วิทยานิพนธ์นี้สำรวจภาษาที่ใช้ในโฆษณาออนไลน์ว่ามีอิทธิพลต่อลูกค้าในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของทั้งสองยี่ห้อหรือไม่และสาเหตุไดเอชแอนด์เอ็มจี จึงมียอดขายมากกว่ายูนิโคลระหว่างปีพุทธศักราช 2554-2557 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาษาที่ใช้ในโฆษณาใบปลิวออนไลน์ของยูนิโคลและเอชแอนด์เอ็ม ว่ามีการชักจูงการตัดสินใจซื้อของลูกค้าหรือไม่ ภาษาโฆษณาสามารถชักจูงการตัดสินใจซื้อของลูกค้าอย่างไร และอะไรคือความแตกต่างทางด้านภาษาที่ใช้ในโฆษณาใบปลิวออนไลน์ของทั้งสองยี่ห้อ ข้อมูลที่รวบรวมนั้นได้จากโฆษณาใบปลิวออนไลน์ของยูนิโคลและเอชแอนเอ็มที่ถูกเผยแพร่ระหว่างปีพุทธศักราช 2554-2557 โดยเลือกโฆษณาใบปลิวออนไลน์ของทั้งสองยี่ห้อจากประเภทของสินค้าสำหรับเพศหญิงหรือเพศชาย สำหรับใส่เวลาไหน ยี่ห้อละ 50 ชิ้นรวม 10 0 ชิ้น ซึ่งข้อมูลที่เก็บไดจะถูกวิเคราะห์ด้วยทฤษฎีสภาวะเกิดก่อน (presupposition) จากการอนุมานระดับต่ำโดยการตีความของภาษาโฆษณา โดยเน้นหนึ่งในหกวิธีของทฤษฎีนี้เรียกว่า existential presupposition ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าทั้งสองยี่ห้อชักจูงให้ลูกค้าตัดสินใจในการซื้อผลิตภัณฑ์ เนื่องจาก ทั้งสองยี่ห้อมีข้อสมมุติร่วมของผู้ทำโฆษณากับผู้อ่านโฆษณา แต่ยูนิโคล่มีข้อสมมุติร่วมของผู้ทำโฆษณากับผู้อ่านโฆษณาที่มากกว่าเอชแอนด์เอ็ม ทั้งสองยี่ห้อมีการใช้คำที่ต้องมีคำนามตามหลัง และยังใช้คำนำหน้าคำนามที่ชี้เฉพาะเจาะจง ดังนั้น จึงอาจจะสรุปได้ว่าภาษาที่ใช้ในการโฆษณาของยูนิโคลและเอชแอนด์เอ็ม มีอิทธิพลกับลูกค้าในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ แต่ยูนิโคลไม่สามารถชักจูงลูกค้ามาซื้อผลิตภัณฑ์ได้มากกว่าเอชแอนด์เอ็ม ทั้งนี้ อาจเป็นได้ว่าภาษาโฆษณาของเอชแอนด์เอ็มมีการใช้คำคุณศัพท์อธิบายรายละเอียดเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนมากกว่าภาษาที่ใช้ในโฆษณาของยูนิโคลและยังเป็นคำคุณศัพท์ที่บ่งบอกถึงความเป็นแฟชั่นที่ล้ำสมัยให้กับลูกค้าที่มีอายุระหว่าง 15 และ 40 ปี ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนี้ จึงสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละยี่ห้อและบอกความเป็นนัยได้ว่าลูกค้าในช่วงอายุเหล่านี้ ชอบการออกแบบที่ล้ำสมัยและน่าดึงดูมากกว่าการออกแบบที่ดูธรรมดาและมีคุณภาพของผลิตภัณฑ์
This research examined to discover if the language used in the online advertisements influenced viewers to buy both companies' products and the reasons that increased H&M's sales volume during 2011 and 2014. The purposes of this research are to determine whether the language used in the online flyers of both Uniqlo and H&M persuades customers' purchase decicison, find out the ways in which advertising language persuades customers' purchase decision, and identify the differences of the language used in the online flyers of the two companies. A number of 100 online flyers of Uniqlo and H&M, 50 each, posted from 2011 to 2014, were particularly collected based on gendered products, product types and product purposes. Data were analyzed by using existential presupposition in online clothes advertisements involving low levels of interence or interpretation. The results indicated that the advertising language of the two companies could persuade viewers to purchase their products firstly because the assumption that the entitles names by the advertiser exist in most important but it showed that Uniqlo obtained more entitles than H&M did. Secondly, they employed possessive pronous. Thirdly, they used definite articles. The results suggest that language used in clothes advertisements of Uniqlo and H&M appear to influence their customers to make a decision in buying. Uniqlo could not persuage viewers to buy more of its products, peehaps beacuse H&M used more adjective to convey its stylish fashion to customers ages between 15 and 40 years old. The results mirrors each brand identity and can imply that customers in this age range prefer stylish design that is fashionable and attractive to basic design and to product quality.