การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะของความขัดแย้งที่ปรากฏในเรื่องสั้นช่อการะเกดปี 2553 และวิธีการแก้ไขปัญหาการขัดแย้งในเรื่องสั้นช่อการะเกดปี 2553 โดยคัดเลือกจากเรื่องสั้นที่ตีพิมพ์ในนิตยสารช่อการะเกด ฉบับที่ 51-54 จำนวน 69 เรื่อง เสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะความขัดแย้งที่ปรากฏในเรื่องสั้นช่อการะเกดปี 2553 มี 4 ลักษณะคือ 1) ความขัดแย้งภายในใจของตัวละคร เกิดจากความสับสนภายในใจที่ทำให้ตัวละครต้องตัดสินใจเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง 2) ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์เป็นความขัดแย้งระหว่างสามีกับภรรยา ซึ่งประพฤตินอกใจคู่ครอง ไม่รับผิดชอบครอบครัว ความขัดแย้งระหว่างบิดามารดากับบุตร เกิดจากการแตกต่างด้านวัยและการศึกษา ความขัดแย้งระหว่างญาติกับญาติ มีสาเหตุที่เกิดจากเรื่องของทรัพย์สินเงินทอง การเห็นแก่ตัว และความขัดแย้งระหว่างบุคคลในสังคม เกิดจากสาเหตุสำคัญคือการต้องการอำนาจ ความโลภ การแบ่งชนชั้น การไม่เอื้อเฟื้อและไม่มีน้ำใจให้กัน 3) ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับสังคม เป็นความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับบรรทัดฐานทางสังคมเกิดจากการไม่เห็นความสำคัญของการปฏิบัติตามกฎหมายและศีลธรรม ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับค่านิยมทางสังคม เกิดจากการมีทรรศนะและมุมมองที่ผิดแผกไปจากคนอื่น ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับจารีตประเพณี เกิดจากการมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับศีลธรรม เกิดจากมนุษย์ไม่เคารพศรัทธาศาสนา ไม่มีคุณธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ 4) ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ เกิดจากการที่มนุษย์ต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติซึ่งมนุษย์ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากมนุษย์ทำลายสภาพแวดล้อม ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับสัตว์เกิดจากมนุษย์รังเกียจสัตว์บางชนิด นอกจากนี้เป็นความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ ได้แก่ ผี ปีศาจ และความเชื่อไสยศาสตร์ที่สืบทอดจากโบราณ ความขัดแย้งดังกล่าวสะท้อนให้เห็นปัญหาวิถีชีวิตของคนไทยในยุคปัจจุบันที่เผชิญกับความเจริญของสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง การวิเคราะห์วิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในเรื่องสั้นช่อการะเกดปี 2553 พบว่า มีวิธีการแก้ไข 8 วิธี ได้แก่ 1) การขอความช่วยเหลือ เช่น ตัวละคร ขอความช่วยเหลือจากผู้ที่มีความวิชาความรู้และมีประสบการณ์ เป็นต้น 2) การฆ่าตัวตาย เมื่อตัวละครสิ้นหวังก็จะฆ่าตัวตายหนีปัญหา 3) การใช้วาจา เป็นการใช้คำพูดที่มีเหตุมีผลในสถานการณ์ที่เกิดปัญหา 4) การแสวงหาสิ่งอื่นช่วยเหลือหรือใช้สิ่งอื่นทดแทน เป็นวิธีที่นำสิ่งอื่นมาช่วยทดแทน เช่น สิ่งของ บุคคล สัตว์ และศาสนา เป็นต้น 5) การพึ่งศาสนา เป็นการใช้วิธีศาสนาเพื่อให้จิตใจสบายช่วยลดทอนปัญหาที่เกิดขึ้น 6) การยอมรับเป็นการรับสภาพที่เป็นจริงโดยไม่มีข้อโต้แย้ง 7) การนิ่งเฉย เป็นวิธีที่ตัวละครไม่ต่อสู้หรือไม่โต้แย้ง 8) การกระทำด้วยตนเอง เป็นการแก้ไขปัญหาโดยไม่ได้พึ่งพาหรือขอความช่วยเหลือจากคนอื่น วิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า เมื่อมนุษย์เผชิญกับปัญหาในชีวิต ก็จะแสวงหาทางออกเพื่อลดความตึงเครียดและความทุกข์ รวมทั้งเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายตามที่ต้องการ
This study aims to analyze characteristics of the conflicts found in short stories of Chor Koraked Award in 2010 and solutions to their conflicts. The sample stories include 69 short stories published in the 51st-54th issues of Chor Koraked Magazine and the study results of these short stories are presented in the method of descriptive analysis. The study reveals that conflicts found in Chor Koraked short stories in 2010 have the following four major characteristics; 1) Internal conflicts of a character refer to the conflicts inside character's mind that force the characters to select one of the choices. 2) Man vs. man conflicts refer to the confilcts between husband and wife. The conflicts are caused by either the husband or the wife cheating on the other party or not being proper responsible for familial duties. Man vs. man conflicts can also occur between parents and their children. These conflicts are resulted by aging and educational gap. Conflicts between a relative and another relative are caused by money issues as well as selfishness. Conflicts among members of a society are significanty attributed to the desire for power, greed, caste division, and the lack of kindness. 3) Man vs. society conflicts concern the conflicts between humans and soical norms. These conflicts occur when a member of the society thinks it is not necessary to abide by the laws and ethics. Man vs, ethnicity conflicts are caused by differences in physical apperance and cultures. Man vs. social value conflict occur when someone's point of view and attitude are different from others. Man vs. custom conflicts are found when way of living is changed over time. Man vs. moral as spiritual shelter. 4) Man vs. nature conflicts occur when humans encounter natural disasters which are inevitable becuase they have destroy the environment. There are also man vs. animal conflicts when humans detest some kinds of animals. 4) Man vs. superstition conflicts refer to the situations when humans have conflicts against ghosts or superstitious figures caused by the beliefs inherited from generation to generation. Such conflicts reflect the problems of Thai people's ways of living that are facing the advancement of the changing society. The analysis shows that there are eight solutions to the conflicts in Chor Koralet short stories in 2010. The eight solutions are as follows; 1) Asking for help. A character asks for help from those who have knowledge and experience. 2) Committing a suicide. When hopeless, a character commits a suicide to escape from the problem 3) Talking. A character uses reasonable talk relevant to the problematic situation. 4) Seeking for assistance or using something else in place of the other one such as things, animals, or religions. 5) Seeking shelter from religion is to use religion as a tool to pacify the character's mind and relieve the problem. 6) Accepting means to accept the factual condition without argument. 7) Keeping silent is the situation where a character neither fights nor argues. 8) Taking action on his/her own refers to the situation when a character resolves the problem independently or without support from anyone else. Such resolutions show that when humans face problems in life, they will find a way out to relieve the stress and hardship as well as to achieve their goal.