DSpace Repository

ภาพสะท้อนและกลวิธีการเขียนวรรณกรรมที่เกี่ยวกับคนไทยเชื้อสายจีนกวางตุ้งของยุวดี ต้นสกุลรุ่งเรือง

Show simple item record

dc.contributor.advisor พัชรินทร์ บูรณะกร
dc.contributor.advisor Patcharin Buranakorn
dc.contributor.author Pang, Qianwen
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
dc.date.accessioned 2022-09-03T13:35:53Z
dc.date.available 2022-09-03T13:35:53Z
dc.date.issued 2012
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/651
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2555 th
dc.description.abstract งานวิจัยเรื่อง ภาพสะท้อนและกลวิธีการเขียนวรรณกรรมเกี่ยวกับคนไทยเชื้อสายจีนกวางตุ้ง ของ ยุวดี ต้นสกุลรุ่งเรือง มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนของคนไทยเชื้อสายจีนกวางตุ้งในวรรณกรรม ของยุวดี ต้นสกุลรุ่งเรือง และวิเคราะห์กลวิธีการเขียนวรรณกรรมที่่เกี่ยวกับคนไทยเชื้อสายจีนกวางตุ้ง ของ ยุวดี ต้นสกุลรุ่งเรือง ผลการวิจัยพบว่า ยุวดี ต้นสกุลรุ่งเรือง ได้นำเสนอภาพสะท้อนของคนไทยเชื้อสายจีนกวางตุ้งในด้านครอบครัวซึ่งนิยมมีครอบครัวใหญ่ มีความเชื่อว่าคนจำนวนมากในครอบครัวจะได้ร่วมแรงร่วมใจทำมาหากิน ด้านคุณธรรม คนไทยเชื้อสายจีนกวางตุ้งเป็นกลุ่มคนที่มีคุณธรรมและมีความซื่อสัตย์สุจริตต่อสังคม มีความกตัญญูกตเวที มีความขยันหมั่นเพียร และอดทน มีการพึ่งตัวเอง รู้จักประหยัด และมีอาหารการกินที่กลายเป็นวัฒนธรรมซึ่งปรากฏในสังคม คนจีนกวางตุ้งอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยได้กระจายไปอาศัยอยู่ในพื้นที่ของคนไทยตามแม่น้ำหรือท่าเรือต่างๆ มีฐานะแตกต่างกันทั้งคนรวย คนยากจน ชาวนา ชาวไร่ นอกจากนี้ คนไทยเชื้อสายจีนกวางตุ้งต้องการสร้างฐานะ จึงต้องหาความช่วยเหลือจากคนไทยอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยเชื้อสายจีนกวางตุ้งกับคนไทยในสังคมไทย มีความใกล้ชิดกัน ด้านสถานะของผู้หญิงกวางตุ้ง เป็นเพศอ่อนแอ เชื่อฟังตามผู้ใหญ่และสามี เป็นคนเรียบร้อย และเข้าใจคนอื่น มีความกตัญญู และเป็นคนที่ปฏิบัติตามประเพณีอย่างเคร่งครัด ด้านกลวิธีการเขียนสารคดีที่เกี่ยวกับคนไทยเชื้อสายจีนกวางตุ้งของ ยุวดี ต้นสกุลรุ่งเรือง พบว่าผู้เขียนใช้การตั้งชื่อเรื่อง การตั้งชื่อสถานที่ อาชีพ ชื่ออาหาร กวางตุ้ง และลักษณะของคนไทยเชื้อสายจีนกวางตุ้ง โดยตั้งชื่อเป็นภาษากวางตุ้ง ที่แสดงถึงแนวคิดสำคัญของเนื้อเรื่อง ผู้เขียนใช้การเปิดเรื่องโดยใช้คำถาม ใช้บทนำ และใช้สำนวนกวางตุ้ง ทำให้แนวคิดสำคัญที่ปรากฏในเรื่องชัดเจนยิ่งขึ้น ด้านการเสนอเรื่องผู้เขียนใช้การเสนอเรื่องเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ การแสดงเหตุผล การยกตัวอย่าง และการเสนอเรื่องให้น่าสนใจ ที่ให้ผู้อ่านได้รับสาระความรู้และความเพลิดเพลินในเวลาเดียวกัน ด้านการปิดเรื่อง ผู้เขียนปิดเรื่องด้วยการบอกวัตถุประสงค์การอ้างอิง การใช้เพลง และใช้สำนวนจีนสร้างความประทับใจเมื่ออ่าน ด้านการใช้ภาษา ผู้เขียนใช้คำ ใช้สำนวนจีน และใช้โวหาร ที่ทำให้ผู้อ่านจับแนวคิดสำคัญของเนื้อเรื่องอย่างชัดเจนไม่ซับซ้อนทำให้ผู้อ่านอยากอ่านติดตามต่อไป กลวิธีการเขียนบันเทิงคดีที่เกี่ยวกับคนไทยเชื้อสายจีนกวางตุ้ง ของ ยุวดี ต้นสกุลรุ่งเรือง ผู้เขียนเสนอแนวคิดสำคัญเกี่ยวกับครอบครัว การแต่งงาน และคุณธรรมของคนไทยเชื้อสายจีนกวางตุ้ง ทำให้เนื้อเรื่องมีชีวิตชีวา ผู้เขียนเปิดเรื่องด้วยการพรรณนาฉากแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวละคร ทำให้เนื้อเรื่องมีความตื่นเต้นเร้าใจ ผู้เขียนใช้กลวิธีสร้างความขัดแย้ง 3 ประการ คือ ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับสังคม และความขัดแย้งในใจของมนุษย์เอง ผู้เขียนปิดเรื่องแบบสุขนาฏกรรม โดยให้ข้อคิดว่าจะผ่านเรื่องร้ายได้ต้องมีความหวัง และมีความพยายามต่อสู้ไม่ยอมแพ้ ด้านตัวละคร ผู้เขียนสร้างตัวละครอย่างมีชีวิตชีวา ด้านฉาก ผู้เขียนสร้างฉากในชีวิตประจำวันของตัวละคร ซึ่งมีความใกล้ชิดกับผู้อ่าน ด้านบทสนทนา ผู้เขียนสร้างบทสนทนาที่เป็นธรรมชาติและสอดคล้องกับลักษณะนิสัยของตัวละคร th
dc.description.abstract The research "Reflection and writing technique of literary work Cantonese-Thais by Yuwadee Tongsakulrungruang" has the purpose to analyze the reflection of Cantonese-Thais and writing technique in the literary works of Yuwadee Tongsakulrungruang. The research reveals that Yuwadee Tongsakulrungruang presents the various reflections of Cantonese-Thais. Firstly, about family, Cantonese-Thais people prefer staying to big family because they believe that they help together in working and earning their life. Next, for the moral, Cantonese-Thais are good and honest toward society. Moreover, they are