dc.contributor.advisor |
จิตรลดา แสงปัญญา |
|
dc.contributor.advisor |
Chitralada Sangpunya |
|
dc.contributor.author |
Mo, Lingfen |
|
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts |
|
dc.date.accessioned |
2022-09-03T13:14:21Z |
|
dc.date.available |
2022-09-03T13:14:21Z |
|
dc.date.issued |
2017 |
|
dc.identifier.uri |
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/649 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2560 |
th |
dc.description.abstract |
งานวิจัยเรื่อง ปัญหาครอบครัวในสังคมไทย : ภาพสะท้อนจากนวนิยายไทยช่วง พ.ศ. 2508 - 2557 มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาครอบครัวในสังคมไทยที่สะท้อนผ่านนวนิยาย แนวชีวิตครอบครัวไทยช่วง พ.ศ. 2508 - 2557 ผลจากการศึกษาวิเคราะห์นวนิยายสี่เรื่อง ได้พบปัญหาครอบครัวที่สะท้อนจากนวนิยาย ดังนี้ 1) ปัญหาเกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของสมาชิกในครอบครัว พฤติกรรมที่ทำให้เกิดปัญหา ได้แก่ สามี คบหาสนิทสนมกับผู้หญิงอื่นและมีพฤติกรรมนอกใจภรรยา การไม่พูดจาเพื่อทำความเข้าใจระหว่างกัน และ พฤติกรรมที่ขาดสติเนื่องจากเมาสุรา 2) ปัญหาเกิดจากการรับค่านิยมจากตะวันตกที่เห็นว่าการหย่าร้างเป็นเรื่อง ปกติ การสมรสครั้งที่สองของผู้หญิงไม่ใช่เรื่องน่าอับอาย และการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงหรือชายที่ไม่ใช่คู่สมรส เป็นเรื่องธรรมดาในสังคมปัจจุบัน 3) ปัญหาเกิดจากปัญหาเศรษฐกิจ รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ทำให้เกิด ความเครียดหรือต้องทำงานเพิ่มเติมจนไม่มีเวลาให้ครอบครัว ชีวิตสมรสห่างเหิน และมีปัญหาการแย่งชิงทรัพย์ สมบัติและปัญหาความเห็นแก่ตัว และ 4) ปัญหาเกิดจากพื้นฐานวิถีชีวิตแตกต่างกันทำให้มีปัญหาในการปรับตัว ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาครอบครัวเกิดจากปัจจัย 2 ประการ ประการที่หนึ่งคือสาเหตุจากปัจจัย ส่วนบุคคล ได้แก่ ลักษณะนิสัยส่วนตัว บุคลิกภาพและพฤติกรรมของบุคคลในครอบครัว หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในครอบครัวที่ส่งผลให้เกิดปัญหา ประการที่สองคือสาเหตุจากปัจจัยแวดล้อม ได้แก่ 1) ความ เปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว ผู้หญิงได้รับการยอมรับและมีบทบาทสาคัญในสังคมมากขึ้น เมื่อประสบปัญหาครอบครัวจึงสามารถถอนตัวออกจากปัญหาด้วยวิธีต่าง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาผู้ชาย 2) ความเปลี่ยนแปลงทางด้านค่านิยมและทัศนคติคนรุ่นใหม่คิดว่า การหย่าร้าง การมีเพศสัมพันธ์ก่อนการ แต่งงาน หรือการเคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องธรรมดาและไม่เป็นเรื่องที่น่าอับอาย ในด้านการเลือกคู่ครอง หญิงชายรุ่นใหม่เป็นผู้ตัดสินใจเลือกคู่ครองโดยคำนึงถึงความรักความชอบของตนเองเป็นสำคัญ 3) ความเสื่อม โทรมทางด้านศีลธรรมของประชาชนในสังคมยุคใหม่ ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่ผิดศีลธรรมมากขึ้นในครอบครัว รวมทั้งทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ในครอบครัว และ 4) การให้ความสำคัญด้านวัตถุนิยมและทุนนิยมทำให้วิถีชีวิต เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผู้คนในสังคมต้องแบกภาระงานมากขึ้นเพื่อสนองตอบค่านิยมในด้านนี้ จนเป็นสาเหตุที่ ทำให้ครอบครัวเกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจและทำให้ความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวห่างเหินกันไปเรื่อย ๆ |
th |
dc.description.abstract |
The research entitled as "Family Problems in Thai Society: Reflection from Thai Novels during 1965-2014 aimed at analyzing problems and causes of family problems reflexed in Thai novels which talking about family lives during 1965-2014. It was found four sample novels that there are main family problems 1) family members' improper behaviors, for example, too-closed relationships between husband and other women which leaded to an adulterous affairs, sullen silences between a spouse or senselessly drunken actions 2) perception derive from western society that neither divorcement nor women's second marriage are disgraceful or sexual intercourse between others who are not one's couple which have became so simple among today's social lives 3) economic problems which brought about severetension, hardworking that make family members neglect their responsibilities, cold marries lives or estate war of selfishness 4) mal-adjustment between couple because of different social bases. Nevertheless, family problems is caused by both inner problems like family members' characters, personalities or habits affected by environmental factors and outers problems which are: 1) changing of family roles that makes women can live by themselves so that they dare to separate from their own family whenever serious problem occur 2) changing of social values that it is possible to divorce, have intimate intercourse out of wedlock or whoecer can choose "his/her beloved" by himself/herself 3) moral degeration leading to adultery or any family problems 4) capitalism and materialism in today's world influencing people's ways of lives so that they have to work harder, suffer from economic problems and stormy relationships. |
th |
dc.language.iso |
th |
th |
dc.publisher |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
th |
dc.subject |
ครอบครัวในวรรณกรรม |
th |
dc.subject |
Families in literature |
th |
dc.subject |
ครอบครัวแตกแยก |
th |
dc.subject |
Broken homes |
th |
dc.subject |
นวนิยายไทย -- ประวัติและวิจารณ์ |
th |
dc.subject |
Thai fiction -- History and criticism |
th |
dc.subject |
การวิเคราะห์เนื้อหา |
th |
dc.subject |
Content analysis (Communication) |
th |
dc.subject |
ไทย -- ภาวะสังคม |
th |
dc.subject |
Thailand -- Social conditions |
th |
dc.title |
ปัญหาครอบครัวในสังคมไทย : ภาพสะท้อนจากนวนิยายไทยช่วง พ.ศ. 2508-2557 |
th |
dc.title.alternative |
Family Problems in Thai Society : Reflection form Thai Novels during 1965-2014 |
th |
dc.type |
Thesis |
th |
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
th |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
th |
dc.degree.discipline |
การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง |
th |