การวิจัยเรื่องภาพสะท้อนสังคมชาวประมงจากวรรณกรรมของอัศศิริ ธรรมโชติ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนสังคมชาวประมงจากวรรณกรรมของอัศศิริ ธรรมโชติ โดยใข้การวิเคราะห์เชิงพรรณนาจากวรรณกรรม จำนวน 5 เล่ม ได้แก่ ขอบฟ้าทะเลกว้าง โลกสีน้ำเงิน ทะเลร่ำลมโศก บ้านริมทะเล และเหมือนทะเลมีเจ้าของ ผลการวิจัยพบว่า วรรณกรรมทั้ง 5 เล่ม ได้สะท้อนให้เห็นสภาพสังคมของชุมชนชาวประมงใน 3 ด้าน ได้แก่ 1) วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ประกอบด้วยที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นบ้านหลังเล็กๆ ริมทะเล สร้างจากวัสดุที่หาได้ง่ายจากธรรมชาติ ด้านอาหารการกินของชาวประมงส่วนใหญ่เป็นอาหารสดจากทะเลในด้านความสัมพันธ์ของสมาชิกชุมชนมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ความสามัคคีและคอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 2) วัฒนธรรม ชุมชนชาวประมง มีค่านิยมในการเคารพและกตัญญูต่อบิดามารดาและผู้อาวุโส ในด้านความเชื่อของชุมชนประมง แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ 1) เชื่อในอำนาจที่ลึกลับ 2) ความเชื่อที่สืบทอดกันมา 3) การประกอบอาชีพและการเปลี่ยนแปลงของชุมชน การประกอบอาชีพที่สืบทอดกันมาแต่เดิม คือ การทำประมงชายฝั่ง ซึ่งพึ่งพาธรรมชาติ และประสบการณ์ที่สืบทอดกันมา หลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคม อันได้แก่ การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการทำอาชีพประมง และนโยบายการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบริเวณพื้นที่ริมทะเลของรัฐบาล เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของชุมชนชาวประมง ทั้งในด้านการประกอบอาชีพและด้านวิถีชีวิต ส่วนแนวคิดที่สะท้อนผ่านวรรณกรรมของอัศศิริ ธรรมโชติ ได้เสนอแนวคิดทั้ง 3 ด้านคือ 1) แนวคิดเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรม ทำให้ผู้อ่านรู้จักกตัญญูต่อผู้มีพระคุณต่อตนเอง และมีความขยันหมั่นเพียรในการทำงนและมีความกล้าหาญในชีวิตประจำวัน 2) แนวคิดเกี่ยวกับปัญหาสังคม ปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำในเรื่องกระจายรายได้ อาชีพ สถานภาพระหว่างผู้หญิงกับผู้ชายและชนชั้น ปัญหาของสิ่งแวดล้อมระบบนิเวศที่ว่า ชาวประมงเรือลำใหญ่ไม่อนุรักษ์สัตว์น้ำ จึงทำให้สัตว์น้ำเกือบสูญพันธุ์ไป 3) ความคิดของรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่มีความแตกต่างกัน ความคิดของรุ่นเก่าไม่ค่อยยอมรับกับสิ่งใหม่ๆ ส่วนความคิดของรุ่นใหม่นิยมเสรีและชอบแสวงหาความจริงและความท้าทาย
This research aimed to analyze reflections of fishermen communities in Ussiri Dhamachot's literacy works. A descriptive analysis was used to study five texts, which are 1) Korb-fa-talay-gewang (Broad Horizon and Sea), 2) Loak-si-num-ngen (The Blue Earth), 3) Talay-run-lom-soak (Crying Sea and Sad Wind), 4) Bann-rim-talay (The Seashore Houses), and 5) Meun-talay-mee-chaw-cong (As though the sea was possessed). It was found that the five texts had reflected the fishermen communities in three areas, which are 1) ways of living, including the small size of seashore houses constructed from easily acquired materials; the daily food which was from the sea; the communities are unity and dependence on each other. 2) The community traditions includes the value of gratefulness, and two ways of beliefs, which are Buddhism and beliefs in the supernatural. Adn 3) the fishery profession, showing the inherited coastal fishery that depended on the nature and delivered experiences; the social changes caused by modern technologies in fishery and governmental policies of tourism mainly affected the fishery profession and ways of living. Regarding to the themens presented in Ussiri's works, three aspects were found, which are 1) the ethical ideas focusing on gratefulness to one's supporters, deligent working, and bravery in daily living. 2) the social inequality includes income distribution; social classes; ecological problems caused by industrial fishery regardless of aquatic animals. And 3) the different thoughts of old and new generations, showing that old people rejected new things, while younger people preferred truth, and challenges.