การวิเคราะห์เพลงพื้นบ้านของชนเผ่าจ้วงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อเพลงของเพลงพื้นบ้านชนเผ่าจ้วง และวิเคราะห์ภาพสะท้อนสังคมที่ปรากฏในเพลงพื้นบ้านชนเผ่าจ้วง ผู้วิจัยรวบรวมศึกษาเพลงพื้นบ้านชนเผ่าจ้วงของสาธารณรัฐประชาชนจีนจากหนังสือและเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจำนวน 100 เพลง ผลการวิจัยพบว่า เพลงพื้นบ้านของชนเผ่าจ้วงที่ผู้วิจัยศึกษาวิเคราะห์มี 6 ประเภท ได้แก่ 1) ประเภทความรัก เป็นความรักระหว่างหนุ่มสาวระหว่างชาวบ้านที่มีต่อวัฒนธรรมของชนเผ่าตนเอง 2) ประเภทขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นเพลงที่แสดงให้เห็นถึงประเพณีในงานแต่งงานและความสนุกสนาานในเทศกาลร้องเพลงของชนเผ่าจ้วง 3) ประเภทการทำงาน เป็นเพลงที่บันทึกชีวิตและอาชีพการทำงานของชาวจ้วง 4) ประเภทธรรมชาติ เป็นเพลงที่เกี่ยวกับธรรมชาติที่อยู่รอบๆ ตัวของชาวจ้วง แสดงให้เห็นชีวิตที่เรียบง่ายและการอยู่อย่างมีความสุขของชาวจ้วง 5) ประเภทข้อร้องเรียน ประชด ประชัน เป็นเพลงที่แสดงความกล้าหาญของชาวบ้านที่ลุกขึ้นต่อสู้กับอำนาจของพวกขุนนางใจดำ และ 6) ประเภทปฏิพากย์ เป็นเพลงที่ร้องโต้ตอบกันระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงส่วนมากเป็นเพลงที่เกี่ยวกับความรัก ร้องในโอกาสทำงานหรือในเทศกาลร้องเพลงของทุกๆ ปี ด้านการวิเคราะห์ภาพสะท้อยของสังคมที่ปรากฏในบทเพลงพื้นบ้านของชนเผ่าจ้วง ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ตามประเด็นทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านชีวิตความเป็นอยู่ ชาวจ้วงอาศัยอยู่กับสิ่งธรรมชาติจึงประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก 2) ด้านสถานะทางสังคม คนรวยมีฐานะทางสังคมที่สูงและฐานะทางสังคมของผู้ชายสูงกว่าผู้หญิง 3) ด้านวัฒนธรรมในสังคม ชาวจ้วงเชื่อเทพเจ้าทั้งหลายที่เกี่ยวกับธรรมชาติและมีประเพณีต่างๆ ที่เกี่ยวกับเพลงพื้นบ้าน 4) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคม ชาวจ้วงเป็นคนที่มีน้ำใจและชอบช่วยเหลือคนอื่น แต่ชาวบ้านถูกนายทุนขูดรีดเอาเปรียบเหมือนเป็นทาสรับใช้ของนายทุน ขยันทำงานแต่ไม่ได้เงินตอบแทนที่พอสมควร และ 5) ด้านบุคลิกลักษณะนิสัยคนในสังคม ชาวจ้วงเป็นกลุ่มคนที่ขยันทำงาน ไม่เกี่ยงงาน และเป็นคนที่กล้าหาญ กล้าที่จะต่อสู้กับสิ่งที่ไม่ยุติธรรม ผู้วิจัยหวังว่างานวิจัยนี้จะช่วยให้คนไทยเข้าใจวัฒนธรรมชนเผ่าจ้วงของสาธารณรัฐประชาชนได้มากขึ้น และส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้ใกล้ชิดขึ้น
This research aimed to study the lyrics of Zhuangzu folk songs that translated into Thai and analyze reflections of its society shown in the lyrics. One hundred Zhuangzu folk songs, from published texts and websites accessible through the internet, were studied. The research found that Zhuangzu folk songs could be sorted into six groups which were: 1) Love songs, of young lovers and of folks for their indigenous traditions; 2) Cultural songs, relating to Zhuangzu wedding ceremony and joy in the singing festival; 3) Working songs, describibg lives and careers of Zhuangzu folks; 4) Songs of the nature, reflecting the natural surroundings of Zhuangzu folks who lived simple and peaceful lives; 5) Songs of compliant and irony, showing the bravery of floks reacting to the vice authority; and 6) Dialogue songs, mostly relating to love of youth usually sung during working or in the annual singing festival. Regarding to reflections of Zhuangzu society, the analysis could be grouped into five areas, which were: 1) Ways of living, almost was agricultural life style; 2) Social status, being observed that the rich was regarded higher than the poor and male higher than female; 3) Social culture, showing beliefs in gods of the nature and traditions related to folk songs; 4) Inter-personal relationships, reflected that kind and generous folks were corrupted by the magnates and treated as slaves; and 5) Personalities of members of the society, generally Zhuangzu people were dilight, brave, and fighters against injustice. The researcher expected that all findings would be useful in the promotion of good understanding and relationship between Thai and Zhuangzu people.