การกำเนิดโลกาภิวัฒน์และการศึกษาข้ามพรมแดนได้กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มการวิจัยการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มการวิจัยนี้ได้เกิดขึ้นกับสาขาภาษาอังกฤษเฉพาะด้าน (ESP) ด้วย ซึ่งอาจแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่กำลังเปลี่ยนแปลงในการพัฒนางานวิจัยทางภาษาอังกฤษเฉพาะด้าน รวมทั้งแนวโน้มความต้องการการทำวิจัยในหัวข้อใหม่ๆ จากการอ้างอิงกรอบวิจัยของ Crawford et al. (2006) การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแนวโน้มหัวข้อการวิจัยในบทคัดย่อของวารสารภาษาอังกฤษเฉพาะด้านในช่วงเวลาต่างกัน ดังนี้ ระหว่าง ปี ค.ศ. 1986-1995 ระหว่างปี ค.ศ. 1996-2005 และระหว่างปี ค.ศ. 2006-2017 และลักษณะโดยรวมของวารสารตั้งแต่ช่วง ปี ค.ศ. 1986-2017 การศึกษานี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้ซอฟต์แวร์คลังข้อมูลภาษาศาสตร์ ชื่อ AntConc 3.5.7 (Anthony. 2017) ตรวจสอบบทคัดย่อจำนวน 628 ชิ้น เพื่อดูความถี่สัมพัทธ์และเปรียบเทียบคำที่มีความถี่สูงกับเกณฑ์มาตรฐานสองเกณฑ์ดังนี้ (1) คลังข้อมูลภาษาอังกฤษแบบอังกฤษแห่งชาติ (British National Corpur) และ (2) ข้อมูลจากช่วงเวลาแต่ละช่วงและผลลัพธ์ของการเปรียบเทียบแสดงเป็นค่า log-likelihood (LL) ผลการศึกษาพบว่า แนวโน้มการวิจัยมีทั้งหมดสี่ประเด็น คือ (1) แนวโน้มของหัวข้อวิจัยที่ต่อเนื่อง (2) ความสำคัญที่ลดลงหรือแนวโน้มที่ปรากฏอยู่ในระยะเริ่มต้นของวารสาร แต่ความสนใจของนักวิจัยลดลง หรือจำนวนงานวิจัยในหัวข้อเหล่านี้ผกผันกับอายุของวารสาร - แนวโน้มของหัวข้อการวิจัยที่ลดลง (3) แนวโน้มช่วงเวลาที่นิยมหรือช่วงเวลาหนึ่งที่ได้รับการนิยม การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การวิเคราะห์ด้วยคลังข้อมูลสามารถตรวจสอบแนวโน้มหัวข้อการทำวิจัยในสิ่งตีพิมพ์วารสารได้
The advents of globalization and transborder education have been catalyzing changes in research trends. The field of English for Specific Purposes (ESP) is not exempted and may have demonstrated its own trends in response to changing emphasis in ESP for covering new demands of research development. Informed by the framework of Crawford et al. (2006), this research study in investigates research topics trends in the abstracts of the English for Specific Purposes Journal in different time periods: 1986-1995, 1996-2005, 2006-2017, and the overall characteristic features of the Journal from 1986-2017. Using both quantitative and qualitative analyses, this study employed the corpus linguistic software AntConc 3.5.7 (Anthony, 2017) to examine a total of 628 abstracts for their relative frequencies by comparing high frequecny words with two benchmarks: (1) British National Corpus (BNC) and the (2) data from each period, and the results of the comparisons expressed as log-likelihood (LL) values. Four issues of research trends were found: (1) the continuing research topics trends, (2) decreasing significance or it appeared at the onset of the journal, but interests among researchers faded or the number of research studies on these topics was inversely proportional to the age of the journal-the decreased research topics trends, (3) intermittently popular or one-time period trend. This investigation shed some light on how corpus-based analysis can be used in examining topic trends in journal publications.