DSpace Repository

泰华文学中的潮汕文化

Show simple item record

dc.contributor.advisor 许总
dc.contributor.advisor Xu, Zong
dc.contributor.advisor สวี, จ่ง
dc.contributor.author 陈伟林
dc.contributor.author นิรันดร นาคสุริยันต์
dc.date.accessioned 2022-07-30T06:33:19Z
dc.date.available 2022-07-30T06:33:19Z
dc.date.issued 2010
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/563
dc.description Thesis (M.A.) (Modern and Contemporary Chinese Literature) -- Huachiew Chalermprakiet University, 2010 th
dc.description.abstract 潮人在何时开始到达暹罗(现在的泰国)已经难以探讨。除了传说与民间故事之外,至少在大城王朝时期已有潮人移居阿瑜陀耶都城和其南方的属国,即北大年。这些来自中国南方的移民,首批是福建省的闽南人,潮人与讲其他南方方言的移民随着迁徙。可是在现今被称作疆域的泰国,如果跟其他东南亚国家相比,移徙定居泰国者都是潮人为主,这对泰国几百年来的社会、经济与政治的发展产生了很大的影响。甚至许多泰国文学作品,从曼谷王朝一世王时期至今,留下了不少潮人语言和潮汕文化的踪迹,但是在研究文学当中,读者与研究者也常把潮汕文化误解为中国文化。 本论文无疑深度探讨历史,而要深刻地研究一些曼谷王朝初期的文学作品中的潮汕语言与文化。另外,还深入探讨两位潮人华裔作家具有潮人文化气息的长篇小说。他们的文学作品可算是泰华文学,因他俩都是潮人的后裔。虽然他们的小说,已有一些学者研究过,但总是被统称为中国文化,没有仔细分析出潮汕文化的具体特征。本论文将通过不同的泰华文学作品来探讨分析与指出潮汕文化的特色。这两位华裔作家分别是牡丹(正名殊帕•诗利新合)和和育•巫拉帕(正名差棱•隆卡帕林)。准备研究牡丹的作品有三部:即《泰国来信》、《雾散之前》和《风中之竹》》,其中的《泰国来信》也包括中文翻译版本的《南风吹梦》;育•巫拉帕则有两部,即《跟公公在一起》和《恩惠情爱》。这五部长篇小说都具有潮汕文化的色彩,使作者能够进一步去分析与佐证潮汕语言和潮汕文化的特征,不仅只是中国文化的统称。 本论文的主体有三大章:第一章描写潮人移居泰国的史略、潮人的生存状态,以及中泰的文化交融;第二章叙述两位泰华作家的背景与其潮汕文化传统;最后的第三章,主要是探讨文学作品分析中所体现的潮汕语言、风俗习惯、潮剧和道德礼仪与宗教信仰。论文的创新点展现在指出、评论与改正早期被误解的潮汕语言和文化,并且在研究分析之中显示一些新发现,在学术价值和文学社会方面具有积极的意义。 th
dc.description.abstract ชาวแต้จิ๋วเดินทางมายังดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่เมื่อใด คงยากที่จะสืบหาต้นตอได้ชัดเจน หากตัดเรื่องที่เป็นนิทานหรือตำนานออกไป และอ้างบันทึกที่จับต้องได้ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็มีชาวแต้จิ๋วมาปักหลักอาศัยอยู่แล้วทั้งในขอบขัณฑสีมาของกรุงศรีอยุธยา อันเป็นราชธานี และนครรัฐทางทิศใต้ที่เป็นหัวเมืองประเทศราช เช่นเมืองปัตตานี เป็นต้น โดยในระยะแรกเริ่ม ชาวฮกเกี้ยนเป็นหัวหอกในการเดินทางออกจากมาตุภูมิ เพื่อไปแสวงโชคในต่างแดน ชาวแต้จิ๋วและชาวใต้สำเนียงอื่นๆ ตามมาทีหลัง ทว่า ในดินแดนของประเทศไทยในปัจจุบัน กลับมีชาวแต้จิ๋วอพยพมาลงหลักปักฐานเป็นจำนวนมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปรากฏการณ์ดังกล่าว ส่งผลต่อพัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ตลอดระยะเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา กระทั่งหลักฐานที่บันทึกอยู่ในรูปของวรรณคดีและวรรณกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ก็ยังปรากฏร่องรอยของภาษาและวัฒนธรรมแต้จิ๋วอยู่ในเนื้อหาเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้สามารถพบเห็นได้ตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์มาจนถึงปัจจุบัน แต่ในแวดวงของวรรณกรรม ผู้อ่านหรือผู้ทำการศึกษาค้นคว้า มักตีความผิดพลาดคลาดเคลื่อน จากวัฒนธรรมแต้จิ๋วเดิมที่เฉพาะเจาะจง เป็นวัฒนธรรมจีนในความหมายอย่างกว้าง ๆ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จะไม่เน้นด้านประวัติศาสตร์จนเกินความพอดี แต่จะเน้นศึกษาถึงภาษาและวัฒนธรรมพื้นบ้านแต้จิ๋ว ที่ปรากฏอยู่ในวรรณคดีไทย ตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น นอกจากนี้ ยังจะศึกษางานประพันธ์ประเภทนวนิยาย ที่ท่วมท้นไปด้วยกลิ่นอายของภาษาและวัฒนธรรมแต้จิ๋ว โดยนักเขียนไทยเชื้อสายจีนแต้จิ๋วสองท่าน