การศึกษากลยุทธ์การสร้างแรงจูงใจในการทำงานสำหรับพนักงานชาวไทยในบริษัทข้ามชาติจีน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลำดับความสำคัญของแรงจูงใจในการทำงานสำหรับพนักงานชาวไทยในบริษัทข้ามชาติจีน เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยทางประชากรศาสตร์กับแรงจูงใจในการทำงานสำหรับพนักงานชาวไทยในบริษัทข้ามชาติจีน เพื่อศึกษามิติทางวัฒนธรรมที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการทำงานสำหรับพนักงานชาวไทยในบริษัทข้ามชาติจีน และเพื่อศึกษาวิธีการสร้างแรงจูงใจในการทำงานสำหรับพนักงานชาวไทยในบริษัทข้ามชาติจีน การศึกษาครั้งนี้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับพนักงานชาวไทยในบริษัทข้ามชาติจีน จำนวน 513 ตัวอย่าง และใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้บริหารระดับสูงชาวจีนในบริษัทข้ามชาติจีน จำนวน 6 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า (1) แรงจูงใจในการทำงานสำหรับพนักงานชาวไทยในบริษัทข้ามชาติจีนมีความสำคัญใน 3 อันดับแรก ได้แก่ ค่าตอบแทน สวัสดิการ และมิตรสัมพันธ์ (2) พนักงานชาวไทยที่มีปัจจัยทางประชากรศาสตร์ด้านตำแหน่งงานต่างกันจะมีแรงจูงใจในการทำงานแตกต่างกันมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) มิติช่องห่างของระยะเวลามีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการทำงานมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) บริษัทข้ามชาติจีนมีวิธีการสร้างแรงจูงใจตามความต้องการของพนักงานชาวไทยในด้านความต้องการทางกายภาพ ความต้องการความปลอดภัย ความต้องการความรัก ความต้องการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น ความต้องการเจริญก้าวหน้าและความต้องการที่ได้รับการยกย่องนับถือ อีกทั้งยังมีวิธีการจูงใจในการทำงานตามกระบวนการทำงานในด้านความคาดหวัง ความเสมอภาค การตั้งเป้าหมายและการเสริมแรง
This research aims to study important work motivating factors for Thai staff in Chinese multinational corporations, the difference of work motivation factors due to different demographic characteristics, the relationship between cultural dimensions and work motivation, and work motivation methods for Thai staff in Chinese multinational corporations. The research was done as quantitative method by using questionnaire collected from 513 Thai staff and as qualitative method by using semi-structured interview questions for 6 Chinese managers in Chinese multinational corporations. Results shown that (1) Thai staff are motivated by salary, welfare and positive relationship with others most. (2) Thai staff who has different positions have most different motivation factors (3) Long term versus short term orientation is related to Thai staff motivation most. (4) Chinese mamagers motivates Thai staff by meeting their needs. These are physiological need, safety need, love need, relatedness need, growth need and esteem need. In the process of motivation, Chinese managers pay attention to Thai staff's expectancy, equity, goal-setting and positive reinforcement.