dc.contributor.advisor | จิตรลดา แสงปัญญา | |
dc.contributor.advisor | Chitralada Sangpunya | |
dc.contributor.author | Yan, Danli | |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts | |
dc.date.accessioned | 2022-09-03T15:43:56Z | |
dc.date.available | 2022-09-03T15:43:56Z | |
dc.date.issued | 2016 | |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/663 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2559 | th |
dc.description.abstract | การวิเคราะห์กฎเกียวกับนิทานพื้นบ้านและอนุภาคในนิทานพื้นบ้านไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะสำคัญของนิทานพื้นบ้านไทยตามกฎเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้านของเอกเซลโอลริค และวิเคราะห์อนุภาคที่ปรากฏในเนื้อหาของนิทานพื้นบ้านไทย นิทานศึกษามีทั้งหมด 14 เรื่อง ประกอบด้วยนิทานที่คัดเลือกมาจากหนังสืออมตะนิทานไทย เล่มที่ 1-เล่มที่ 3 เขียนโดย แม่พลอยจันทร์ รวม 6 เรื่อง ได้แก่ 1) แก้วหน้าม้า 2) อุทัยเทวี 3) พิกุลทอง 4) โสน้อยเรือนงาม 5) ปลาบู่ทอง 6) ไกรทอง และนิทานพื้นบ้านที่คัดเลือกมาจากหนังสือนิทานชุดวรรณคดี ชุดที่ 1 ของ วิเชียร์ เกษประทุม รวม 8 เรื่อง ได้แก่ 1) จันทะโครบ 2) คาวี 3) ไชยเชษฐ์ 4) ท้าวแสนปม 5) นกกระจาบ 6) พระรถเสน 7) นางผมหอม 8) ท้าวผาแดงและนางไอ่ ผลการวิเคราะห์สรุปได้ดังนี้ นิทานพื้นบ้านไทย 14 เรื่องที่วิเคราะห์มีความสอดคล้องกับกฎเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้านของ เอกเซล โอลริค ทั้ง 12 กฎ ดังนี้ 1) กฎของการเริ่มเรื่องและการจบเรื่องมี 14 เรื่อง 2) กฎของการซ้ำมี 2 เรื่อง 3) กฎของตัวละคร 2 ตัวใน 1 ฉาก มี 14 เรื่อง 4) กฎของความตรงข้ามมี 14 เรื่อง 5) กฏของฝาแฝดมี 3 เรื่อง 6) กฎความสำคัญของตำแหน่งต้นและตำแหน่งท้ายมี 2 เรื่อง 7) กฎของโครงเรื่องเดียวมี 12 เรื่อง 8) กฎของการสร้างแบบแผนมี 2 เรื่อง 9) ฉากประทับใจมี 14 เรื่อง 10) ความสมเหตุสมผลมี 14 เรื่อง 11) เอกภาพของโครงเรื่องมี 12 เรื่อง 12) กฎของการแพ่งจุดสนใจที่ตัวละครเอกเพียงตัวเดียวมี 11 เรื่อง ทั้งนี้กฎที่มีปรากฏในทุกๆ เรื่องที่ศึกษามีด้วยกันทั้งหมด 5 กฎได้แก่ 1) กฎของการเริ่มเรื่องและการจบเรื่อง 2) กฎของตัวละคร 2 ตัวใน 1 ฉาก 3) กฎของความตรงข้าม 4) ฉากประทับใจ 5) ความสมเหตุสมผลและกฎที่มีปรากฏในนิทานที่ศึกษาน้อยสุด ได้แก่ กฎของการซ้ำและกฎของการสร้างแบบแผน ซึ่งปรากฏอยู่ในนิทานที่ศึกษาเพียง 2 เรื่อง การวิเคราะห์อนุภาคในนิทานพื้นบ้านไทย ได้วิเคราะห์ตามประเภทของอนุภาครวม 3 ด้าน ได้แก่ ตัวละคร วัตถุสิ่งของ และเหตุการณ์หรือพฤติกรรม ผลการวิเคราะห์ปรากฏว่าอนุภาคด้านตัวละครมีตัวละครที่มีลักษณะพิเศษ แยกได้เป็น 3 ฝ่าย คือ 1) ตัวละครฝ่ายดี มีตัวละครเอกที่มีลักษณะพิเศษเป็นตัวแทน มักจะมีบุญบารมีที่สามารถต่อสู้อุปสรรคขวากหนามทำให้ศัตรูพ่ายแพ้ไปในที่สุด 2) ตัวละครฝ่ายร้าย มีทั้งมนุษย์และอมนุษย์ที่มีอำนาจวิเศษหรือมีอิทธิฤทธิ์ มีบทบาทคอยกลั่นแกล้งตัวละครเอก สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน 3) ตัวละครฝ่ายสนับสนุน มีหน้าที่คอยช่วยเหลือตัวละครเอกให้รอดพ้นจากภยันตรายและยังช่วยเสริมบทบาทของตัวละครเอกให้โดดเด่นยิ่งขึ้น อนุภาคด้านวัตถุสิ่งของมีลักษณะเป็นของวิเศษซึ่งมีที่มาจาก 3 แห่ง คือ 1) ได้จากผู้วิเศษ เงื่อนไขของการได้รับของวิเศษมักจะเป็นตัวละครเอกที่ตกอยู่ในความคับขันหรือในเวลาที่เหมาะสม 2) ได้จากมารดาที่เป็นอมนุษย์ เช่น ยักษ์ นาค 3) เป็นของวิเศษที่ติดตัวมาแต่กำเนิด อนุภาคด้านเหตุการณ์หรือพฤติกรรม ซึ่งมีเหตุการณ์ 2 ประเภทที่เด่นที่สุดและสะท้อนถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไทยด้วย ได้แก่ 1) เหตุการณ์ด้านเวทมนตร์คาถา 2) เหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา | th |