ซึ่งผลงานประพันธ์ของนักเขียนทั้งสองท่านนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรมจีนโพ้นทะเล เนื่องจากทั้งคู่มีเชื้อสายของชาวจีนแต้จิ๋ว และแม้ว่าผลงานของท่านทั้งสอง จะมีผู้ทำการศึกษามาก่อน แต่ก็มักเรียกขานกันว่าเป็นวัฒนธรรมจีน ไม่ได้เจาะลึกลงไปว่าเป็นวัฒนธรรมจีนแต้จิ๋ว วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ใช้วิธีสืบค้นวิเคราะห์และชี้ให้เห็นถึงลักษณะพิเศษของภาษาและวัฒนธรรมแต้จิ๋ว ผ่านนวนิยายต่าง ๆ กันห้าเรื่องจากนักเขียนสองท่าน คือโบตั๋น (ชื่อจริงสุภา สิริสิงห) และหยก บูรพา (ชื่อจริงเฉลิม รงคผลิน) โดยจะศึกษาผลงานของโบตั๋น 3 เรื่อง ชื่อ “จดหมายจากเมืองไทย” “ก่อนสายหมอกเลือน” และ “ไผ่ต้องลม” และผลงานของหยก บูรพา 2 เรื่อง ชื่อ “อยู่กับก๋ง” และ “กตัญญูพิศวาส” ซึ่งนวนิยายทั้ง 5 เรื่องนี้ เต็มไปด้วยสีสันของภาษาและวัฒนธรรมแต้จิ๋ว เป็นผลให้ผู้เขียนสามารถวิเคราะห์เจาะลึกได้มากยิ่งขึ้น และสามารถชี้ให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะของภาษาและวัฒนธรรมแต้จิ๋ว ไม่ใช่กล่าวอ้างเพียงแค่เป็นวัฒนธรรมจีนอย่างรวม ๆ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ประกอบด้วยเนื้อหาหลักสามบทใหญ่ บทที่หนึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติการโยกย้ายถิ่นฐานของชาวแต้จิ๋วมาสู่เมืองไทย การดำรงชีพของคนแต้จิ๋ว และการหลอมรวมของวัฒนธรรมไทย-จีน บทที่สอง พรรณนาถึงภูมิหลังและคุณสมบัติของคนแต้จิ๋วในตัวของนักเขียนทั้งสอง และสุดท้ายบทที่สาม สืบค้นและวิเคราะห์ภาษาแต้จิ๋ว ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวแต้จิ๋ว งิ้วแต้จิ๋ว และคุณธรรมจริยธรรม ตลอดจนศาสนาและศรัทธาความเชื่อของชาวแต้จิ๋ว การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ อยู่ที่การชี้ให้เห็นและการวิพากษ์วิจารณ์ ตลอดจนการแก้ไขข้อเท็จ จริงของภาษาและวัฒนธรรมแต้จิ๋ว ที่เคยตีความและเข้าใจกันอย่างผิดพลาดคลาดเคลื่อน นอกจากนี้ ยังได้เสนอการค้นพบสิ่งใหม่ในเนื้อหาของนวนิยาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษา และให้คุณค่าต่อแวดวงวรรณกรรมเป็นอย่างดี th
dc.description.abstract It would be difficult to find out as to when the Chaozhou (now Chaoshan) ethnic group first came to what we call Thailand today. If we do away with all tales and legends, and rely solely on written records, in Ayudhaya Period, there were already Chaozhou ethnic settlements both in the capital city and in its satellite town in the south such as Pattani. In the first place, the Fujian people were the pioneering immigrants to venture overseas in search of fortune, the Chaozhou and other southern dialect speaking people followed suit. However, in what is called Thailand today, there was a relatively higher number of Chaozhou immigrants at the time compared to other countries in South-east Asia. This has made a great impact on Thai society, economy and politics for several hundred years, so much so that even a great deal of written records in the form of classic literature and other literary works, since early Rattanakosin Dynasty until today, have shown traces of Chaoshan dialect and culture, but often been misinterpreted as Chinese culture in a broad sense. This thesis would not go too far