grateful, diligent and patient. They are trying to rely on themselves and economize. A part of food, food of Cantonese-Thais becomes one of cultures which appear in Cantonese-Thais society. For society, Cantonese-Thais immigrated to Thailand for working and earning their life and spread out over the rivers and harbors around Thailand. Cantonese-Thais are both rich and poor. They are farmer and agriculturists, etc. Cantonese-Thais people intent to settle in Thailand. They are usually seeking the assistance from Thai people. Because of this, the relationship between Thai and Cantonese-Thais is created closely. About the status of Cantonese-Thais female, Cantonese-Thais females are weak, always believe in elder and husband. They are very polite, sympathized, grateful and strictly traditional. In writing techniques of non-fiction about Cantonese-Thais in Yuwadee Tongsakulrungruang's literary works, in order to name title and chapter, the author use the name of location, career, Cantonese food, Cantonese-Thai's characters and namese the fiction in Cantonese language. For this reason, the readers can understand the theme and the content easily. The readers also feel pleasant with the stories. For story introduction, the author introduces the story by raising the question, using introduction and use the Cantonese idioms for the purpose to make the stories interesting and obviously reveal the stories' theme. For story presentation, the author introduces the story by raising the question, using introduction and use the Cantonese idioms for the purpose to make the stories interesting and obviously reveal the stories' theme. For story presentation, the author narrates by citing the history events, giving the reason and example. The author presents the stories interestigly which encourage the readers to enjoy and receive the benefits and knowledge in the same time. In term of closing the story, Yuwadee closes the stories by informing the objective, quoting, using songs and Chinese idioms to make the non-fiction full with knowledge, amusement and impress the reader to read till the end of each non-fiction's chapters. According to the use of language, the author use words, Chinese idioms, expression in order that the reader can understand the important content clearly without complication and provoke the reader's attention to follow next chapters. In writing techniques of fiction on Cantonese-Thais in Yuwadee Tongsakulrungruang's literary works, the author presents various themes for example, family, marriage and moral of Cantonese-Thais people to make the stories lively. For story plot, the author introduces the story by describing the scene showing the relationship betweeb characters in order to make the stories full with excitement. Yuwadee presents 3 kinds of conflicts; conflict between man and man, conflict between man and society and conflict in man's mind. This allows the reader's curiosity to follow next chapters. Moreover, the author closes the stories with comedy. The author tries to make the reader understanding that even though the characters pass the bad circumstances, they are hopeful and never give up. For characters, the author creates various characters that are lively and make the stories delighted. A part of scene, the author creates the outstanding scene with the daily life of characters to make the reader close to the stories. Lastly, for the conversation, the author creates natural conversation and matching with personality of characters. th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject ยุวดี ต้นสกุลรุ่งเรือง th
dc.subject Yuwadee Tongsakulrungruang th
dc.subject การวิเคราะห์เนื้อหา th
dc.subject Content analysis (Communication) th
dc.subject จีนกวางตุ้ง -- ความเป็นอยู่และประเพณี th
dc.subject ชาวจีน -- ไทย th
dc.title ภาพสะท้อนและกลวิธีการเขียนวรรณกรรมที่เกี่ยวกับคนไทยเชื้อสายจีนกวางตุ้งของยุวดี ต้นสกุลรุ่งเรือง th
dc.title.alternative Reflection and Writing Techniques of Literary Work on Cantonese-Thais by Yuwadee Tonsakulrungruang th
dc.type Thesis th
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account