dc.description.abstract | The research aimed to analyze Thai folktales according to the epic laws of folk narrative of Axel Olrik and also observed the motifs shown in the works studied. Fourteen Thai folktales, from two titles, were studied. First, Amata Nitan Thai, Vol.1-3 by Maeploychan consist of six tales, which are: 1) Kaew-na-ma, 2) U-tai-tay-we, 3) Pi-kul-tong, 4) Sanow-noi-rean-ngam, 5) Pla-boo-tong, and 6) Kri-tong. Second, Tales Selected Literaturs Vol. 1, by Wichien Kespratoom consists of eight tales, which are; 1) Chanta-ko-rop, 2) Ka-we, 3) Chai-chet, 4) Thaw-sand-pom, 5) Nok-kra-jab, 6) Pra-rota-sain, 7) Nang-phom-hom, and 8) Thaw-pha-dang-rare-nang-ai. Findings of the research showed that all fourteen Thai folk tales presented the twelve epic laws of folk narrative of Axel Olrik, which are: First, all tales showed the first law of opening and ending of folk narrative; the third law of two to a scene; the fourth law of contrast; the ninth law of tableaux scenes; the tenth law of logic; and the eleventh law of unity of plot. Second, thirteen tales presented the seventh law of single-strand. Third, ten tales showed the twelfth law of concentration on a leading character. Fourth, the second law of repetition and the fifth law of twins were found in three tales. Fifth, two tales portrayed the sixth law of the importance of initial and final positions. Lastly, only one tale presented the eighth law of patterning. Regarding to the motifs, three types were observed, which were character; objects; and events or behaviors. The findings were 1) Characters motif: three types were presented, the good protagonist; the villain - human or demon; and the assistant of the protagonist. 2) Objects motif, which were obtained in three ways; the assistant of the protagonist. 2) Objects motif, which were obtained in three ways: the wizard bestowed, when the protagonist was in a dilemma; the immortal mother - a giantess or a Naga - provided; and magical inborn objects. 3) Events or behaviors motif: two outstanding motifs, which reflected the uniqueness of Thai culture, were shown-the supernatural events and religious-related events. | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | โอลริค, เอกเซล | th |
dc.subject | Olrik,Axel | th |
dc.subject | นิทานพื้นเมือง -- ไทย | th |
dc.subject | Tales -- Thailand | th |
dc.subject | การวิเคราะห์เนื้อหา | th |
dc.subject | Content analysis (Communication) | th |
dc.title | การวิเคราะห์กฎเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้านและอนุภาคในนิทานพื้นบ้านไทย | th |
dc.title.alternative | An Analysis of Rules and Motifs in Thai Folktales | th |
dc.type | Thesis | th |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | th |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th |
dc.degree.discipline | การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง | th |