การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์ภาพสะท้อนคนไทยเชื้อสายจีนกลุ่มอั้งยี่ในนวนิยายชุด เลือดทระนง และเพื่อวิเคราะห์แนวคิดในนวนิยายชุด เลือดทระนง จำนวน 3 เล่ม คือ เพลิงพยัคฆ์ ไฟ ... รักมังกร และอัสดรพิโรธ โดยนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า นวนิยายชุด เลือดทระนงสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยเชื้อสายจีนกลุ่มอั้งยี่ที่อพยพและดำรงชีวิตในช่วงการเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง มีลักษณะสังคม 3 ด้าน คือ 1) วิถีชีวิตของคนไทยเชื้อสายจีน ที่มีที่อยู่อาศัย การประกอบอาชีพ และลักษณะครอบครัวที่แสดงถึงฐานะความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน 2) ความสัมพันธ์ของคนไทยเชื้อสายจีนในกลุ่มอั้งยี่ มีการเข้ารวมกลุ่มที่มีความสัมพันธ์แบบช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตามจุดมุ่งหมายของกลุ่มอั้งยี่ที่ได้สืบทอดมาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการทำพิธีกรรมรับสมาชิกใหม่ การมีบทบาทหน้าที่ของหัวหน้ากลุ่มและลูกน้อง ทั้งนี้ พบว่า กลุ่มอั้งยี่มีปัญหาความขัดแย้งในกลุ่มและปัญหากับคนไทย 3) วัฒนธรรมจีนของคนไทยเชื้อสายจีนในกลุ่มอั้งยี่ มีความเชื่อและประเพณี มหรสพของคนจีน และการเรียนภาษาด้านแนวคิดในนวนิยายชุด เลือดทระนง พบว่า สะท้อนแนวคิด 4 ด้านหลัก คือ 1) แนวคิดเกี่ยวกับคุณสมบัติของคนไทยเชื้อสายจีน ที่มีความรักชาติ ความรักพวกพ้อง การต่อสู้กับโชคชะตาชีวิต การแก้แค้น และการมีวิสัยทัศน์ในชีวิต 2) แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษา คนไทยเชื้อสายจีนได้ศึกษาในระบบโรงเรียน และการศึกษานอกระบบโรงเรียน 3) แนวคิดเกี่ยวกับความรัก เป็นความรักระหว่างหนุ่มสาว และความรักของสมาชิกในครอบครัว และ 4) แนวคิดเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมได้แก่ ความกตัญญู ความเข้มแข็ง ความรับผิดชอบ ความประหยัด การไม่เอาเปรียบคนอื่น ความอดทนและความขยันหมั่นเพียร และความมีน้าใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน.
This research aimed to analyze the reflection of Thai-Chinese in Ang Yi Gang (Chinese secret society) from Novel Series of Luard Toranong (The arrogant blood) which comprising three volumes; Pleng Payak (The fighting tiger), Fai Rack Mungkorn (The dragon's love), and Asadorn Pirote (The furious excellent horse). The findings presented as descriptive analysis. The novel series reflected the Thai-Chinese in Ang Yi gang who migrated and lived in Thailand during the World War II in 3 areas 1) Livelihood; Chinese family had difference in family residences, occupations, and family status, 2) Relationship; There were a tie relationship among groups that had mutual supports focus on the purpose of Ang Yi groups derive from China, reflecting on traditions in welcoming new members, roles of the heads to their subordinated. However, there were some conflicts in gang and some with Thais. 3) Chinese culture; Thai-Chinese in Ang Yi gang maintained rituals, belief, and traditions, including entertainment, and language learning. Novel series of Luard Toranong reflects four concepts as: 1) the concept of the characteristics; Thai-Chinese can be classified as patriotism, unity, fighting against vengeance, destiny and life, and having their own vision, 2) the concept of education; Thai-Chinese people have studied both in the school system and non-formal eduacation, 3) the concept of love; there is love between man and woman, and love of family members, and 4) the concept of ethics; Thai-Chinese people have values of gratitude, patience, responsibility, frugality and simplicity, mercy, perseverance, and mutual aid/unity.