on history, but would rather emphasize on the ethnic language (Chaozhou, now Chaoshan dialect) and folk traditions of the Chaozhou people which could be spotted in Thai literature since the beginning of Rattanakosin Period. It would also study overseas Chinese novels depicting stories of Chaozhou ethnic group from two Thai writers with Chaozhou descent. Although, novels from these two writers have more or less been studied before, but they were largely confined to Chinese culture in general. Previous studies appear not to go deeper into the unique characteristic of Chaozhou (now Chaoshan) dialect and culture. These two renowned writers are “Botan” (real name Supa Sirisingha) and “Yok Burapa” (real name Chalerm Rongkapalin) of which the former have had three novels, namely “Letters from Thailand”, “Before the Mist Faded” and “Bamboo by the Wind”, while the latter have shown two novels, namely “Stay with Grandpa” and “Gratefulness and Affection”. These five novels are rich with Chaoshan dialect and related culture allowing the writer of this thesis to go deeper in making study and analysis to reflect the uniqueness of Chaoshan culture, not just generally quoting as Chinese culture. This thesis comprises three main chapters: the first chapter describes a brief account of the migration of Chaozhou ethnic group, how they survive, and the fusion of Chinese and Thai cultures; the second chapter narrates the background of the novel writers and their inheritance of Chaoshan characteristics; and finally, the third chapter gives details about Chaoshan dialect (previously Chaozhou), customs, traditional Chaozhou opera and moral etiquette as well as religious beliefs among Chaozhou ethnic group. The innovation of this thesis lies on its deeper studies into Chaoshan dialect and folk traditions prevailing in various novels to the extent of correcting what have been misunderstood previously. In addition, it has also presented new discoveries from the novels themselves, which would benefit academic circle and render positive results to literary society. th
dc.language.iso zh th
dc.publisher Huachiew Chalermprakiet University th
dc.subject การวิเคราะห์เนื้อหา th
dc.subject Content analysis (Communication) th
dc.subject แต้จิ๋ว th
dc.subject Chaozhou th
dc.subject วรรณกรรมจีน -- ประวัติและวิจารณ์ th
dc.subject Chinese literature -- Criticism and interpretation th
dc.subject โบตั๋น th
dc.subject หยก บูรพา th
dc.subject ชาวจีน -- ไทย th
dc.subject วัฒนธรรมจีน th
dc.subject 中国文化 th
dc.subject 中国人-- 泰国 th
dc.subject 中国文学 -- 历史与批评
dc.subject 内容分析
dc.subject 潮州
dc.title 泰华文学中的潮汕文化 th
dc.title.alternative การศึกษาวัฒนธรรมแต้จิ๋วในวรรณกรรมจีนโพ้นทะเลของประเทศไทย th
dc.title.alternative A Study of Chaoshan Culture in Overseas Chinese Literature of Thailand th
dc.type Thesis th
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline วรรณคดีจีนสมัยใหม่และร่วมสมัย th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account