การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนสังคมชนบทไทยในนวนิยายชุด ฟ้าห่มดิน และเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาสังคมชนบทไทยในนวนิยาย ชุด ฟ้าห่มดิน โดยศึกษาจากนวนิยายชุด ฟ้าห่มดิน จำนวน 5 เล่ม ได้แก่ น้ำห่มดิน เสือล่องวารี พายุ นอกกองเพลิง และ มุดอ ตุวอ ผลการวิจัยพบว่า นวนิยายชุด ฟ้าห่มดิ ได้สะท้อนภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมชนบทไทย 2 ด้าน คือ วิถีชีวิตชนบทแบบดั้งเดิม และวิถีชีวิตชนบทที่เปลี่ยนแปลงไป ด้านวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม พบว่า ที่อยู่อาศัยเป็นบ้านไม้ มีสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่สวยงาม มีอาชีพทำไร่ทำนา นำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาปรุงอาหาร ใช้รถจักรยานเป็นพาหนะที่สำคัญ มีประเพณีการแข่งเรือแบบดั้งเดิม ทำให้คนในชนบทได้สนุกสนานร่วมกัน มีประเพณีงานศพของชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมที่จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงคนตายและให้กำลังใจคนอยู่ แต่ต่างกันที่ชายไทยพุทธจะจัดเรียบง่ายกว่า ส่วนของชาวไทยมุสลิมจัดอย่างยิ่งใหญ่ และใช้เงินมาก นอกจากนี้ ชาวไทยมุสลิมยังได้ปฏิบัติประเพณีการละศีลอดเป็นอย่างดี เพื่อให้ชาวไทยมุสลิมรู้จักความอดกลั้นอดทน และไม่ท้อถอยอย่างง่าย ส่วนวิถีชีวิตชาวชนบทที่เปลี่ยนแปลงไป พบว่า มีการสร้างบ้านหลังใหม่ มีกำแพง มีโรงรถ สิ่งแวดล้อมชนบทถูกทำลายด้วยการก่อสร้างอาคารต่างๆ เพิ่มขึ้น ด้านครอบครัว สมาชิกในครอบครัวเริ่มต้องการแยกครอบครัวออกไป ผู้นำครอบครัวมีบทบาทสำคัญในครอบครัว คนในครอบครัวรักผูกพัน และเสียสละให้กัน คนชนบทเริ่มให้ความสำคัญกับการศึกษา และเด็กชนบทฝันอยากเรียนมหาวิทยาลัย ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาสังคมชนบทในนวนิยายชุด ฟ้าห่มดิน พบว่า ปัญหาสังคมชนบทไทยมี 5 ประการ คือ 1) ปัญหาด้านครอบครัว มีปัญหาระหว่างสมาชิกในครอบครัว ปัญหาผู้สูงอายุ และปัญหาการไม่ได้อยู่ร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว 2) ปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ มีปัญหาสิ่งแวดล้อ ปัญหาเรื่องความเจ็บป่วย ปัญหาการรักษาพยาบาล และปัญหาความยากจน 3) ปัญหาด้านการศึกษา มีปัญหาการขาดสถานที่จัดการศึกษา ปัญหาการขาดครูสอน ปัญหาการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษา และปัญหาการเลิกเรียนกลางคัน 4) ปัญหาความรุนแรงในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 5) ปัญหาความขัดแย้งของชาวไทยมุสลิม และด้านแนวทางแก้ไข ปัญหาสังคมชนบทไทยจะมีจำนวนไม่มาก สรุปได้เป็น 2 แนวทาง คือ 1) ชาวบ้านที่อยู่ร่วมในสังคมชนบทไทย แก้ปัญหาด้วยตัวเองโดยให้มีคุณธรรม มีความกตัญญู มีนิสัยความอดทน ขยันหมั่นเพียร มีน้ำใจเอื้อเฟื้อ และได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 2) ทางรัฐบาลช่วยเหลือในด้านตั้งสถานที่สาธารณะให้สมบูรณ์ และออกข้อกำหนดให้
The research aimed to analyze reflections of Thai rural society in 'Fah Hom Din' novel series. To sort out the problems in Thai rural society and their solutions were the main target of the study. Five titles of the series were studied, including Nam-hom-din; Seu-long-waree; Phayu; Nog-gong-phleng; and Mu-dor-Tu-wor. The research found two aspects of ways of life of Thai rural people, including the traditional and the modern. For the traditional way of life, people lived in simple wooden houses with natural surroundings. Agriculture waas their career and provided them food. Bicycles were generally used. Social traditions, like the annual regatta or the fueral, caused social contacts of joy or sympathy. It was noticeable that Buddhist Thai funeral seemed simpler than the Muslim one which spent more money. However, the Muslims have their annual fast which cultivates their tolerance. On the contary, the modern way of life, people constructed big housed with walls and garages. Natural surrondings were encroached by buildings. Nuclear families were increased, and family heads played major roles in the family. Family members were closely connected and devoted. Education increasingly important, and rural students dreamed to study in universities. For problems and solutions in Thai rural society, the studied novels reflected five areas of problems, including 1) family problems, relating to conflicts between family members; deserted elders; and divided living of family members. 2) Living conditions, including the environment; problems of health and treatment; and poverty. 3) Education problems, dealing with insufficient schools and teahcers; the low esteem of education of rural people, causing the stop of schooling 4) The unrest in three southern border provinces. 5) The conflict of Thai Muslim people. For the solutions, two presented ways were notices, including 1) the coordination of local people by enhancing their moral qualities of gratitude; tolerance; diligence; generosity and public assistance. 2) The government support by providing public areas with fair rules or regulations.