การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ กลวิธีการแต่งและวิเคราะห์แนวคิดในนวนิยาย ชุด ความสุขของกะทิ โดยมีขอบเขตการศึกษา คือ นวนิยาย 3 เรื่องของงามพรรณ เวชชาชีวะ ได้แก่ เรื่อง ความสุขของกะทิ เรื่อง ความสุขของกะทิ ตอน ตามหาพระจันทร์ และเรื่อง ความสุขของกะทิ ตอน ในโลกใบเล็ก และนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า งามพรรณ เวชชาชีวะ ได้แต่เรื่องราวของเด็กหญิงกำพร้าคนหนึ่งที่มีชีวิตทั้งความทุกข์และความสุข โดยใช้กลวิธีการแต่ง ได้แก่ การตั้งชื่อบทย่อยของแต่ละเล่ม ตั้งชื่อตามของใช้ทั่วไป สิ่งของธรรมชาติ ชื่ออาหาร ชื่อนิทาน และคำนามธรรม โดยมีเนื้อหาโยงกับชื่อบทย่อยซึ่งดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน การวางโครงเรื่อง ผู้แต่งได้กำหนดเหตุการณ์และการดำเนินชีวิตของตัวละครที่เปลี่ยนแปลงไปตามลำดับเวลา โดยมีเนื้อเรื่องที่ต่อเนื่องกันตลอดทั้ง 3 เรื่อง ผู้แต่งใช้กลวิธีการเปิดเรื่องที่หลากหลาย โดยเปิดเรื่องด้วยการอธิบายชื่อบท บรรยายฉากและบรรยากาศ เปิดเรื่องโดยใช้บทสนทนา ใช้นาฏการ และการเล่าเรื่อง เป็นกลวิธีที่นำไปสู่เนื้อเรื่องของแต่ละบทได้อย่างน่าสนใจ ในการดำเนินเรื่อง ผู้แต่งได้ใช้กลวิธีการสร้างความขัดแย้งที่ทำให้เรื่องดำเนินไปอย่างสมเหตุสมผล ด้วยการสร้างความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับธรรมชาติ มนุษย์กับชะตากรรม และความขัดแย้งภายในจิตใจของตัวเอง นอกจากนี้ยังใช้กลวิธีการลำดับเหตุการณ์ที่ทำให้เนื้อเรื่องดำเนินไปตามโครงเรื่องที่ผู้แต่งได้กำหนดไว้ โดยลำดับเหตุการณ์ตามลำดับปฏิทิน และการลำดับเหตุการณ์แบบย้อนต้น กลวิธีการปิดเรื่อง ผู้แต่งนิยมใช้กลวิธีปิดเรื่องแบบสุขนาฏกรรม นอกจากนี้ผู้แต่งยังใช้วิธีปิดเรื่องแบบทิ้งปัญหาให้ผู้อ่านคิดหาคำตอบ และปิดเรื่องแบบโศกนาฏกรรม ผู้แต่งสร้างตัวละครที่มีพฤติกรรมและนิสัยใจคอสมจริง ทำให้เรื่องดำเนินไปอย่างสนุกสนาน ฉากและบรรยากาศที่ผู้แต่งสร้างขึ้นมี 4 ฉากที่สำคัญ คือ บ้านริมคลอง บ้านชายทะเล บ้านกลางเมือง และสถานที่ต่างประเทศ เป็นฉากที่สัมพันธ์กับชีวิตของตัวละครเอกที่เติบโตไปตามวัย กลวิธีการแต่งประการสุดท้ายคือบทสนทนา ผู้แต่งได้สร้างบทสนทนาที่ช่วยดำเนินเรื่อง เป็นบทสนทนาที่บอกลักษณะและนิสัยของตัวละคร ซึ่งสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของสังคม รวมทั้งให้คติและข้อคิดแก่ผู้อ่าน ด้านแนวคิดในนวนิยาย พบว่า ผู้แต่งได้นำเสนอแนวคิดที่เป็นแง่มุมเกี่ยวกับชีวิตและสังคม ทำให้ผู้อ่านตระหนักถึงความเป็นจริงของชีวิต ในด้านความรักของครอบครัว ที่เป็นความรักระหว่างสามีภรรยา เป็นความรักที่ยั่งยืนแบบตาและยาย และความรักที่ไม่มั่นคงเพราะมีบุคคลที่สาม ตามแบบพ่อและแม่ของกะทิและแบบครูราตรีกับพี่อมร แนวคิดเกี่ยวกับความรักที่ผูกพันทางสายเลือด ระหว่างพ่อแม่ลูก กับตายายกับหลาน ในด้านแนวคิดเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต ผู้แต่งได้นำเสนอภาพการดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย การดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมาย และการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง โดยปลุกจิตสำนึกที่ถูกต้องและดีงาม ส่วนแนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย ผู้แต่งได้เสนอวัฒนกรรมอาหารไทย ที่รับประทานเป็นประจำวัน และที่นำไปทำบุญ ในด้านชีวิตความเป็นอยู่ที่ปรากฏในนวนิยาย ผู้แต่งนำเสนอภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่มีความแตกต่างกันระหว่างชีวิตในสังคมแบบดั้งเดิมและแบบสมัยใหม่ ทั้งอาคารบ้านเรือน การเดินทาง และอาหารการกิน ผู้อ่านจะได้แนวคิดใหม่เกี่ยวกับความสุขของชีวิตและสังคมไทย
This research aimed to analyze the writing styles and themes presented in the series of novels by Ngamphan Vejjajiva, The Happiness of Kati. The scope of study included three episodes of the novel: The Happiness of Kati, The Happiness of Kati: Searchinging for the Moon, and The Happiness of Kati: In this Small World. The study found that Ngamphan Vejjaiva's novels are characterized by a number of stylistic techniques. Major stylistic techniques include: 1) Entitling, referring to appliances, natural entitiles, food, tales, and contrastive abstract words. 2) Plot, all three episodes proceeded chronologically, only differed in opening situations which included description about the title of chapters, description of setting, dialoguing, openning action, and re-telling of storiess. 3) Conflicts, covering all types including human against human, human against nature, human versus fate, and psychological conflicts of the characters. 4) Sequence of story, following chronological order or using the flash-back technique. 5) Story ending, varying between happy-endings, sad-endings, and unresolved problems 6) Characterization, emphasizing realistic style which related to the growth of the protagonist. 7) Setting, presenting four major places which were the canal-side house, the seaside house, the city-house, and abroad. 8) Realistic dialogue, reflecting characteristics of characters. For themes, the study found outstanding ideas about life and society relating to: 1) Family love, segmented into love of spouses, love of elders, love triangles, and love of kinship. 2) Ways of living, emphasizing simple and peaceful lifestyles, goal-setting lifestyle, and self-sufficient lifestyles. 3) Thai culture, focusing on food related to Thai ways of life. 4) Society, reflecting both traditional and modern types of housing, travellibg, and food.