การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการแต่งและแนวคิดในนวนิยายวายไทย จำนวน 16 เรื่อง เสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยด้านกลวิธีการแต่ง พบว่า 1) การตั้งชื่อ มีการตั้งชื่อเรื่องและการตั้งชื่อบท การตั้งชื่อเรื่อง พบมีการตั้งชื่อเรื่องตามโครงเรื่อง การตั้งชื่อเรื่องแสดงเหตุการณ์เริ่มต้นความสัมพันธ์ของตัวละครหลัก การตั้งชื่อเรื่องแสดงลักษณะตัวละคร การตั้งชื่อเรื่องแสดงความสัมพันธ์ของตัวละคร และการตั้งชื่อเรื่องด้วยสัญลักษณ์ การตั้งชื่อเรื่องช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจนวนิยายมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่ไม่มีลักษณะโดดเด่นที่ทำให้นวนิยายวายแตกต่างจากนวนิยายประเภทอื่น ๆ การตั้งชื่อบท พบว่ามีการ ตั้งชื่อบทตามเหตุการณ์สำคัญ การตั้งชื่อบทด้วยลักษณะตัวละคร และการตั้งชื่อบทด้วยชื่อสิ่งของหรือสถานที่สำคัญในบท ทำให้ผู้อ่านรับรู้จุดสำคัญของแต่ละบท 2) การสร้างโครงเรื่อง ได้แก่ การเปิดเรื่อง พบว่ามีการเปิดเรื่องด้วยการบรรยายให้เห็นถึงลักษณะความคิด และการกระทำของตัวละคร และการเปิดเรื่องด้วยบทสนทนา ส่วนการสร้างความขัดแย้งพบ 4 ลักษณะ คือ ความขัดแย้งระหว่างตัวละครหลักที่เปิดเผยรสนิยมทางเพศเป็นชายรักชายชัดเจน ความขัดแย้งระหว่างตัวละครเอกกับตัวละครเอกที่ยังไม่เปิดเผยชอบบุคคลเพศเดียวกัน ความขัดแย้งระหว่างตัวละครหลักกับตัวละครอื่น ๆ และความขัดแย้งในจิตใจของตัวละครหลัก การสร้างความขัดแย้งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้นวนิยายวายต่างจาก นวนิยายประเภทอื่น และการปิดเรื่อง มีการปิดเรื่องด้วยการบรรยายความคิดและการกระทำของตัวละคร และ การปิดเรื่องด้วยบทสนทนา การปิดเรื่องแสดงให้เห็นการยอมรับและเปิดเผยรสนิยมทางเพศอย่างชัดเจน และแสดงตัวละครได้รับความรักและความสุข 3) การสร้างตัวละคร คือ พระเอกกับนายเอกเป็นตัวละครเอกที่มีลักษณะดีงามและเป็นคู่รักกัน ตัวละครรอบข้างตัวละครรักร่วมเพศ เป็นบุคคลในครอบครัว เพื่อน คนรอบข้างตัวละครเอกมีบทบาทเป็นคู่ขัดแย้งแสดงการไม่ยอมรับหรือขัดขวางความรักของตัวละครเอก หรือเป็นผู้ช่วยเหลือให้ความรักของตัวละครเอกสมหวัง 4) การสร้างบทสนทนา มีการสร้างบทสนทนาที่แสดงความรักระหว่างตัวละครเอก บทสนทนาที่แสดงลักษณะของตัวละคร และบทสนทนาที่ช่วยดำเนินเรื่อง ทำให้เหตุการณ์พัฒนาอย่างสมเหตุสมผล 5) การสร้างฉากและบรรยากาศ มีการสร้างฉากและบรรยายกาศที่เป็นพื้นที่ส่วนตัว และฉากและบรรยากาศที่เป็นพื้นที่สาธารณะ ฉากทั้ง 2 ประเภทให้ตัวละครได้เปิดเผยความรู้สึกที่แท้จริงของตัวเองด้านแนวคิด พบว่า ผู้แต่งได้นำเสนอแนวคิด 4 ประเด็น ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับความรัก คือ การกล้าเปิดเผยตัวตนทำให้ได้รับการยอมรับ ความจริงใจทำให้ความรักมีความเข้มแข็ง และการไม่เปิดเผยและไม่เชื่อใจทำให้ความสัมพันธ์แปลกแยก แนวคิดเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม คือ ความช่วยเหลือสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และความขยันหมั่นเพียรทำให้ชีวิตเจริญก้าวหน้า แนวคิดเกี่ยวกับความประพฤติที่ไม่ดี คือ การดื่มเหล้าทำให้ขาดสติและการทะเลาะวิวาท และแนวคิดเกี่ยวกับการเข้าใจและยอมรับความเท่าเทียมกันทางเพศแบ่งได้มี 2 ลักษณะ คือ กลุ่มคนรักร่วมเพศการยอมรับความเป็นจริงของตัวเอง จึงทำให้ภูมิใจกับตัวเองมากขึ้น และการได้รับการยอมรับและเข้าใจทำให้ชีวิตกลุ่มคนรักร่วมเพศดีขึ้น แนวคิดดังกล่าวในนวนิยายวายทำให้ผู้อ่านเข้าใจกลุ่มคนรักร่วมเพศเป็นบุคคลควรได้รับการยอมรับในสังคม และช่วยสร้างสังคมที่เคารพเพศวิถีและรสนิยมทางเพศที่หลากหลายมากกว่าเดิม
This research aimed to analyze literary techniques and themes in sixteen Thai Y-Novels. Research findings were reported as a descriptive analysis. For literary techniques, five aspects were noted, as the following. 1) Titling - names of novels were generated to their plots; the beginnings of love, characteristics or relationships of the protagonists; and symbolic names. These titles were not distinguished from general novels. For chapter names, major actions; characteristics of characters; names of things or places were used. These names assisted readers to grab main points of the chapter. 2) Plot - the exposition variously began with narration of thoughts; actions; or dialogues of characters. Four types of conflicts were found, including sexual desires of two homosexual characters; relationships between the homosexual protagonist and a covered-homosexual character; conflicts between the protagonist and other characters; and mental conflicts of the protagonist. These conflicts mainly distinguished Y-novel from the others. For the resolution, three types were noted, which were narrations of thoughts; actions; or dialogues of characters. The resolution usually showed acceptance and sexual taste uncovering of characters, which brought them their achievement of love and happiness. 3) Characters - the male protagonist and his male love always were good persons and loved each other. Most minor characters were family members and friends of the protagonist. Roles of these characters were either against or supporting the love of the protagonist. 4) Dialogue - it mainly conveyed loves or characteristics of the protagonist and made the plot develop realistically. 5) Setting and Atmosphere - both personal and public setting and atmosphere were presented in the novels, which were used to reveal feelings and emotions of characters. For the theme, four areas were found in novels studied, including: 1) Love - the uncovered and sincere love led to a healthy love and respectable acceptance, while the covered and insincere love made the relationships alienated. 2) Moral - considerate relationships and diligence brought prosperities. 3) Misbehavior - drinking alcohol caused the loss of sense and fights. And 4) sexual equality - self-awareness of being homosexual persons and acceptance from the public very much affected lives improvement. This theme in Y-novel initiated understandings and respects from the public toward this alternated sex.