles of the production of off-season longans. The data for the study was collected from the farmers in Baanpae sub-district, Jomthong district, Chiang Mai in the harvest year of 2551/52. About 70 farmers were chosen and separated into 2 groups as 1) the group with the use of potassium Chlorate 2) the group with the use of San Somboon 99:30 people in each group. The method to random for the tree sample was Quota Sampling, which random the trees from all the age ranges: 1-15 years old. The tool was a built-to-purpose interview form with a pass on the content percision test. Finally, the data all was analyzed through a financial analysis and the findings was as: From the financial analysis of the investment for the production of off-season longans with the decreasing rate from the average of the loan interest rate that the farmers paid back to the bank of Agriculture and Cooperation it revealed that the production of Longans in the group with the use of Potassium gave out NPV as 101, 691.49 baht and BCR as 1.69 and IRR as 20.48%, whereas the other group with San Somboon99 gave out NPV as 200,506.15 baht., and BCR as 2.45 and IRR as 33.08%. From the results of the financial analysis of the investment for the production of off-season longans focusing on the comparison of the 2 groups (Potassium chlorate and San Somboon99), it showed that both cases were appropriate and worth the investment due to the positive results on NPV and BCR more than one and IRR being higher than the loan interest rates that the farmers paid back to a financial institution. From the studies on the fluctuation of the investment of the production of off-season longans it apperared to be profitable or worth the investment. This meant it was at low risk for the investment of the off-season Longans. th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject ต้นทุนการผลิต th
dc.subject Cost th
dc.subject ต้นทุนและประสิทธิผล th
dc.subject Cost effectiveness th
dc.subject สารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช th
dc.subject Plant growth promoting substances th
dc.subject ลำไย th
dc.subject Longan th
dc.title การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินจากการใช้สารเร่งลำใยออกดอกนอกฤดูกาล ในตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ th
dc.title.alternative Financial Cost and Benefit Analysis of Flower Induction Chemical Off-Season Longan Using in Tambon Baanpae Amphoe Jomthong Chiang Mai Province th
dc.type Thesis th
dc.degree.name บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline บริหารธุรกิจ th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account