การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพสะท้อนส้งคมชนบทภาคใต้ในนวนิยายของ สถาพร ศรีสัจจัง และเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาสังคมไทยที่สะท้อนในนวนิยายของ สถาพร ศรีสัจจัง โดยศึกษานวนิยาย จำนวน 5 เล่ม และนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ภาพสะท้อนสังคมชนบทภาคใต้ในนวนิยายของสถาพร ศรีสัจจัง ได้แสดงให้เห็นภาพสังคมชนบทภาคใต้ 4 ด้าน ได้แก่ 1) สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชนบทภาคใต้ที่ผูกพันกับธรรมชาติ ชนบทภาคใต้เป็นชุมชนที่ยังไม่พัฒนา บ้านเรือนเป็นบ้านแบบดั้งเดิม สิ่งแวดล้อมดีงาม มีบรรยากาศเงียบสงบ ชาวชนบทภาคใต้เป็นอาชีพทำไร่ทำนา และเลี้ยงสัตว์ มีอาหารพื้นบ้านภาคใต้ รสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ 2) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างคนในชนบทภาคใต้ สะท้อนภาพความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรและมีความสุข 3) ด้านวัฒนธรรม คนในสังคมชนบทยังดำรงรักษาค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี และความเชื่อแบบดั้งเดิม มีการละเล่นที่สนุกสนาน และภาษาท้องถิ่น นวนิยายสะท้อนปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาของชนบทภาคใต้ ได้แก่ 1) ปัญหาในครอบครัว มีปัญหาผู้สูงอายุ ปัญหาเด็กกำพร้าขาดพ่อแม่ และปัญหาการส่งเสริมการศึกษา 2) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ มีปัญหาความยากจน ปัญหาการประกอบอาชีพ และปัญหาการเอาเปรียบจากพ่อค้านายทุน 3) ปัญหาอาชญากรรม มีปัญหาการพนัน และปัญหาการลักขโมย 4) ปัญหาความขัดแย้งในสังคม มีปัญหาความขัดแย้งกับฝ่ายปกครอง 5) ปัญหาสุขภาพ มีปัญหาความเจ็บป่วย และปัญหาอยู่ห่างไกล สถานที่รักษาพยาบาล โดยให้แนวทางการแก้ปัญหาที่สำคัญ คือ การแก้ปัญหาด้วยตัวเอง โดยรักษาบุคลิกลักษณะและคุณธรรมที่มีของคนในชนบทภาคใต้
This research aimed to study the reflection of southern rural society in novels of Stapon Srisuchjang and to analyze the soical problems and their solutions in novels of Staporn Srisuchjang. The research studied five novels and was presented in descriptive analysis. The research found that Staporn Srisuchjang's novels reflected the southern rural society in three aspects. 1) Regrading to the way of life, people in the southern rural society was bound to the nature. The southern rural society was not yet developed. There were traditional housed in good environment and quiet atmosphere. They worked as farmer and raised the animals. The southern food had a unique taste. 2) in regard the friendly and happy relationship. 3) Lastly, in cultural aspects, the people in southern rural society maintained their traditional values, traditions, customs and beliefs. They had fun games and own dialect. The novels reflected the social problems and their solutions in southern rural society. 1) There were family problems such as the problems with elderly, orphans rural society and educational supports. 2) There were the problems regrading to economy such as poverty, problem in career and exploitation from capitalist. 3) There were crime issues such as gambling, thefts, etc. 4) There were the conflicts in the society and the conflict against administrative sections 5) Lastly, there were the health problems, illness and being far from medical facilitues. The main solution of above problems was self-solving by maintaining their personalities and morals of the people in southern rural society.